สถานีกำแพงเพชร (อังกฤษ: Kamphaeng Phet Station, รหัส BL12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนกำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร ใช้ชื่อตามถนนกำแพงเพชร ซึ่งตั้งตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งค้าขายที่สำคัญคือ ตลาดนัดจตุจักร ตลาดกลางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และตลาดสัตว์เลี้ยง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย

กำแพงเพชร
BL12

Kamphaeng Phet
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°47′52″N 100°32′54″E / 13.797693°N 100.548361°E / 13.797693; 100.548361
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL12
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25641,164,679
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สวนจตุจักร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล บางซื่อ
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

ถนนกำแพงเพชร บริเวณสามแยกกำแพงเพชร 2 หน้าตลาด อ.ต.ก. และตลาดนัดจตุจักร จุดบรรจบถนนกำแพงเพชร 2 ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ภายในพื้นที่บริเวณพหลโยธินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ที่ตั้งของสถานีอยู่บริเวณตลาดนัดจตุจักร และตลาดกลาง อ.ต.ก. ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายแห่งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร มีสินค้าหลากหลายและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก จึงมีผู้โดยสารใช้บริการมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุด และยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 มากที่สุด ด้วยระยะทางตามถนนกำแพงเพชร 2 เพียง 1.8 กิโลเมตรเท่านั้น

แผนผังสถานี

แก้
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ตลาด อ.ต.ก.
ตลาดนัดจตุจักร, ร้านภูฟ้าและจิตรลดา สาขาถนนกำแพงเพชร
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-3
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี

แก้

สีสัญลักษณ์ของสถานี

แก้

ใช้สีแดงตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลาเพื่อบ่งบอกว่าสถานีนี้เป็นสถานีย่านศูนย์การค้า[1]

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 199 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 17 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี

แก้
 
ทางเข้า-ออกที่ 2 ภายในตลาดนัดจตุจักร
  • 1 หน้าร้านภูฟ้าและร้านจิตรลดา สาขาถนนกำแพงเพชร 2, ป้ายรถประจำทางไปหมอชิต 2
  • 2 ภายในตลาดนัดจตุจักร ระหว่างโครงการ 1 และ โครงการ 2 (ลิฟต์)
  • 3 บริเวณหน้าตลาด อ.ต.ก.

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แก้

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 2 ตลาดนัดจตุจักร
  • ลานจอดรถ 60 คัน ที่ทางเข้า-ออกหมายเลข 1 ด้านข้างร้านภูฟ้าและจิตรลดา สาขาถนนกำแพงเพชร

ศูนย์การค้าภายในสถานี

แก้

ภายในสถานีกำแพงเพชร ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2551 ในชื่อ "Underground Shop Weekend by Metro Mall" มีแนวคิดตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองและเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่นแห่งใหม่ เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 10.00-20.00 น. เป็นศูนย์การค้าสถานีที่ 4 ในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ถัดจากสถานีสุขุมวิท สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร และเป็นแห่งแรกที่เปิดเฉพาะช่วงสุดสัปดาห์

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ - ศุกร์ 05:53 23:35
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:56 23:35
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:56 00:03
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:55 00:03
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:16

รถโดยสารประจำทาง

แก้

ป้ายตรงข้ามตลาด อ.ต.ก.

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 (2-37)   อู่กำแพงเพชร คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
5 สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
26 (1-36)     อู่มีนบุรี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

4.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ผ่านบางเขน
96 (1-42) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ผ่านลาดพร้าว
134 (2-20)   อู่บัวทองเคหะ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

136 (3-47)   อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
138 (4-22E)     อู่ราชประชา ทางด่วน:   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

138A (4-33E)   ท่านํ้าพระประแดง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
145 (3-18)     อู่แพรกษาบ่อดิน   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

เมกาบางนา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
145E (3-19E)   อู่แพรกษาบ่อดิน ทางด่วน:   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

509 (4-60) ม.เศรษฐกิจ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
536 (3-24E)     อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ทางด่วน:   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

A1   ท่าอากาศยานดอนเมือง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ไฮบริด)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ถนนกําแพงเพชร (ป้ายตลาด อ.ต.ก.)

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
536 (3-24E)     อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ทางด่วน:   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้
 
แผนผังบริเวณสถานี

อ้างอิง

แก้
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้