สถานีสามย่าน (อังกฤษ: Sam Yan Station, รหัส BL27) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกสามย่าน มีทำเลอยู่ใจกลางเมือง ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และย่านธุรกิจบริเวณสามย่าน, สี่พระยา และสุรวงศ์

สามย่าน
BL27

Sam Yan
ชานชาลาที่ 1 สถานีสามย่าน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาต่างระดับ
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL27
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25643,542,328
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
หัวลำโพง
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน สีลม
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

ถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกสามย่านด้านทิศตะวันออกหน้าวัดหัวลำโพง จุดบรรจบของถนนพระรามที่ 4, ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน และแขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีพื้นที่ด้านทิศเหนืออยู่ภายในอาณาบริเวณของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานีสามย่านเป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้ามหานครที่ไม่สามารถใช้กฎหมายเวนคืนมาเวนคืนที่ดินเพื่อนำมาก่อสร้างโครงการได้ เนื่องจากมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐบาล การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจึงใช้วิธีทำสัญญาเช่าที่ดินในระยะเวลา 30 ปี กับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแทน รวมถึงมีข้อตกลงพิเศษร่วมกันว่า หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาโครงการโดยรอบ ทางมหาวิทยาลัยสามารถขอเชื่อมต่อโครงการเข้ากับตัวสถานีได้โดยไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อสถานี และค่าตอบแทน จึงทำให้จามจุรีสแควร์ และสามย่านมิตรทาวน์ สามารถเชื่อมต่อกับสถานีสามย่านได้โดยตรง

แผนผังสถานี

แก้
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, วัดหัวลำโพง
อาคารจัตุรัสจามจุรี, สภากาชาดไทย
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ทางเชื่อมไปยังอาคารจัตุรัสจามจุรี, ทางเชื่อมไปยังศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

รายละเอียดสถานี

แก้

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้
 
หลังคาอาคารหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสัญลักษณ์ประจำสถานี

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปทรงลอกแบบจากหลังคาหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้สีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย [1]

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 174 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 25.6 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนพระรามที่ 4 ขาออกมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ทางเข้า-ออกสถานี

แก้
  • 1 วัดหัวลำโพง, ถนนสี่พระยา, ถนนทรัพย์, ถนนสุรวงศ์
  • 2 อาคารจัตุรัสจามจุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • อุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อชั้นใต้ดินอาคารจัตุรัสจามจุรี (เป็นอุโมงค์แห่งแรกที่เชื่อมต่ออาคารกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร)
    • อุโมงค์เชื่อมมิตร อุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์[2]

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แก้
 
ชั้นออกบัตรโดยสาร
 
ชั้นชานชาลาที่ 2 ปลายทางสถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 2 ชั้นชานชาลา หมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีสีลม และสถานีปลายทางท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
  • 3 ชั้นห้องเครื่อง
  • 4 ชั้นชานชาลา หมายเลข 1 มุ่งหน้าสถานีหัวลำโพง และสถานีปลายทางหลักสอง

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2
  • ลานจอดรถ 30 คัน ที่ทางเข้า-ออกหมายเลข 1

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:56 00:05
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:55 00:05
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:56 23:32
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:56 23:32
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:46

รถโดยสารประจำทาง

แก้
ถนนพระรามที่ 4 หน้าจัตุรัสจามจุรี
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
4 ท่าน้ำภาษีเจริญ ท่าเรือคลองเตย
16 หมอชิต 2 สุรวงศ์ เดินรถฝั่งเดิยว
45 สำโรง สี่พระยา
47 ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดิน
50 สะพานพระราม 7 สวนลุมพินี
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3
141 แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางด่วน
เดินรถฝั่งเดียว
(ไปแสมดำ)
รถเอกชน
3-10(46) มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา รองเมือง
507 สำโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี)
ถนนพระรามที่ 4 หน้าโรงแรมแมนดาริน
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
4 ท่าน้ำภาษีเจริญ ท่าเรือคลองเตย
21 วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25 แพรกษา-บ่อดิน ท่าช้าง
34 รังสิต หัวลำโพง
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3
501 มีนบุรี หัวลำโพง
รถเอกชนร่วมบริการ
29 (1-1) บางเขน (วัดพระศรีมหาธาตุ) หัวลำโพง
40 เอกมัย สายใต้ใหม่
3-10(46) มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา รองเมือง
113 มีนบุรี หัวลำโพง
507 สำโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี)
529 แสมดำ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ถนนพญาไท
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
21 วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์
25 แพรกษา-บ่อดิน ท่าช้าง
34 รังสิต หัวลำโพง
36 ห้วยขวาง สี่พระยา
47 ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดิน
50 สะพานพระราม 7 สวนลุมพินี
93 หมู่บ้านนักกีฬา สี่พระยา
501 มีนบุรี หัวลำโพง
รถเอกชน
29 (1-1) บางเขน (วัดพระศรีมหาธาตุ) หัวลำโพง
113 มีนบุรี หัวลำโพง
507 สำโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี)
529 แสมดำ อนุสาวรีย์ชัยสมภูมิ

วัดหัวลําโพง (ท่าปล่อยรถสาย 45)

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
ถนนพญาไท
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
36 ห้วยขวาง สี่พระยา
45 สำโรง สี่พระยา
93 หมู่บ้านนักกีฬา สี่พระยา
รถเอกชนร่วมบริการ
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (อู่ปู่เจ้าสมิงพราย) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (วัดหัวลำโพง) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (อู่ปู่เจ้าสมิงพราย) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (วัดหัวลำโพง) ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
45 (1) อู่ปู่เจ้าสมิงพราย วัดหัวลำโพง/ท่านํ้าสี่พระยา

45
สําโรง
บางนา
พระโขนง
คลองเตย
ท่าเรือสี่พระยา

03:50 น. 04:30 น. 22:00 น. 23:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
3-9E (45E) (1) หนามแดง

3-9E
(45 เดิม)
หนามแดง
ทิพวัล
สำโรง
เทพารักษ์
บางนา
ขึ้นทางด่วน
บ่อนไก่
สวนลุมพินี
รพ.จุฬาฯ
สามย่าน
ท่าเรือสี่พระยา

05:00 น. 05:40 น. 22:00 น. 23:00 น.

สถานที่ใกล้เคียง

แก้
 
แผนผังบริเวณสถานี

โรงแรม

แก้

สมุดภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. ‘สามย่านมิตรทาวน์’ หมายมั่นสร้างตำนาน 30 ปี เชื่อม ‘อดีตสู่อนาคต’
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้