เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี

เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี (อังกฤษ: Anne, Princess Royal; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1950) หรือพระนามเต็ม แอนน์ เอลิซาเบธ อลิซ หลุยส์ (Anne Elizabeth Alice Louise) เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่สองและเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อแรกประสูติกาล พระองค์อยู่ในลำดับที่สามแห่งการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักรต่อจากเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระชนนี – พระยศในขณะนั้น) และเจ้าชายชาลส์ (พระยศในขณะนั้น) พระเชษฐา และเคยอยู่ในลำดับที่สองหลังพระชนนีขึ้นเสวยราชสมบัติ แต่ปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่สิบเจ็ดแห่งการสืบราชสันตติวงศ์

เจ้าหญิงแอนน์
พระราชกุมารี
พระราชกุมารีในปี 2023
ประสูติเจ้าหญิงแอนน์แห่งเอดินบะระ
(1950-08-15) 15 สิงหาคม ค.ศ. 1950 (74 ปี)
พระตำหนักคลาเรนซ์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พระสวามีมาร์ก ฟิลลิปส์ (1973–1992)
ทิโมที ลอเรนซ์ (1992–ปัจจุบัน)
พระนามเต็ม
แอนน์ เอลิซาเบธ อลิซ หลุยส์
พระบุตรปีเตอร์ ฟิลลิปส์
ซารา ทินดัลล์
ราชวงศ์วินด์เซอร์
พระบิดาเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
พระมารดาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ศาสนาคริสตจักรอังกฤษ

พระองค์เป็นที่รู้จักการประกอบพระกรณียกิจด้านการกุศลและทรงอุปภัมภ์องค์กรต่าง ๆ กว่า 200 แห่ง รวมทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านการขี่ม้า พระองค์ได้รับเหรียญเงินสองเหรียญในปี 1975 และเหรียญทองหนึ่งเหรียญในปี 1971 จากการแข่งขันในรายการการแข่งม้าประเภทอีเวนติ้งชิงแชมป์ยุโรป (European Eventing Championships)[1] และเป็นสมาชิกของราชวงศ์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่ทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เจ้าหญิงแอนน์ได้รับพระราชทานอิสริยยศเป็น ราชกุมารี ในปี 1987 และเป็นพระราชกุมารีพระองค์ที่เจ็ด และด้วยทรงได้รับพระราชมานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์ทำให้ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่ไม่ใช่สมเด็จพระราชินีและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศสูงสุดในประวัติศาสตร์

เจ้าหญิงแอนน์เสกสมรสครั้งแรกกับร้อยเอก มาร์ก ฟิลลิปส์ เมื่อ ค.ศ. 1973 และทรงหย่าเมื่อ ค.ศ. 1992 มีพระบุตรสองคนและพระนัดดาห้าคน ต่อมาพระองค์เสกสมรสหนที่สองกับนาวาโท (ปัจจุบันเป็นพลเรือโท) เซอร์ทิโมที ลอเรนซ์ ราชองครักษ์ในสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งเสกสมรสกันใน ค.ศ. 1992 เดือนเดียวกับที่ทรงหย่ากับอดีตพระสวามี

พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

แก้

เจ้าหญิงแอนน์ประสูติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักแคลเรนซ์ ในลอนดอน เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร) และฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ

แอนน์ทรงรับบับติศมาที่ห้องดนตรีในพระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีพระบิดาและพระมารดาทูนหัวคือ เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า แอนดรูว์ เอลฟินสโตน สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี เจ้าหญิงแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าหญิงมาร์การีตาแห่งกรีซและเดนมาร์ก

ใน พ.ศ. 2491 ก่อนที่เจ้าชายชาลส์ พระเชษฐาของพระองค์จะเสด็จพระราชสมภพไม่นาน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร มีพระราชโองการให้พระราชโอรสธิดาทุกพระองค์ที่ประสูติจากเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ จะทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าชายหรือเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่(Great Britain)​และไอร์แลนด์เหนือตั้งแต่แรกประสูติทุกพระองค์

การศึกษา

แก้

เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มต้นการศึกษาจากชั้นเรียนขนาดเล็กซึ่งเข้ามาถวายพระอักษรที่พระราชวังบักกิงแฮม ใน พ.ศ. 2505 สมเด็จพระราชินีนาถก่อนที่จะเสวยราชย์ย้ายไปประทับที่อื่น แอนน์ทรงรับการศึกษาจากชั้นเรียนส่วนตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ในปีถัดมาทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเบนเดน ซึ่งอยู่ในเมืองเคนต์

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกาของเจ้าหญิงแอนน์สวรรคต พระมารดาได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เจ้าหญิงแอนน์ทรงได้รับเลื่อนพระยศขึ้นเป็นเฮอร์รอยัลไฮเนส แต่เนื่องจากขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระองค์จึงมิได้ตามเสด็จฯ พระมารดาไปในพระราชพิธีราชาภิเษก เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นครั้งแรกในราว พ.ศ. 2511–2513

กีฬาขี่ม้า

แก้

เจ้าหญิงโปรดการทรงม้า และรับสั่งว่าสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตพระองค์ เมื่อพระชันษาได้ 21 ปี เจ้าหญิงแอนน์ทรงชนะการแข่งขันยูโรเปียนอีเวนทิงแชมเปียนชิป (European Eventing Championship) ประจำ พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับทวีป[2] และทรงได้รับเลือกให้เป็นนักกีฬาแห่งปีประจำ พ.ศ. 2514 ด้วย[3] เจ้าหญิงทรงเข้าร่วมการแข่งขันเป็นเวลาต่อมากว่า 5 ปี โดยทรงได้รับทูลเกล้าฯ เหรียญเงินที่จากการแข่งขันรายการเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก และในการแข่งขันโอลิมปิกปีต่อมาที่ประเทศแคนาดา พระองค์ก็ทรงเข้าร่วมด้วยในฐานะนักกีฬาทีมชาติสหราชอาณาจักร[4]

เจ้าหญิงแอนน์เป็นองค์ประธานสหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติระหว่าง พ.ศ. 2529–2537[5]

เสกสมรสครั้งแรก

แก้

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 เจ้าหญิงแอนน์ทรงเสกสมรสกับมาร์ก ฟิลิปส์ พระราชพิธีได้รับการถ่ายทอดไปทั่วโลก โดยมีผู้ชมกว่าหนึ่งร้อยล้านคน จากภาพ เด็กผู้ชายที่ประทับยืนด้านซ้ายสุดคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เด็กหญิงด้านขวาสุดคือเลดีซาราห์ แชตโท (พระธิดาในเจ้าหญิงมากาเร็ต) ในวันพระราชพิธีสมเด็จพระราชินีนาถรับสั่งกับมาร์กว่าพระราชทานตำแหน่งให้เป็นเอิร์ล แต่มาร์กปฏิเสธ เชื่อว่าเป็นพระราชประสงค์ของแอนน์ที่จะปกป้องพระโอรสพระธิดาที่จะเกิดในไม่ช้าจากสื่อ

พระโอรสและพระธิดา

แก้

เจ้าหญิงแอนน์มีพระโอรสธิดากับมาร์ก 2 คน ทั้งสองคนเกิดวันที่ 15 เช่นเดียวกับเจ้าหญิงแอนน์

พระราชกุมารี

แก้

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระราชินีนาถทรงสถาปนาเจ้าหญิงแอนน์เป็น "ราชกุมารี" ซึ่งเป็นการสถาปนาตำแหน่งนี้ครั้งที่ 7 พระอิสริยยศนี้จะพระราชทานให้เฉพาะกับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น สำหรับราชกุมารีพระองค์ก่อนคือเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งแฮร์วุด

ใน พ.ศ. 2539 เจ้าหญิงแอนน์เสด็จไปทรงร่วมพระราชกรณียกิจที่ประเทศสกอตแลนด์ ในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์ทางทหาร ซึ่งมีลำดับพระยศสูงกว่าตำแหน่งของราชกุมารี

การหย่าและเสกสมรสครั้งที่สอง

แก้

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 แอนน์และมาร์กประกาศว่าทั้งสองได้แยกกันอยู่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และได้หย่าขาดจากกันในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ในวันที่ 12 เดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง แอนน์ทรงเสกสมรสอีกครั้ง กับทีโมที ลอเรนซ์ นายทหารเรือ ทั้งสองไม่มีพระโอรสธิดาร่วมกัน

พระกรณียกิจ

แก้

เจ้าหญิงแอนน์ทรงเริ่มบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรกเมื่อพระชันษาได้ 18 ปี เมื่อพระองค์ทรงทรงเปิดศูนย์การศึกษาและฝึกฝนที่ชรอปไชร์ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันนั้น ทรงตามเสด็จฯ พระมารดาและพระบิดาไปยังประเทศออสเตรเลีย

พระกรณียกิจของเจ้าหญิงแอนน์นั้นมีมากมาย ทรงรับอุปถัมภ์มากกว่า 200 มูลนิธิ

พระอิสริยยศทางทหาร

แก้

เหมือนกับเจ้านายพระองค์อื่น แอนน์ทรงดำรงพระอิสริยยศทางการทหารด้วย และใน พ.ศ. 2545 พระองค์ทรงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นสตรีคนแรกที่ไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินที่ฉลองพระองค์ด้วยชุดจอมพลไปในงานพระศพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ทรงเป็นจอมพลหญิงทั้งในประเทศอังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ฐานันดรและพระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าหญิงเเอนน์ พระราชกุมารี
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลHer Royal Highness
(ใต้ฝ่าพระบาท)
การขานรับYour Royal Highness
(เกล้ากระหม่อม/เพคะ)

พระอิสริยยศ

แก้
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 : เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงแอนน์แห่งเอดินบะระ (Her Royal Highness Princess Anne of Edinburgh)
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 : เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงแอนน์แห่งสหราชอาณาจักร (Her Royal Highness The Princess Anne)
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2530 : เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงแอนน์ มิซิสมาร์ก ฟิลลิปส์ (Her Royal Highness The Princess Anne, Mrs Mark Phillips)
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน : เฮอร์รอยัลไฮเนส พระราชกุมารี (Her Royal Highness The Princess Royal)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในเครือจักรภพ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Senior European Championship Results". British Eventing Governing Body. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-11. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.
  2. Searcey, Ian (22 July 2012). "Olympic archive: equestrian Princess Anne (1972)". Channel 4. สืบค้นเมื่อ 14 March 2018.
  3. Corrigan, Peter (14 December 2003). "Bravo for Jonny but Beeb need new act". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 February 2009.[ลิงก์เสีย]
  4. "The Princess Royal and the Olympics". The Royal Family. สืบค้นเมื่อ 14 March 2018.
  5. About FEI – History เก็บถาวร 16 กุมภาพันธ์ 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FEI official site; retrieved 21 February 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ถัดไป
เลดีลูอีส วินด์เซอร์    
ลำดับการสืบสันตติวงศ์
ราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร

  ปีเตอร์ ฟิลลิปส์
ดัชเชสแห่งเอดินบะระ   ลำดับโปเจียม (ฝ่ายใน)
แห่งสหราชอาณาจักร

  เจ้าหญิงเบียทริซ นางเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี
เจ้าหญิงแมรี
(พ.ศ. 2475–2508)
  ราชกุมารี
(The Princess Royal)

(พ.ศ. 2530–ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในตำแหน่ง