มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 (อังกฤษ:The International Horticultural Exposition: Royal Flora Ratchaphruek 2011) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2554 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง กำหนดเดิมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 255415 มีนาคม 2555 แต่เนื่องจากสถานการณ์ความไม่พร้อมด้านการก่อสร้างประกอบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในภาคกลาง รัฐบาลจึงเลื่อนวันจัดงาน ไปเป็นวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 14 เมษายน พ.ศ. 2555 แทน รวม 92 วัน[1] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ 470 ไร่ ในนามของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) ละสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A2/B1 การจัดงานจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH)

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๕๔
upright=250px
ตราสัญลักษณ์ประจำงาน
ชื่อภาษาอังกฤษRoyal Flora Ratchapruek 2011
วันที่14 ธันวาคม 2554 – 15 มีนาคม 2555
สถานที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ประเภทมหกรรมพืชสวนโลก
หอคำหลวง อาคารเด่นประจำอุทยานราชพฤกษ์

แนวคิดหลัก (Theme) ประจำงานคือ Greenitude: Reducing Global Warming to Save Planet Earth and to Improve the Quality of Life ทัศนคติสีเขียว ร่วมสร้างสรรค์แนวคิดรักษ์โลก ตระหนักถึงการช่วยกันลดสภาวะโลกร้อน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ

วัตถุประสงค์ แก้

วัตถุประสงค์ของงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ 3 วโรกาสสำคัญของคนไทย อันได้แก่

นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการแสดงศักยภาพให้นานาประเทศได้ทราบถึงความสามารถของคนไทยด้านการเกษตร เผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีด้านพืชสวนให้แก่ประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และบูรณาการด้านพืชสวนระหว่างประเทศ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว อันเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ของงาน แก้

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ของงาน (mascots) มีอยู่ 5 ตัวคือ

  1. น้องคูน มีชื่อจริงว่า "ราชพฤกษ์" ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์งานมหกรรมพืชสวนโลกในคราวมหกรรมพืชสวนโลกปี 2549 อีกด้วย
  2. ลมบิน
  3. ดินฉ่ำ
  4. น้ำใส
  5. ไออุ่น

ประเทศที่เข้าร่วมงาน แก้

งานมหกรรมครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วมจัดสวนนานาชาติในอาคารและนอกอาคารเพิ่มขึ้นจากงานมหกรรมพืชสวนโลกเมื่อปี 2549 3 ประเทศ (ปากีสถาน เกาหลีใต้ ไต้หวัน) รวมเป็น 27 สวน จาก 26 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ เบลเยียม จีน กัมพูชา อิหร่าน ญี่ปุ่น เคนยา ลาว มอริเตเนีย โมร็อกโก เนปาล เนเธอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ ซูดาน ตุรกี เวียดนาม สเปน อินโดนีเชีย อินเดีย มาเลเซีย ภูฏาน กาตาร์ ปากีสถาน เกาหลีใต้ และไต้หวัน ทั้งนี้ทางประเทศญี่ปุ่นมีการจัดแสดง 2 สวน คือสวนชาติญี่ปุ่น และสวนคันไซ (เป็นการร่วมกันระหว่างจังหวัดเกียวโตะ โอซากา และเฮียวโงะ) [2] [3]

อ้างอิง แก้

  1. กระปุก.คอม. งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]2554. สืบค้น 14 ธันวาคม 2554.
  2. ประชาชาติธุรกิจ. เปิดลายแทงเที่ยว "พืชสวนโลก" "ราชพฤกษ์" โฉมใหม่ มีมากกว่า "ต้นไม้ ดอกไม้". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2]2554. สืบค้น 14 ธันวาคม 2554.
  3. เชียงใหม่นิวส์. เปิดอาณาจักรพืชสวนโลกอลังการ470ไร่ 27 ประเทศ". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3][ลิงก์เสีย]2554. สืบค้น 14 ธันวาคม 2554.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้