สถานีหัวลำโพง (อังกฤษ: Hua Lamphong Station, รหัส BL28) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สถานีรถไฟหลักของประเทศไทย ในอนาคตสถานีจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มบริเวณสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

หัวลำโพง
BL28

Hua Lamphong
ชานชาลา 2
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′14″N 100°31′05″E / 13.7373°N 100.5180°E / 13.7373; 100.5180
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ กรุงเทพ (หัวลำโพง)
รถโดยสารประจำทาง
เรือข้ามฟาก เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL28
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25641,934,104
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
วัดมังกร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล สามย่าน
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ

ที่ตั้ง

แก้

ใต้ถนนพระรามที่ 4 บริเวณแยกหัวลำโพง จุดบรรจบ ถนนพระรามที่ 4, ถนนรองเมือง, ทางขึ้นทางด่วนหัวลำโพง และ ถนนมหาพฤฒาราม ในพื้นที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน และแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

สถานีหัวลำโพงเคยเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ตั้งแต่เปิดทำการในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 หลังจากที่เปิดใช้งาน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนต่อขยายช่วงที่ 1 หัวลำโพง-บางแค (หลักสอง) โดยหลังจากนี้อุโมงค์รถจะลดระดับกลายเป็นชานชาลาแบบสองชั้นเหมือนเดิม เนื่องจากวิ่งเลียบเข้าถนนเจริญกรุงที่มีทางแคบ และจะลดระดับลงไปเรื่อยๆ จนถึงความลึกที่ 30 เมตรจากผิวดิน เพื่อลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วยกระดับกลับขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมาขึ้นพ้นระดับใต้ดินที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีท่าพระต่อไป

สถานีหัวลำโพงถูกใช้เป็นสถานที่ทำพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการ และทำพิธีเปิดการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยมีส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการรถไฟฟ้ามหานครอยู่ภายในสถานี

แผนผังสถานี

แก้
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง,   กรุงเทพ (หัวลำโพง),โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ร้านค้า, ทางเชื่อมไปยังสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี

แก้
 
รูปทรงครึ่งวงกลมของอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ สัญลักษณ์ประจำสถานี

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปทรงครึ่งวงกลมของอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ โดยมีรูปทรงปกติอยู่เหนือเงาสะท้อนรูปหัวกลับ ใช้สีแดงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นย่านธุรกิจ หรือตลาด [1]

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 206 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึกจากผิวดิน 14 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออก

แก้
  • 1 โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์, ถนนมหาพฤฒาราม, วัดไตรมิตร, วงเวียนโอเดียน, ถนนไมตรีจิตต์ (บันไดเลื่อน)
  • 2 สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง), ถนนรองเมือง ด้านข้างอาคารสถานีรถไฟ, ป้ายรถประจำทางหน้าสถานีรถไฟ, ท่าเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม (บันไดเลื่อน / ลิฟต์)
  • 3 ธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวลำโพง, ถนนรองเมือง ด้านติดถนนพระรามที่ 4, ป้ายรถประจำทางไปสามย่าน (บันไดเลื่อน)
  • 4 อาคารตั้ง ฮั่ว ปัก, ป้ายรถประจำทางไปเยาวราช (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แก้

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • B1 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร ห้องประชาสัมพันธ์ นิทรรศการ และทางเชื่อมสถานีรถไฟกรุงเทพ (Concourse Level)
  • B2 ชั้นชานชาลา (Platform Level)

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ 2 ตัว บริเวณทางเข้า-ออกที่ 2 และ 4

นิทรรศการถาวรภายในสถานี

แก้

จัดแสดงบริเวณทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟกรุงเทพ ระหว่างทางเข้า-ออกที่ 2 และ 3

  • ศิลาฤกษ์โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยศฯขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงวางที่บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อยู่บนแท่นภายใต้หลังคาพีระมิดแก้ว ซึ่งโผล่พ้นระดับดินบริเวณทางเข้า-ออกที่ 3
  • ประวัติความเป็นมาของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร และภาพการก่อสร้าง
  • จารึกรายชื่อผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงผู้เสียสละ (ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดิน) บนผนังของโถงบันไดเลื่อนทางเข้า-ออกที่ 3
  • พระเก้าอี้ลำลอง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:55 00:08
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 00:08
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:53 23:30
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:30
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:43

รถโดยสารประจำทาง

แก้

ถนนรองเมือง

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34 (3)   อู่รังสิต สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
53 (1) วงกลม: สนามหลวง เทเวศร์
  • ถนนรองเมือง สาย 29 34 53

ถนนพระรามที่ 4

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
4 (1)   ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน

21 (1)   วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ใช้ป้ายหน้ารถสีเหลือง สําหรับรถขึ้นทางด่วน

ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน สําหรับรถเส้นทางปกติ 1.มีรถให้บริการตลอดคืน

49 (1)   วงกลม: สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

53 (1) วงกลม: สนามหลวง เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (3)   อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน เฉพาะรถทางยาวไปสวนสยาม
ตลาดห้วยขวาง ใช้ป้ายหน้ารถสีแดง เฉพาะรถเสริมห้วยขวาง
  • ถนนพระรามที่สี่ สาย 4 21 25 40(เส้นทางหลัก) 53(วนขวา เทเวศร์-หัวลำโพง-เยาวราช) 73 507 529

ถนนรองเมือง

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34 (3)   อู่รังสิต สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
501 (1) อู่มีนบุรี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

  • ถนนเลียบทางรถไฟ ข้างสถานีรถไฟกรุงเทพ สาย 7 29 34 40(เสริมพิเศษ) 113 501

ถนนมหาพฤฒาราม

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
  • ถนนมหาพฤฒาราม สาย 1(จากท่าช้างไปถนนตก) 75

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

แก้

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

โรงแรม

แก้
  • โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์
  • โรงแรมกรุงเกษม ศรีกรุง
  • โรงแรมเดอะ เทรน อินน์
  • โรงแรมศรีหัวลำโพง
  • โรงแรมสเตชัน
  • โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ หัวลำโพง บาย ยูเอชจี

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้