อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก (อังกฤษ: Interstellar) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศโดยผ่านทางรูหนอน ถ่ายทำทั้งในระบบฟิล์ม 35 มิลลิเมตร และไอแมกซ์ กำหนดออกฉายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก
A ringed spacecraft near a wormhole, here depicted as a massive reflective sphere.
โปสเตอร์ภาษาไทย
กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน
เขียนบท
  • โจนาทาน โนแลน
  • คริสโตเฟอร์ โนแลน
อำนวยการสร้าง
  • เอ็มมา โทมัส
  • คริสโตเฟอร์ โนแลน
  • ลินดา อ็อบสต์
นักแสดงนำ
กำกับภาพโฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา
ตัดต่อลี สมิท
ดนตรีประกอบฮันส์ ซิมเมอร์
บริษัทผู้สร้าง
  • เลเจนดารีพิกเจอส์
  • ซินโคพี
  • ลินดา อ็อบสต์ โปรดักชันส์
ผู้จัดจำหน่าย
วันฉาย5 พฤศจิกายน 2014 (สหรัฐอเมริกา)
6 พฤศจิกายน 2014 (ไทย)[1]
7 พฤศจิกายน 2014
(สหราชอาณาจักร)
ความยาว169 นาที[2]
ประเทศ
  • สหรัฐอเมริกา[3]
  • สหราชอาณาจักร[3]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
ทำเงิน675.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เรื่องย่อ แก้

ในอนาคตอันใกล้ โรคพืชได้เป็นสาเหตุที่ทำให้อารยธรรมถดถอยกลับไปสู่สังคมเกษตรกรรมอันล่มสลาย อดีตนักบินนาซ่า คูเปอร์ ทำไร่อยู่กับครอบครัวของเขา เมิร์ฟ ลูกสาววัย 10 ขวบของคูเปอร์เชื่อว่าห้องของเธอถูกผีสิง โดยผีพยายามจะติดต่อสื่อสารกับเธอ พวกเขาไปเจอกับอากาศยานไร้คนขับของอินเดียที่พวกเขากู้มาเพื่อเอาอะไหล่ ไม่นานพวกเขาค้นพบว่า "ผี" ของเมอร์ฟี่ก็คือสิ่งที่ทรงภูมิปัญญาที่ไม่รู้จัก ส่งข้อความเข้ารหัสมาโดยใช้คลื่นความโน้มถ่วง ทิ้งพิกัดเลขฐานสองไว้บนฝุ่น ซึ่งได้นำพวกเขาไปสู่สถานที่ลับของนาซ่า นำโดยศาสตราจารย์ จอห์น แบรนด์ ซึ่งแบรนด์เผยว่ารูหนอน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าสร้างโดยสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา ได้เปิดออกใกล้ ๆ กับดาวเสาร์ และเป็นทางนำไปสู่ดาวเคราะห์ใหม่ ๆ ในอีกกาแล็กซี่หนึ่ง ซึ่งอาจให้ความหวังในการอยู่รอด "ภารกิจลาซารัส" ของนาซ่าได้ระบุโลกที่มีโอกาสอยู่อาศัยได้สามดวง ซึ่งโคจรอยู่รอบหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีชื่อว่า กาแกนทัว ได้แก่ มิลเลอร์, เอ็ดมันด์ และแมนน์ ซึ่งตั้งชื่อตามนักบินอวกาศที่ออกสำรวจพวกมัน แบรนด์ให้คูเปอร์มาเป็นผู้ขับยานอวกาศ เอ็นดูแรนซ์ เพื่อเก็บกู้ข้อมูลของนักบินอวกาศ ถ้าดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งสามารถอยู่อาศัยได้ มนุษยชาติจะตามไปด้วยสถานีอวกาศ การออกเดินทางของคูเปอร์ทำลายความรู้สึกของเมิร์ฟ

บนยานเอ็นดูแรนซ์ คูเปอร์เข้าร่วมกับลูกสาวของแบรนด์ นักเทคโนโลยีชีวภาพอมิเลีย นักวิทยาศาสตร์โรมิลลี และดอยล์ รวมทั้งหุ่นยนต์ ทาร์ และ เคส พวกเขาเดินทางไปดาวเสาร์ และเข้าไปในรูหนอนเพื่อมุ่งหน้าไปยังดาวมิลเลอร์ แต่พวกเขาพบว่าดาวเคราะห์นั้นอยู่ใกล้กับกาแกนทัวมากจนกระทั่งมันประสบกับการยืดของเวลาจากความโน้มถ่วงอย่างรุนแรง แต่ละชั่วโมงบนพื้นผิวดาวจะเท่ากับเจ็ดปีบนโลก ทีมได้ลงไปที่ดาวเคราะห์ซึ่งพิสูจน์ว่าไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย เนื่องจากมันปกคลุมไปด้วยมหาสมุทรตื้น ๆ และถูกรบกวนด้วยคลื่นยักษ์ ในขณะที่อมิเลียพยายามกู้ข้อมูลของมิลเลอร์ คลื่นก็กระแทกมาฆ่าดอยล์ และทำให้การออกเดินทางของกระสวยอวกาศช้าออกไป เมื่อพวกเขากลับมาที่เอ็นดูแรนซ์ เวลาก็ผ่านไปแล้ว 23 ปี

บนโลกเมิร์ฟในวัยผู้ใหญ่ซึ่งในตอนนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์นาซ่ากำลังช่วยแบรนด์แก้สมการที่จะทำให้นาซ่าปล่อยสถานีอวกาศโดยใช้แรงโน้มถ่วงได้ ในลมหายใจเฮือกสุดท้ายแบรนด์ยอมรับว่าเขาได้แก้ปัญหาไปเรียบร้อยแล้ว และตัดสินใจว่าโครงการนี้เป็นไปไม่ได้ เขาปกปิดการค้นพบของเขาเพื่อรักษาความหวังให้คงอยู่ต่อไปและให้ความเชื่อมั่นกับ "แผน B" โดยใช้เอ็มบริโอแช่แข็งเดินทางไปกับเอ็นดูแรนซ์เพื่อเริ่มต้นมนุษยชาติใหม่หมด อย่างไรก็ตามเมิร์ฟสรุปว่าสมการของแบรนด์อาจใช้การได้ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมจากซิงกูลาริตี้ของหลุมดำ

ด้วยเชื้อเพลิงที่เหลือน้อยเต็มที เอ็นดูแรนซ์สามารถไปดาวเคราะห์ได้อีกเพียงดวงเดียวก่อนจะกลับโลก หลังจากการปรึกษากันอย่างตึงเครียด ทีมได้เลือกดาวเคราะห์ของแมนน์ เนื่องจากแมนน์ยังคงส่งสัญญาณอยู่ อย่างไรก็ตามพวกเขาพบว่ามันหนาวเย็นอยู่ตลอดเวลาและปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งและไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย แมนน์ซึ่งรู้อยู่ตลอดว่าแผน B คือเป้าหมายที่แท้จริงของภารกิจ ได้ปลอมแปลงข้อมูลเกี่ยวกับความมีชีวิตของดาวเคราะห์ เพื่อที่เอ็นดูแรนซ์จะได้มาช่วยเหลือเขา แมนน์ทำให้หมวกชุดอวกาศของคูเปอร์แตกและทิ้งไว้ให้เขาตาย และหนีไปที่เอ็นดูแรนซ์บนกระสวยอวกาศ โรมิลลีถูกฆ่าโดยระเบิดที่แมนน์ติดตั้งไว้เพื่อปกปิดความลับของเขา อมิเลียช่วยเหลือคูเปอร์โดยใช้กระสวยสัมภาระอีกลำหนึ่ง โดยพวกเขามาถึงเอ็นดูแรนซ์ทันเวลาเห็นแมนน์กำลังเชื่อมต่อยานอย่างไม่ถูกต้อง แอร์ล็อกระเบิดออกและฆ่าแมนน์ และเป็นสาเหตุของความเสียหายรุนแรง แต่คูเปอร์ใช้กระสวยสัมภาระเพื่อทำให้เอ็นดูแรนซ์อยู่ในการควบคุมอีกครั้ง

ด้วยเชื้อเพลิงที่เกือบหมด คูเปอร์และอมิเลียวางแผนจะเหวี่ยงเอ็นดูแรนซ์ไปรอบ ๆ กาแกนทัวเพื่อให้อยู่บนเส้นทางไปยังดาวเอ็ดมันด์ที่อยู่อีกด้านของหลุมดำในขณะที่เวลาจะผ่านไปบนโลก 51 ปี ทาร์และคูเปอร์ปลดกระสวยของพวกเขาลงไปในหลุมดำ สละชีพตนเองเพื่อเก็บข้อมูลของซิงกูลาริตี้ และเพื่อผลักอมิเลียและเคสโดยการลดมวลของยานลง พวกเขาโผล่ออกมาในสถานที่ที่มีห้ามิติ ซึ่งเวลาปรากฏเป็นมิติของอวกาศ และโดยการใช้คลื่นความโน้มถ่วง คูเปอร์เข้ารหัสข้อมูลของทาร์เกี่ยวกับซิงกูลาริตี้ไปยังนาฬิกาข้อมือของเมอฟี่วัยเยาว์โดยใช้รหัสมอร์ส หลายทศวรรษต่อมาเธอตระหนักว่าข้อความถูกเข้ารหัสอยู่บนนาฬิกา ซึ่งทำให้เธอแก้สมการของแบรนด์ได้เสร็จสมบูรณ์เพื่อปล่อยสถานีอวกาศ

เมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านเสร็จสิ้น บริเวณที่มีห้ามิติก็ยุบตัวลง และคูเปอร์พบว่าตัวเขากำลังเดินทางผ่านรูหนอนเข้ามาสู่วงโคจรรอบ ๆ ดาวเสาร์ เขาตื่นขึ้นบนสถานีอวกาศของนาซ่าและได้พบกับเมิร์ฟซึ่งในตอนนี้แก่ชราแล้ว และเป็นผู้เริ่มนำการอพยพของมนุษยชาติ ด้วยความพึงพอใจที่คูเปอร์ได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ว่าวันหนึ่งจะกลับมาหาเธอ เมิร์ฟโน้มน้าวคูเปอร์ให้ค้นหาอมิเลียซึ่งอยู่ตามลำพังและกำลังดำเนินการตามแผน B พร้อมกับเคสบนทะเลทรายของดาวเอ็ดมันด์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่สามารถอยู่อาศัยได้ เอ็ดมันด์ได้ตายไปเนื่องจากแผ่นดินถล่ม คูเปอร์และทาร์ซึ่งได้รับความช่วยเหลือมาด้วยกันจากอวกาศ นำกระสวยอวกาศของนาซ่าเพื่อเดินทางไปยังดาวเอ็ดมันด์

นักแสดง แก้

กลุ่มนักบินอวกาศ
มนุษย์บนโลก
ในอวกาศ

ความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ แก้

 
คิป ธอร์น นักฟิสิกส์ทฤษฎี ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการผลิต

นักฟิสิกส์ทฤษฎี คิป ธอร์น เป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าภาพของรูหนอนและสัมพัทธภาพมีความถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ "สำหรับภาพของรูหนอนและหลุมดำ” เขาบอก "เราปรึกษากันว่าจะทำกันยังไง จากนั้นผมก็ได้สมการซึ่งจะทำให้การติดตามเส้นทางเดินของแสงในขณะที่พวกมันเดินทางผ่านรูหนอนหรือไปรอบ ๆ หลุมดำได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณเห็นนั้นมีพื้นฐานมาจากสมการสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์"

ในการสร้างรูหนอนและหลุมดำมวลยิ่งยวดแบบหมุนนั้น (ซึ่งมี ergosphere แตกต่างจากหลุมดำที่ไม่หมุน) ธอร์นทำงานร่วมกับหัวหน้าวิชวลเอฟเฟค พอล เฟรงคลิน และทีมนักออกแบบคอมพิวเตอร์เอฟเฟคอีก 30 คนที่ Double Negative ธอร์นจะให้สมการทางทฤษฎีที่มีแหล่งที่มาชัดเจนเป็นหน้า ๆ กับพวกนักออกแบบ ซึ่งจะเขียนซอฟแวร์เรนเดอร์ CGI ใหม่โดยมีพื้นฐานมาจากสมการ เพื่อสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้องของเลนส์ความโน้มถ่วงที่เกิดจากปรากฏการณ์เหล่านี้ บางเฟรมนั้นใช้เวลามากกว่า 100 ชม. เพื่อเรนเดอร์ และผลลัพธ์ที่ได้เป็นข้อมูล 800 เทราไบต์ วิชวลเอฟเฟคที่ได้นั้นทำให้ธอร์นเข้าใจอย่างถ่องแท้ในผลกระทบของเลนส์ความโน้มถ่วงและ accretion disks รอบ ๆ หลุมดำ และจะนำไปสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สองฉบับ ฉบับหนึ่งสำหรับวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และอีกฉบับหนึ่งสำหรับวงการคอมพิวเตอร์กราฟิก

แรก ๆ คริสโตเฟอร์ โนแลน กังวลว่าภาพวาดที่มีความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ของหลุมดำจะไม่สามารถเห็นแล้วเข้าใจได้สำหรับคนดู และจะต้องให้ทีมนักออกแบบแก้ไขรูปร่างให้เพี้ยนไปจากความจริง อย่างไรก็ตามโนแลนพบว่าเอฟเฟคที่เสร็จแล้วนั้นสามารถเข้าใจได้ถ้าเขารักษามุมมองของกล้องไม่เปลี่ยนแปลง "สิ่งที่เราพบคือว่าตราบใดที่เราไม่ได้เปลี่ยนมุมมองมากเกินไป นั่นคือตำแหน่งของกล้อง เราสามารถได้สิ่งที่สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี"

ภาพวาดของรูหนอนว่าควรจะดูเป็นอย่างไรนั้นพูดได้ว่าถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ แทนที่จะเป็นหลุมสองมิติในอวกาศ มันถูกวาดเป็นทรงกลมแสดงให้เห็นภาพที่บิดเบี้ยวของกาแล็กซี่เป้าหมาย ซึ่ง accretion disk ของหลุมดำถูกบรรยายโดยธอร์นว่า "จาง ๆ และอยู่ที่อุณหภูมิต่ำ ประมาณอุณหภูมิของพื้นผิวดวงอาทิตย์" ทำให้มันปล่อยแสงที่มองเห็นได้ แต่มีรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์ไม่มากพอให้ทำอันตรายกับนักบินอวกาศและดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ ๆ

ในช่วงแรกของกระบวนการ ธอร์นวางเงื่อนไขไว้สองประการ "หนึ่งคือว่าจะไม่มีอะไรที่ละเมิดกฎฟิสิกส์ที่มีอยู่แล้ว สองคือการคาดเดาทั้งหลายจะต้องมาจากวิทยาศาสตร์และไม่ได้มาจากผู้เขียนบท" โนแลนยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ตราบใดที่พวกมันไม่ได้เป็นอุปสรรคในการสร้างภาพยนตร์ ครั้งหนึ่งธอร์นใช้เวลาสองสัปดาห์พยายามพูดคุยกับโนแลนให้เลิกล้มแนวคิดเกี่ยวกับตัวละครที่เดินทางได้เร็วกว่าแสงก่อนที่โนแลนจะยอมแพ้ในที่สุด ตามที่ธอร์นบอกองค์ประกอบซึ่งได้อิสระในการออกแบบมากที่สุดคือเมฆน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่พวกเขาไปเยือน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อาจเกินความแข็งแรงของวัตถุซึ่งน้ำแข็งจะสามารถรับได้

นักชีวดาราศาสตร์ เดวิด กรินสพูน ชี้ให้เห็นว่าแม้แต่โรคพืชที่ตะกละตะกลามก็อาจต้องใช้เวลานับล้าน ๆ ปีเพื่อลดปริมาณของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ เขายังสังเกตอีกด้วยว่าเมฆน้ำแข็งควรถูกดึงลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง และดาวเคราะห์ที่โคจรรอบหลุมดำก็มีแสงอาทิตย์อีกด้วยในเมื่อมันไม่ควรจะมี อย่างไรก็ตามตามที่ธอร์นอ้างไว้ด้านบน หลุมดำหมุนแบบนี้มี accretion disk ซึ่งมีอุณหภูมิคล้ายกับของดวงอาทิตย์ ดังนั้นแสงที่ปล่อยออกมาถึงดาวเคราะห์ได้ก็เนื่องมาจาก accretion disk ของสสารที่มีพลังงาน/รังสีที่เข้าไปหาขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ อีกอย่างดาวนิวตรอนถูกอ้างถึงในภาพยนตร์โดยคูเปอร์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ นีล ดิกราส ไทสัน ได้เปิดเผยวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังฉากจบของ Interstellar เขาสรุปว่ามันเป็นไปได้ในทางทฤษฎีในการปฏิสัมพันธ์กับอดีต และว่า "เราไม่รู้จริง ๆ ว่ามีอะไรอยู่ในหลุมดำ ดังนั้นก็เอาเลย"

ดร.มิชิโอะ คาคุ ยกย่องภาพยนตร์เรื่องนี้สำหรับความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และได้กล่าวว่า Interstellar "อาจตั้งมาตรฐานใหม่สำหรับภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ไปอีกหลายปี" ในทางเดียวกัน ทิโมธี ลีส์ อดีตวิศวกรซอฟแวร์นาซ่ากล่าวว่า "การอธิบายหลุมดำและรูหนอนของโนแลนและธอร์น รวมทั้งการใช้แรงโน้มถ่วงนั้นเยี่ยมยอด"

ลอว์เรนซ์ เคราซ์ เรียกวิทยาศาสตร์ใน Interstellar ว่า "น่าเศร้าใจ"

รางวัล แก้

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก ได้รับรางวัลชนะเลิศ

อ้างอิง แก้

  1. Interstellar เรื่องย่อ - หนัง - กระปุก
  2. "Interstellar". bbfc.co.uk. October 20, 2014. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
  3. 3.0 3.1 "Interstellar (2014)". British Film Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ December 10, 2014.
  4. 4.0 4.1 "Interstellar (2014)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 29, 2015.
  5. "The 87th Academy Award Nominations for the 2015 Oscars". January 15, 2015. สืบค้นเมื่อ January 15, 2015.
  6. Kilday, Gregg (December 9, 2014). "AFI List of Top Ten Films Expands to Include 11 Movies". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  7. "Baftas 2015: full list of nominations". The Guardian. January 9, 2015. สืบค้นเมื่อ January 9, 2015.
  8. "Baftas 2015: full list of winners". February 8, 2015. สืบค้นเมื่อ February 8, 2015.
  9. "Nominees for the 2015 Broadcast Film Critics Assn. Critics' Choice Awards". LA Times. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  10. Pedersen, Erik (January 16, 2015). "Critics' Choice Awards Winners". Deadline. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
  11. Patches, Matt (December 15, 2014). "Dallas-Fort Worth Film Critics Association winners include 'Birdman' as best film of 2014". HitFix. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  12. "THE JAMESON EMPIRE AWARDS 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-04-05.
  13. "'Birdman' leads 2014 Florida Film Critics Awards Nominations". December 16, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  14. "2014 FFCC Award Winners". December 19, 2014. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
  15. "North Texas Film Critic Association: Full List of Nominees". January 5, 2015. สืบค้นเมื่อ January 5, 2015.
  16. "Saturn Awards: List of 2015 nominations". March 3, 2015. สืบค้นเมื่อ March 3, 2015.
  17. Giardina, Carolyn (January 13, 2015). "'Dawn of the Planet of the Apes' Leads VFX Feature Nominations". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ January 13, 2015.
  18. "13th Annual VES Award Recipients". February 4, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-05. สืบค้นเมื่อ February 4, 2015.
  19. "The Women Film Critics Circle Awards: List of Winners". The Flick Chicks. December 14, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้