สถานีบางยี่ขัน (อังกฤษ: Bang Yi Khan Station, รหัส BL05) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่เหนือถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 ใกล้กับทางแยกบรมราชชนนีซึ่งสามารถต่อรถโดยสารไปยังสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและสถานที่สำคัญใกล้เคียงได้[2][3]

บางยี่ขัน
BL05

Bang Yi Khan
สถานีมองจากถนนจรัญสนิทวงศ์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายสีน้ำเงิน
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL05
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-23)[1]
ผู้โดยสาร
25641,401,294
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สิรินธร
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน บางซื่อ
สายสีน้ำเงิน บางขุนนนท์
มุ่งหน้า ท่าพระ
ที่ตั้ง
แผนที่
ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี มองจากทางยกระดับของระบบรถไฟฟ้า
ถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณสถานี

ที่ตั้ง

แก้

สถานีบางยี่ขันตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ หน้าปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 บริเวณหน้าตลาดอินดี้ปิ่นเกล้าในพื้นที่เขตบางพลัด แขวงบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับ แยกบรมราชชนนี โดยบริเวณสถานีบางยี่ขันนับเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่น ในอดีตเคยมีตลาดพงษ์ทรัพย์บริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 และซอยร่วมที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกัน

แผนผังสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง

รายละเอียดสถานี

แก้

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้

รูปแบบของสถานี

แก้
 
ชานชาลาสถานี มองออกไปยังทางยกระดับข้ามถนนคู่ขนานฯ

เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี

แก้
  • 1 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 49/1, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 51, อาคารคอมมอนเวลธ์ปิ่นเกล้า (ลิฟต์), ตลาดนัดอินดี้ปิ่นเกล้า , แยกสิรินธร
  • 2 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 53 (บันไดเลื่อนขึ้นและลง) , วัดรวกบางบำหรุ, สำนักงานเขตที่ดินบางกอกน้อย
  • 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 (ลิฟต์), อาคารชุดเดอะ พาร์คแลนด์ ปิ่นเกล้า, โรงเรียนวัดบวรมงคล, วัดบวรมงคล, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 (ตลาดพงษ์ทรัพย์), ซอยจรัญสนิทวงศ์ 65
  • 4 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40/1 (บันไดเลื่อนขึ้น), อาคารชุดไลฟ์ ปิ่นเกล้า, บริษัทธนาแลนด์ จำกัด, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 43, แยกบรมราชชนนี (ต่อรถไปพาต้าปิ่นเกล้า , เซ็นทรัลปิ่นเกล้า , โรงพยาบาลเจ้าพระยาได้ที่ทางออกนี้)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แก้
 
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 3 ชั้นชานชาลา (Platform Level)
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร, เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • 1 ชั้นระดับถนน (Ground Level)

รถโดยสารประจำทาง

แก้

ถนนจรัญสนิทวงศ์

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
66 (2)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ขสมก. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

79 (2)   อู่บรมราชชนนี
  สถานีรถไฟบางบําหรุ
  สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
208 (3) วงกลม: ตลิ่งชัน อรุณอัมรินทร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

ถนนจรัญสนิทวงศ์

  • สาย 28 สายใต้ใหม่-ม.ราชภัฏจันทร์เกษม
  • สาย 56 วงกลมสะพานกรุงธน - บางลำพู
  • สาย 66 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ- สายใต้ใหม่
  • สาย 79 เสริมพิเศษ อู่บรมราชชนนี-สายใต้ปิ่นเกล้า
  • สาย 108 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-เดอะมอลล์ท่าพระ (วงกลม)
  • สาย 170 พุทธมณฑลสาย 2 - สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สาย 175 นนทบุรี-ตลาดพลู
  • สาย 203 ท่าอิฐ-สนามหลวง
  • กะป๊อเขียว ยันฮี-เซนทรัลปิ่น-ชัยพฤกษ์

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[4]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:46 23:20
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:49 00:17
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 23:11
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ - ศุกร์ 05:57 23:20
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:01 00:17

สาเหตุที่การก่อสร้างล่าช้า

แก้
 
อุโมงค์ลอดแยกถนนบรมราชชนนี
 
สะพานรถไฟข้ามแยกฯ
 
สะพานรถไฟข้ามแยกฯ มองระยะใกล้

เนื่องจากว่าสถานีนี้มีอุโมงค์ใต้ดิน, สะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนี และบริเวณนั้นเป็นบริเวณการจราจรหนาแน่น ซึ่งขัดขวางต่อการก่อสร้าง ทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าไปตามที่ต้องการ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างเสาตอม่อดังนี้

  • 1. ใช้วิธีปักตอม่อบริเวณกลางถนน ซึ่งทะลุไปยังอุโมงค์ ทำให้ช่องทางอุโมงค์ฝั่งหนึ่งจะต้องเหลือเพียง 1 เลน จาก 2 เลน ซึ่งจะมีปัญหาการจราจรภายหลัง [5]
  • 2. ใช้วิธีปักตอม่อบริเวณบาทวิถี ซึ่งจะสามารถลดปัญหาการจราจรในระดับหนึ่ง แต่จะทำให้บาทวิถีแคบลง และอาจมีปัญหารื้อถอนท่อระบายน้ำและเวนคืนที่ดินตามมา [6]

ส่วนสะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนีนั้น จะทำการก่อสร้างในระดับความสูงที่สูงกว่าปกติ หรือจะลอดข้ามสะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนี เพื่อมุ่งหน้า สถานีท่าพระ ทางด้าน รฟม. กำลังตัดสินใจจะทำแบบข้างต้นในการสร้างเสาตอม่อ หรือเวนคืนที่ดินย่านนั้นๆ รวมประมาณ 84 คูหา เพื่อขยายพื้นที่บาทวิถี, ตอม่อ และร้านค้าบริเวณบาทวิถี

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "MRT สีน้ำเงิน เปิดครบทุกสถานี นั่งฟรีถึงปีหน้า". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23.
  2. pum (2019-12-23). "บูมจัดสีน้ำเงินวิ่งครบ 38 สถานี บางยี่ขัน-ท่าพระแข่งโปรฟรีตั๋ว MRT 1 ปี". ประชาชาติธุรกิจ.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
  4. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  5. รูปแบบการสร้างบริเวณสี่แยกบางพลัด และสามแยกไฟฉาย 01
  6. รูปแบบการสร้างบริเวณสี่แยกบางพลัด และสามแยกไฟฉาย 02
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
  8. "พาชมทำเล รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ – ท่าพระ (ภาพรวม) | thinkofliving.com". thinkofliving.com.
  9. "บ้านบางยี่ขัน : MyCity.tataya.net ป้ายนำทาง สู่ชุมชนท่องเที่ยว ทั่วไทย". www.mycity.tataya.net.
  10. "พระยา พาลาซโซ โรงแรมลึกลับริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้องนั่งเรือไปเท่านั้น". The Cloud. 2018-11-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้