เจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค

เจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค (อังกฤษ: Princess Alice of Battenberg; วิกตอเรีย อลิซ เอลิซาเบธ จูลี มารี; 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1969) เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ และพระสัสสุใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชอัยยิกา (ย่า) ใน สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

อลิซแห่งบัทเทินแบร์ค
เจ้าหญิงแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก
ประสูติ25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885(1885-02-25)
พระราชวังวินด์เซอร์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
สิ้นพระชนม์5 ธันวาคม ค.ศ. 1969(1969-12-05) (84 ปี)
พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
ฝังพระศพ10 ธันวาคม ค.ศ. 1969
โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
3 สิงหาคม ค.ศ. 1988
โบสถ์รัสเซียออร์โธด็อกซ์เซนต์มารีย์ มักดาเลนา กรุงเยรูซาเล็ม
พระสวามีเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก
พระนามเต็ม
วิกตอเรีย อลิซ เอลิซาเบธ จูลี มารี
พระบุตร5 องค์
ราชวงศ์บัทเทินแบร์ค
พระบิดาเจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค
พระมารดาเจ้าหญิงวิคโทรีอาแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์
ลายพระอภิไธย

พระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงประสูติใน ปราสาทวินด์เซอร์ และเติบโตในบริเตนใหญ่ เยอรมนี และมอลตา เจ้าหญิงเฮ็สเซินโดยกำเนิด พระองค์ทรงเป็นสมาชิกของตระกูลบัทเทินแบร์ค ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์ Hesse-Darmstadt พระองค์ทรงเป็นคนหูหนวกมาแต่โดยกำเนิด ภายหลังจากทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ ใน ค.ศ. 1903 พระองค์ได้ทรงดำรงพระอิสสริยยศตามพระสวามีเป็น เจ้าหญิงแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก พระองค์ทรงประทับอยู่ในกรีซจนกระทั่งราชวงศ์กรีซส่วนใหญ่ถูกขับไล่เนรเทศใน ค.ศ. 1917 เมื่อกลับมายังกรีซอีกครั้งในอีกไม่กี่ปีต่อมา พระสวามีทรงถูกประณามว่าเป็นส่วนหนึ่งสำหรับความพ่ายแพ้ของประเทศในสงครามกรีซ-ตุรกี (ค.ศ. 1919-1922) ก็ต้องถูกบีบบังคับให้เนรเทศอีกครั้ง จนกระทั่งสถาบันพระมหากษัตริย์ในกรีซได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 1935

ในปี ค.ศ. 1930 พระองค์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสวิตเซอร์แลนด์ ต่อจากนั้นทรงแยกกันอยู่กับพระสวามี ภายหลังจากพระองค์ทรงพักฟื้นจนหายดีแล้ว พระองค์ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ให้กับงานการกุศลในกรีซ พระองค์ทรงประทับอยู่ในเอเธนส์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยทรงพระราชทานที่หลบภัยแก่ผู้ลี้ภัยชาวยิว ซึ่งพระองค์ได้รับการยอมรับว่าเป็น "ผู้ทรงคุณธรรมแห่งนานาประเทศ"(Righteous Among the Nations) โดย Yad Vashem สถาบันอนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุของอิสราเอล หลังสงคราม พระองค์ทรงประทับอยู่ในกรีซและก่อตั้งคณะนางพยาบาลแม่ชีนิกายกรีซออร์ทอดอกซ์ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ คณะแม่ชีแห่งมาร์ธาและมารี

ภายหลังกอนสตันดิโนสที่ 2 แห่งกรีซ ทรงถูกบีบบังคับให้สละราชบังลังก์และประเทศกรีซถูกปกครองโดยทหาร ในปี ค.ศ. 1967 พระองค์ทรงได้รับเชิญจากพระโอรสและพระสุณิสาให้มาประทับอยู่ที่พระราชวังบักกิงแฮมในกรุงลอนดอน ซึ่งพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในอีกสองปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1988 พระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายจากห้องนิรภัยในบ้านเกิดของพระองค์คือ ปราสาทวินด์เซอร์ ไปยังโบสถ์เซนต์มารีย์ มักดาเลนา ที่สำนักชีนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีชื่อเดียวกันกับภูเขามะกอกเทศในกรุงเยรูซาเลม

พระชนม์ชีพวัยเยาว์

แก้

เจ้าหญิงอลิซประสูติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 ณ ห้องผืนพรมถัก ปราสาทวินด์เซอร์ ต่อหน้าพระพักตร์ราชินีนาถวิกตอเรีย พระปัยยิกา จากการเชิญของพระองค์[1] พระองค์เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ใน พระองค์ชายลูทวิช และ สมเด็จหญิงวิคโทรีอา ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ใน ฟ้าหญิงอลิซ พระราชธิดาองค์รองในราชินีนาถวิกตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา

ฐานันดรและพระอิสริยยศ

แก้
  • 25 กุมภาพันธ์ 1885 - 6 ตุลาคม 1903: เฮอร์เซอรีนไฮเนส เจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค (Her Serene Highness Princess Alice of Battenberg)
  • 6 ตุลาคม 1903 - 5 ธันวาคม 1969: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก (Her Royal Highness Princess Andrew of Greece and Denmark)
  • ตั้งแต่ปี 1949 บางครั้งทรงเป็นที่รู้จักในนาม มหาธิการิณีอลิซ-เอลิซาเบธ (Mother Superior Alice-Elizabeth)

ราชตระกูล

แก้
พระบรรพชนสามรุ่นของเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค
เจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค พระบิดา:
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน มาควิสแห่งมิลฟอร์ด ฮาเวน
พระอัยกาฝ่ายพระบิดา:
อเล็คซันเดอร์ เจ้าชายแห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท
พระปัยกาฝ่ายพระบิดา:
ลุดวิกที่ 2 แกรนด์ดยุกแห่งเฮสส์และไรน์
พระปัยยิกาฝ่ายพระบิดา:
วิลเฮลมินาแห่งบาเดิน
พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดา:
ยูลีอา ฟอน ฮอเกอร์
พระปัยกาฝ่ายพระบิดา:
เคานต์ โยฮัน โมริซ ฟอน เฮาค์
พระปัยยิกาฝ่ายพระบิดา:
โซฟี เดอ ลา ฟองแต็น
พระมารดา:
เจ้าหญิงวิคโทรีอาแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์
พระอัยกาฝ่ายพระมารดา:
ลูทวิชที่ 4 แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน
พระปัยกาฝ่ายพระมารดา:
คาร์ลแห่งเฮสส์และไรน์
พระปัยยิกาฝ่ายพระมารดา:
เอลิซาเบธแห่งปรัสเซีย
พระอัยยิกาฝ่ายพระมารดา:
อลิซแห่งสหราชอาณาจักร
พระปัยกาฝ่ายพระมารดา:
อัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา
พระปัยยิกาฝ่ายพระมารดา:
วิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

เชิงอรรถ

แก้
  1. Vickers, p. 2

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้