ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร เป็นการจัดเรียงรายพระนามและนามของบุคคลในสายลำดับการสืบราชสมบัติแห่งสหราชอาณาจักร การสืบราชสมบัติบัญญัติโดย พระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 (Act of Settlement 1701) จำกัดสิทธิแต่เพียงทายาทของเจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ โดยกำหนดในเรื่องการให้สิทธิบุรุษสืบราชสมบัติก่อนหน้าสตรี การนับถือศาสนา และการถือกำเนิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ เป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ แต่ด้วยพระนางโซฟีสิ้นพระชนม์ไปซะก่อน ราชบัลลังก์จึงต้องถูกสืบโดยทายาทของพระนางโซฟี

จากบทบัญญัติของธรรมนูญเวสมินสเตอร์ ค.ศ. 1931 (Statute of Westminster 1931) ซึ่งกำหนดสถานภาพของความเท่าเทียมทางด้านนิติบัญญัติระหว่างดินแดนต่างๆ ที่ปกครองตนเองของจักรวรรดิอังกฤษและสหราชอาณาจักร ที่มีข้อยกเว้นส่วนที่เหลือบางประการ สายลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละประเทศของ 15 ประเทศในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักรจะแยกออกจากของสหราชอาณาจักรโดยทางกฎหมาย (ยกเว้นว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นยึดตามกฎการสืบราชสมบัติต่างๆ ของสหราชอาณาจักร) แม้ว่าทุกประเทศก็ใช้รูปแบบเดียวกัน

นอกเหนือจากการระบุชื่อพระประมุขแห่งสหราชอาณาจักรคนต่อไปแล้ว ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ยังใช้ในการเลือกคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกด้วย (และรวมถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อถึงคราวจำเป็น)

การมีสิทธิ

แก้

สิทธิสืบราชสันตติวงศ์นั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701, พระราชบัญญัติการสมรสพระราชวงศ์ ค.ศ. 1772 (Royal Marriages Act 1772) และหลักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งจัดลำดับราชสันตติวงศ์ไว้ตามสิทธิของบุตรหัวปี สถานะของมารดา และเน้นความเป็นบุรุษเพศ

บุคคลไม่ว่าชายหรือหญิงจะอยู่ในลำดับราชสันตติวงศ์ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ทุกประการ

  • บุคคลนั้นเป็นผู้สืบสันดานโดยชอบด้วยกฎหมายของโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่รับรองให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลัง
  • บุคคลนั้นไม่เคยถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และไม่เคยสมรสกับชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอริก ดังกล่าว

ณ เวลาเสวยราชย์ ทายาทผู้นั้นต้องเข้าเป็นสมาชิกคริสตจักรอังกฤษ

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์

แก้
หกลำดับแรก
ณ วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022
1. เจ้าชายแห่งเวลส์  
2. เจ้าชายจอร์จ  
3. เจ้าหญิงชาร์ลอตต์  
4. เจ้าชายหลุยส์  
5. ดยุกแห่งซัสเซกซ์  
6. เจ้าชายอาร์ชี  

ไม่มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ฉบับทางการใดที่ได้รับการยืนยัน จำนวนที่แน่นอนของผู้ที่จะมีสิทธิ์ในสายอนุวงศ์ที่อยู่ห่างไกลนั้นยังไม่แน่นอน โดยใน ค.ศ. 2001 William Addams Reitwiesner ผู้ศึกษาลำดับวงศ์ตระกูลชาวอเมริกัน รวมรายชื่อลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ของโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ถึง 4,973 คน โดยไม่แยกผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก[1] เมื่ออัปเดตในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 จำนวนนั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็น 5,753 คน[2]

รายพระนามข้างล่างครอบคลุมผู้สืบราชสันตติวงศ์กลุ่มแรกที่จำกัดเพียงพระราชสันตติวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระปัยกาในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร 24 พระนามแรกที่มีตัวเลขปรากฏในเว็บไซต์ทางการของพระมหากษัตริย์อังกฤษ (ทั้งหมดเป็นพระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร)[3] เชื้อสายที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้อยู่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติหรือเสียชีวิตแล้วจะเขียนไว้เป็นตัวเอียงเพราะถือได้ว่าถูกข้ามลำดับไปแล้ว

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ปัจจุบัน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Reitwiesner, W. A. "Persons eligible to succeed to the British Throne as of 1 Jan 2001". wargs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2005.
  2. Lewis, David. "Persons eligible to succeed to the British Throne as of 1 Jan 2011". wargs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2011.
  3. "Succession". Official website of the British monarchy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้