เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ (อังกฤษ: His Royal Highness Prince Edward, Duke of Kent) (เอ็ดเวิร์ด จอร์จ นิโคลัส พอล แพทริก; ประสูติ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1935) เป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งในพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระองค์ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น ดยุกแห่งเคนต์ มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1942[1]

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด
ดยุกแห่งเคนต์
ประสูติ (1935-10-09) 9 ตุลาคม ค.ศ. 1935 (89 ปี)
จัตุรัสเบลเกรฟ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
คู่อภิเษกแคทริน เวิร์สลีย์
(1961-ปัจจุบัน)
พระนามเต็ม
เอ็ดเวิร์ด จอร์จ นิโคลัส พอล แพทริก
พระบุตรจอร์จ วินด์เซอร์, เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูว์
เลดีเฮเลน เทย์เลอร์
ลอร์ดนิโคลัส วินด์เซอร์
ราชวงศ์วินด์เซอร์
พระบิดาเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์
พระมารดาเจ้าหญิงมารีนาแห่งกรีซและเดนมาร์ก

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงปฏิบัติพระกรณียกิจแทนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระญาติชั้นที่หนึ่ง บางครั้งทรงเป็นที่รู้จักอย่างดีที่สุดในฐานะประธานสโมสรคร็อกเก็ตและเทนนิสแห่งอังกฤษ (All England Lawn Tennis and Croquet Club) โดยทรงมอบรางวัลเป็นโล่เกียรติยศแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันชาย อีกทั้งยังทรงเป็นผู้แทนพิเศษด้านการค้าและการลงทุนแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทรงเกษียณในปีค.ศ. 2001

ขณะทรงพระเยาว์

แก้

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ.1935 ที่เลขที่ 3 จัตุรัสเบลเกรฟ ลอนดอน เป็นพระโอรสพระองค์โตในเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ กับเจ้าหญิงมารีนา ดัชเชสแห่งเคนต์[2] พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นพระราชโอสรพระองค์ที่ 4 ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระมารดาเป็นบุตรของเจ้าชายนิโคลัสแห่งกรัซและเดนมาร์กกับแกรนด์ดัชเชสเยเลนา วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย พระองค์ได้เข้าพิธีศีลล้างบาป ณ โบสถ์น้อยในพระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1935 โดยทรงมีพ่อและแม่ทูนหัวดังต่อไปนี้คือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งฮาร์วุด เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น และเจ้าหญิงลูอิส ดัชเชสแห่งอาร์กายล์[3]

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนลุดโกรฟในบาร์กเชอร์ ก่อนจะทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยอีตัน และที่สถาบันเลอ รอเซย์ในสกอตแลนด์ [4] หลังจากนั้นพระองค์ทรงได้เข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ซึ่งพระองค์ได้ชนะรางวัลเซอร์ เจมส์ มอนคริฟฟ์ เกียร์สัน ในด้านภาษาต่างประเทศ พระองค์สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ตามคำกล่าวของเจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ว่า พระมารดาและพระปิตุจฉาของพระองค์จะพูดกันเป็นภาษาฝรั่งเศส[5]

ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1942 พระบิดาของพระองค์ทรงประสบอุบติเหตุเครื่องบินตกในเคธเนส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดขณะทรงมีพระชนมายุ 6 พรรษา[1]ทรงสืบทอดตำแหน่งดยุกแห่งเคนต์,เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูว์และบารอนแห่งดาวน์แพทริค ในฐานะสมาชิกของราชวงศ์ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดเริ่มปฏิบัติพระกรณียกิจตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย ในปีค.ศ.1952 ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงเดินอยู่เบื้องหลังพระโกศของพระปิตุลาของพระองค์หรือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6[6] และในค.ศ.1953 ทรงเข้าร่วมพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 โดยพระองค์ได้ถวายความเคารพ เป็นลำดับที่ 3 หลังจากดยุคแห่งเอดินบะระ และดยุคแห่งกลอสเตอร์[7]

การรับราชการทหาร

แก้

ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1955 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ และได้รับราชการทหารจนได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1961[8]

จากนั้นในช่วงค.ศ.1962 - ค.ศ.1963 พระองค์ได้ไปปฏิบัติราชการที่ฮ่องกง หลังจากปฏิบัติราชการอยู่ในกองบัญชาการทางตะวันออก และได้รับเลื่อนยศเป็นพันตรีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1967[9] ในค.ศ.1970 พระองค์ทรงบัญชากองทหารกองทหารของเขาที่ประจำการในพื้นที่ฐานอธิปไตยของอังกฤษในไซปรัส ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และยังทรงทำหน้าที่ในไอร์แลนด์เหนือกับกองทหารของพระองค์ และได้รับการเลื่อนยศเป็นพันโทเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1973[10] ก่อนที่จะทรงเกษียณจากการเป็นทหารเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1976[11] ต่อมาทรงได้รับการเลื่อนยศเป็นพลตรีในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1983[12] และจอมพลในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1993[13]

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ทรงอภิเษกสมรสกับ แคทริน ลูซี แมรี เวิร์สลีย์ ลูกสาวคนเดียวของวิลเลียม เวอร์สลีย์ ที่ อาสนวิหารยอร์กในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1961

ดยุกและดัชเชสแห่งเคนต์มีพระบุตรสี่คน ได้แก่ จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูว์ (26 มิถุนายน ค.ศ. 1962), เลดีเฮเลน เทย์เลอร์ (28 เมษายน ค.ศ. 1964) ,ลอร์ดนิโคลัส วินด์เซอร์ (25 กรฎาคม ค.ศ. 1970) และลอร์ดแพทริค วินด์เซอร์(5 ตุลาคม ค.ศ.1977)ตามลำดับ

ดยุกและดัชเชสแห่งเคนต์อาศัยอยู่ที่พระราชวังเค็นซิงตันในลอนดอน

พระกรณียกิจ

แก้

ดยุกแห่งเคนต์ได้ปฏิบัติงานในนามสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2มานานกว่า 50 ปี ดยุคได้เป็นตัวแทนของสมเด็จพระราชินีในระหว่างการเฉลิมฉลองเอกราชในประเทศเครือจักรภพ ได้แก่ เซียร์ราลีโอน[14] ยูกันดา[15] กายอานา แกมเบีย[16] และกานา เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 50 ปีการได้รับเอกราช [17] และเขายังเคยเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐอีกด้วย

หนึ่งในบทบาทที่สำคัญของดยุคหลายปีเป็นรองประธานคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศอังกฤษที่เคยเป็นคณะกรรมการการค้าโพ้นทะเลของอังกฤษและต่อมาก็เป็นตัวแทนพิเศษสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร ทำให้ดยุคแห่งเคนต์ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเป็นตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศและองค์กรต่างๆ โดยต่อมาเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์กได้มารับตำแหน่งนี้ต่อ

ตั้งแต่ปีค.ศ.1971 ถึง ค.ศ. 2000 ดยุคแห่งเคนต์ได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ และได้รับประธานสมาคมลูกเสือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
ดยุกแห่งเคนต์
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHis Royal Highness
(ใต้ฝ่าพระบาท)
การขานรับYour Royal Highness
(เกล้ากระหม่อม/เพคะ)
ก่อนหน้า เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ ถัดไป
รูฟัส กิลแมน    
ลำดับการสืบสันตติวงศ์
ราชบัลลังก์ สหราชอาณาจักร

  เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูวส์
ดยุกแห่งกลอสเตอร์   ลำดับโปเจียม (ฝ่ายหน้า)
แห่งสหราชอาณาจักร

  เอิร์ลแห่งสโนว์ดอน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Duke of Kent, 77, suffers mini-stroke". HeraldScotland (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Page 6371 | Issue 34206, 9 October 1935 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  3. Prince Edward Christened – Ceremony at the Palace". The Times. 21 November 1935. p. 14.
  4. "Grand Master - United Grand Lodge of England". www.ugle.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
  5. Seward, Ingrid (1994). Royal Children. London: St. Martin's Press. ISBN 978-0312105334.[ต้องการเลขหน้า]
  6. "The Funeral of King George VI | History Today". www.historytoday.com.
  7. Queen Elizabeth II Coronation. HRH Philip, Duke of Edinburgh and the Lords Pay Homage, สืบค้นเมื่อ 2021-07-15
  8. "Page 5561 | Supplement 42422, 25 July 1961 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  9. "Page 75 | Supplement 44493, 29 December 1967 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  10. "Page 9389 | Supplement 46046, 7 August 1973 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  11. "Page 5659 | Supplement 46877, 15 April 1976 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  12. "Page 8191 | Supplement 49392, 20 June 1983 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  13. "Page 5659 | Supplement 46877, 15 April 1976 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  14. Pathé, British. "Sierra Leone Independence Build-Up - Colour". www.britishpathe.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  15. Mwesigye, Shifa. "50 years on, Duke of Kent returns to familiar Uganda". The Observer - Uganda (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
  16. Pathé, British. "Gambia Independent". www.britishpathe.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  17. "Duke of Kent unveils plaque for military project". GhanaWeb (ภาษาอังกฤษ). -001-11-30T00:00:00+00:00. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)