กรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อการศึกษา วิจัยและพัฒนาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิต ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร[1]

กรมวิชาการเกษตร
Department of Agriculture
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2515
สำนักงานใหญ่50 ถนนพหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์, อธิบดี
  • ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, รองอธิบดี
  • พงศ์ไท ไทโยธิน, รองอธิบดี
  • วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, รองอธิบดี
เว็บไซต์https://www.doa.go.th

ประวัติ

แก้

กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดยก่อนที่จะมาเป็นกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการก่อตั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 จัดตั้งกรมช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งถือเป็นการกำเนิดงานด้านวิชาการเกษตร จนกระทั่งในปี 2515 ได้มีการรวม "กรมการข้าว" กับ "กรมกสิกรรม" เพื่อสถาปนาเป็น กรมวิชาการเกษตร

การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก

แก้

กรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (อังกฤษ: International Horticulture Exposition for His Majesty the King; Royal Flora Ratchapruek 2006) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,404 ล้านบาท จัดขึ้นในนามของรัฐบาลไทย และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) การจัดงานจากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH)[2] และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE)[3] โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชีย ที่ได้รับรองการจัดงานมหกรรมระดับโลกจาก BIE ต่อจากจีน และญี่ปุ่น[3]

และได้รับมอบหมายให้จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 อีกครั้งหนึ่ง

หน่วยงานในสังกัด

แก้

การแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร มีดังนี้[4]

  1. สํานักงานเลขานุการกรม
  2. กองการเจ้าหน้าที่
  3. กองคลัง
  4. กองแผนงานและวิชาการ
  5. กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
  6. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
  7. กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
  8. กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และ

การจัดการก๊าซเรือนกระจก สำหรับภาคเกษตร

  1. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
  3. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
  4. สถาบันวิจัยพืชสวน
  5. สํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
  6. สํานักคุ้มครองพันธุ์พืช
  7. สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
  8. สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

หน่วยงานจัดตั้งภายใน

แก้
  1. สำนักนิติการ
  2. กองประสานงานโครงการพระราชดำริ
  3. กองการยาง
  4. กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช
  5. กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการแก๊สเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร

หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค

แก้
  • สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
    • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด 54 ศูนย์
  • ด่านตรวจพืช 48 ด่าน
  • ศูนย์ควบคุมยาง 6 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น
  • ศูนย์วิจัยพืชไร่ 10 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยพืชสวน 10 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรม 4 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช 5 ศูนย์

อ้างอิง

แก้
  1. กรมวิชาการเกษตร จัดงานใหญ่ "5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทยฯ"
  2. จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
  3. 3.0 3.1 จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2549
  4. แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้