สถานีรัชดาภิเษก

สถานีรัชดาภิเษก (อังกฤษ: Ratchadaphisek Station, รหัส BL16) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยบริเวณซอยโชคชัยร่วมมิตร

รัชดาภิเษก
BL16

Ratchadaphisek
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL16
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมรัชดา
ผู้โดยสาร
25641,571,151
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สุทธิสาร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ลาดพร้าว
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณทิศเหนือของปากซอยโชคชัยร่วมมิตร (ซอยรัชดาภิเษก 19) และสะพานข้ามคลองบางซื่อ ในพื้นที่แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง และแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีรัชดาภิเษก เป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง โดยเฉพาะบริเวณริมคลองบางซื่อ และซอยโชคชัยร่วมมิตร (ซอยรัชดาภิเษก 19 หรือซอยวิภาวดีรังสิต 16) ที่เป็นซอยเชื่อมต่อจากถนนรัชดาภิเษก ออกสู่ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณด้านหลังบริษัทการบินไทย สำนักงานใหญ่ มีชุมชนทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมอยู่จำนวนมาก

เนื่องจากบริเวณโดยรอบสถานีแห่งนี้ไม่มีสถานที่สำคัญใกล้เคียงที่มีความโดดเด่นเพียงพอ นอกเหนือไปจากซอยโชคชัยร่วมมิตร ดังนั้นจึงตั้งชื่อสถานีตามถนนรัชดาภิเษกที่เป็นถนนสายหลัก โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สถานีแห่งนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สถานีรัชดา" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีรัชดาภิเษก" ในภายหลัง เพื่อให้ถูกต้องตามชื่อถนนอย่างเป็นทางการ

แผนผังสถานี

แก้
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถ
โรงเรียนปัญจทรัพย์
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4, ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี

แก้

สีสัญลักษณ์ของสถานี

แก้

ใช้สีชมพูตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา[1]

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 19 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออก

แก้
 
ทางเข้า-ออกที่ 1
  • 1 โรงเรียนปัญจทรัพย์, โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว
  • 2 ซอยโชคชัยร่วมมิตร, ลานจอดรถฟรีริมถนนรัชดาภิเษก, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว
  • 3 อาคารโอลิมเปียไทย ทาวเวอร์, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร
  • 4 ซอยรัชดาภิเษก 24, ลานจอดรถของสถานี, อาคารพี.กะรัต, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แก้

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลานจอดรถ 30 คัน บริเวณทางเข้า-ออกหมายเลข 4
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 4 (อาคารพี.กะรัต)

ศูนย์การค้าภายในสถานี

แก้

ภายในสถานีรัชดาภิเษก ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี แต่ขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทางบริษัท เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ ผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เคยวางแผนจะเปิดให้บริการเมโทรมอลล์ที่สถานีแห่งนี้เป็นสถานีที่ 3 ถัดจากสถานีสุขุมวิทและพหลโยธิน ด้วยรูปแบบ "เลิร์นนิ่งสเตชัน" หรือสถานีแห่งการเรียนรู้ ที่แบ่งพื้นที่ 80% สำหรับโรงเรียนกวดวิชาได้ประมาณ 10 โรงเรียน และพื้นที่ 20% สำหรับบริการทั่วไป เป็นรูปแบบศูนย์การค้าที่เฉพาะทางมากขึ้น เนื่องจากโดยรอบสถานีมีโรงเรียนและสถานศึกษาอยู่มาก แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด [2]

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:43
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 23:43
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:54
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:55 23:54
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:08

รถโดยสารประจำทาง

แก้
  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 73 136 137 179 185 206 514 517

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้
 
แผนผังบริเวณสถานี

อ้างอิง

แก้
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. ผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2549
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้