ท่าอากาศยานหัวหิน

ท่าอากาศยานหัวหิน-ชะอำ หรือ สนามบินบ่อฝ้าย (IATA: HHQICAO: VTPH) ตั้งอยู่ในตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542[2] นอกจากนี้ท่าอากาศยานหัวหินยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน และ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

ท่าอากาศยานหัวหิน-ชะอำ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการอำเภอหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, อำเภอชะอำ, จังหวัดเพชรบุรี
ที่ตั้งตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
เปิดใช้งาน3 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2504
เหนือระดับน้ำทะเล62 ฟุต / 19 เมตร
พิกัด12°37′49″N 99°57′12″E / 12.63028°N 99.95333°E / 12.63028; 99.95333
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/huahin
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
16/34 6,890 2,100 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร30,863
เที่ยวบิน341
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

หัวทางวิ่งของท่าอากาศยานหัวหินด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะอยู่คร่อมทางรถไฟสายใต้และถนนเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ใช้เส้นทางจากชะอำเข้าตัวเมืองหัวหินทั้งทางถนนและทางรถไฟ จะต้องลอดผ่านอุโมงค์ใต้ทางวิ่ง

ประวัติ

แก้

ท่าอากาศยานหัวหินเดิมมีชื่อว่าสนามบินบ่อฝ้าย แต่เดิมมีเพียงเครื่องบินที่ใช้ในการทหารเท่านั้น สร้างในปี 2478[3] ซึ่งมีกองทัพอากาศเพียงสังกัดหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินหรือการขนส่งทางอากาศ ทางกองทัพอากาศได้มีการสำรวจพื้นที่ซึ่งเป็นของทางราชการ และมีการปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่นั้นๆ จึงได้มีการย้ายสนามบินของกองทัพอากาศ จากที่สนามบินหนองบ้วย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่นั้นไม่สามารถขยายให้เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น-ลงได้ มาใช้พื้นที่สนามบินบ่อฝ้าย ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ตั้งปัจจุบัน ที่ได้มีการปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในระยะแรกเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สนามบินเพื่อทางการทหารเท่านั้น

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2498 การขนส่งทางอากาศได้เป็นที่แพร่หลาย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบินแบบ DC-3 หรือ DAKOTA มาทำการบินขึ้น-ลง ณ สนามบินบ่อฝ้าย เฉพาะฤดูฤดูร้อนเท่านั้น โดยมีกองทัพอากาศคอยควบคุมดูแล และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกของท่าอากาศยาน เป็นท่าอากาศยานหัวหินโดยมีการส่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบจากของกองทัพอากาศมาเป็นพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) กระทรวงคมนาคม[4]

อาคารสถานที่

แก้
 
พื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร

ท่าอากาศยานหัวหินมีพื้นที่ทั้งหมด 492 ไร่ มีอาคารผู้โดยสารหลังเดียว สูง 2 ชั้น ขนาด 7,200 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คน/ชั่วโมง[5] และพื้นที่ลานจอดเครื่องบินขนาด 11,000 ตารางเมตร รองรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320 ได้ประมาณ 3 ลำ

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

แก้

ท่าอากาศยานหัวหินมีทางวิ่ง 1 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) กว้าง 35 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และยาว 2,100 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ในด้านทิศเหนือ ขนาดกว้าง 65 เมตร และยาว 60 เมตร และมีทางขับทั้งหมด 3 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) มีความยาวรวมกัน 155 เมตร และกว้าง 23 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 5 เมตร[5]

อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง

แก้

อุโมงค์บ่อฝ้าย หรือที่มักเรียกกันว่า "อุโมงค์ทางลอดสนามบินบ่อฝ้าย"[6] เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดและอุโมงค์ถนนลอดของถนนเพชรเกษม ที่มีลักษณะลอดผ่านทางวิ่งของสนามบินซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายทางวิ่งที่ขยายระยะความยาวออกมาจนกระทั่งข้ามเส้นทางรถไฟสายใต้และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตัวอุโมงค์รถไฟเป็นทางลอดที่สร้างขึ้นโดยใช้ท่อคอนกรีตสำเร็จรูปสี่เหลี่ยม ใต้ทางวิ่งของสนามบินหัวหิน

รายชื่อสายการบิน

แก้

การใช้งานในปัจจุบัน

แก้
 
ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน

ท่าอากาศยานหัวหินในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน เป็นสถานที่ฝึกสอนหลักสูตรภาคอากาศ(นักบิน) โดยใช้ทางวิ่งของท่าอากาศยานในการขึ้น-ลงของอากาศยานฝึกบิน มีอาคารและโรงจอดอากาศยานของศูนย์ฝึกการบินตั้งอยู่บริเวณใกล้กับหัวทางวิ่งฝั่งที่ติดกับทะเล

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
ไทยแอร์เอเชีย เชียงใหม่ ภายในประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต

ระหว่างประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
นกมินิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ภายในประเทศ
กานต์แอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ภายในประเทศ

สถิติ

แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

แก้
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[8]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 3,189 280 1.31
2545 14,358   350.24% 1,071 2.31
2546 14,984   4.36% 1,087 0.563
2547 1,906   87.28% 546 0.00
2548 10,960   475.03% 2,288 0.00
2549 12,389   13.04% 2,217 0.00
2550 11,206   9.55% 2,186 0.00
2551 7,329   34.60% 1,678 0.00
2552 1,266   82.88% 356 0.00
2553 92   92.67% 356 0.00
2554 0   100.00% 1,191 0.00
2555 764   669 0.00
2556 9,900   1,195.81% 724 0.00
2557 10,559   6.66% 346 0.00
2558 11,437   8.32% 767 0.00
2559 12,076   5.59% 613 0.00
2560 2,780   76.98% 283 0.00
2561 34,779   1,151.04% 458 0.00
2562 88,594   154.73% 839 0.00
2563 30,863   65.16% 341 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

แก้
 
บริการรถเช่า

ท่าอากาศยานหัวหินตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยหน้าอาคารผู้โดยสารมีลานจอดรถยนต์ที่มีความจุประมาณ 40 คัน และไม่สามารถจอดรถยนต์ค้างคืนได้[9]

บริเวณพื้นที่รองรับผู้โดยสารขาเข้าหลังศุลกากร มีบริษัทรถเช่าอยู่ 1 บริษัท

อ้างอิง

แก้
  1. "ท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง สนามบินที่ได้อนุมัติแล้ว
  4. "ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานหัวหิน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "ข้อมูลทั่วไปท่าอากาศยานหัวหิน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ด่วน!รถไฟตกรางที่ชะอำ พบแผ่นจานรองราง-หมุดยึดหมอนรถไฟหาย 6โบกี้เกือบพลิกคว่ำ
  7. "กิจกรรมด้านการบินพาณิชย์/ตารางเที่ยวบิน ท่าอากาศยานหัวหิน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "รูปป้ายห้ามจอดรถยนต์ค้างคืน". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)