เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียา เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

พระรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียา เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ (ดัตช์: Catharina-Amalia Beatrix Carmen Victoria, Prinses van Oranje, Prinses der Nederlanden, Prinses van Oranje-Nassau; ประสูติ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรงองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์[2][3] อันประกอบไปด้วยเนเธอร์แลนด์, กูราเซา, อารูบา และซินต์มาร์เติน

เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียา เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียา ในปี พ.ศ. 2566
ประสูติ7 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (20 ปี)[1]
เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
พระนามเต็ม
กาตารีนา-อามาลียา เบอาตริกซ์ การ์เมน ฟิกโตรียา
ราชวงศ์
พระบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์
พระมารดาสมเด็จพระราชินีมักซิมา
ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งเนเธอร์แลนด์

เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียาเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชนัดดาลำดับที่สองของอดีตสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พระองค์สืบตำแหน่งรัชทายาทต่อจากพระราชบิดาที่ทรงสืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ประสูติและบัพติศมา

แก้

เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียาประสูติเมื่อเวลา 17.01 นาฬิกาของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ โรงพยาบาลโบรโนโว เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์[1] เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากการประสูติกาลได้มีการยิงสลุต 101 นัดถวายพระพรจากทั้งสี่เมืองภายในราชอาณาจักร คือ เดนเฮลด์เออร์ และเดอะเฮกในเนเธอร์แลนด์, วิลเลมสตัดในเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส และโอรันเยสตัดในอารูบา[4]

วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้รับศีลล้างบาปจากสาธุคุณคาเรล เตอร์ ลินเดนแห่งมหาวิหารเซนต์ยากอป เดอะเฮก พระองค์มีพ่อทูนหัวและแม่ทูนหัวคือ เจ้าชายคอนสแตนตินแห่งเนเธอร์แลนด์, มกุฎราชกุมารีฟิกโตรียาแห่งสวีเดน, แฮร์มันน์ วิลลิงก์ (อดีตกรรมการกฤษฏีกา), ซามันทา ดีอาเนอ (พระสหายของพระชนนี), มาร์ติน โซร์เรกีเอตา (ลุงฝ่ายพระชนนี) และมาร์ก เตอร์ ฮาร์ (พระสหายของพระชนก)[5]

เมื่อทรงพระเยาว์

แก้

เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียามีพระขนิษฐาสองพระองค์คือ เจ้าหญิงอะเลกซียา (พ.ศ. 2548) และเจ้าหญิงอารียาน (พ.ศ. 2550) และประทับร่วมกับพระราชบิดาและพระราชมารดา ณ วิลลาเอเคนฮอสต์ในเมืองวัสเซนนาร์[5] และได้มีการเปิดเผยว่าในอนาคตจะทรงย้ายไปยังฮุสเทนบอสช์ในเดอะเฮก[6]

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พระองค์เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประถมบลุมกัมป์ (Bloemcampschool) ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่งในเมืองวัสเซนนาร์[7] วันประสูติของพระองค์จะมีการเฉลิมฉลองตามประเพณีและมีการจัดคอนเสิร์ตที่โบสถ์คลูสเตอร์เคิร์กในเดอะเฮก ในงานนี้เหล่าทูตจากประเทศต่าง ๆ, พระบรมวงศานุวงศ์ และเหล่ากรรมการกฤษฎีกาจะเข้ามาร่วมพิธีดังกล่าว[8]

เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียาจึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาทแทนพระราชบิดาที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทั้งนี้พระองค์จึงเป็นเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์พระองค์ล่าสุด เนื่องจากฝ่ายในที่ดำรงพระอิสริยยศดังกล่าวคือ เจ้าหญิงแมรีแห่งโบกซ์-ออเรนจ์ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปเมื่อ พ.ศ. 1960 ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระองค์เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาสภาแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 18 ปี[6]

พระอิสริยยศ

แก้
  • เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียาแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (7 ธันวาคม พ.ศ. 2546 – 30 เมษายน พ.ศ. 2556)
  • เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียาแห่งออเรนจ์, เจ้าหญิงแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (30 เมษายน พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Newly-born Princess Catharina-Amalia second in line for Dutch throne". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-02. สืบค้นเมื่อ 2013-05-13.
  2. "Princess Amalia: The little girl who will become heir to the Dutch throne" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Hello!. 31 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Catherina-Amalia will make history as new Princess of Orange (Photos)" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Examiner. 30 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. A new government and Dutch troops go to Iraq, Museum of National History. Retrieved on 2013-05-06.
  5. 5.0 5.1 Princess Catharina-Amalia เก็บถาวร 2013-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Dutch Royal House, 2013. Retrieved on 2013-05-06.
  6. 6.0 6.1 "News" (ภาษาดัตช์). Royal House. 28 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  7. "Princess Amalia to attend state school" (ภาษาดัตช์). DutchNews. 18 September 2007. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  8. "Princess Amalia celebrates sixth birthday" (ภาษาดัตช์). DutchNews. 7 December 2009. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เจ้าหญิงกาตารีนา-อามาลียา เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ ถัดไป
วิลเลิม-อเล็กซานเดอร์    
เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
(30 เมษายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน)

  ปัจจุบัน
ไม่มี    
ลำดับการสืบราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์
(ลำดับที่ 1)

  เจ้าหญิงอะเลกซียา
เจ้าหญิงเบียทริกซ์    
ลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ
  เจ้าหญิงอะเลกซียา