ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์

ท่าอากาศยานนานาชาติชางงีสิงคโปร์ (IATA: SINICAO: WSSSFAA LID: SIN) (จีน: 新加坡樟宜机场; พินอิน: Xīnjiāpō Zhāngyí Jīchǎng) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ และเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมทางอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์

Lapangan Terbang Changi Singapura

新加坡樟宜机场

சிங்கப்பூர் சாங்கி விமான நிலையம்
หอบังคับการบินอันโดดเด่นของท่าอากาศยานชางงี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานท่าอากาศยานนานาชาติ/ ฐานทัพอากาศ
เจ้าของรัฐบาลสิงคโปร์
ผู้ดำเนินงานบริษัทชางงีแอร์พอร์ทกรุ๊ป จำกัด
กองทัพอากาศสิงคโปร์
พื้นที่บริการสิงคโปร์
สถานที่ตั้งสิงคโปร์ตะวันออก
ฐานการบิน
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล7 เมตร / 22 ฟุต
เว็บไซต์www.changiairport.com
แผนที่
SINตั้งอยู่ในสิงคโปร์
SIN
SIN
ตำแหน่งที่ตั้งของท่าอากาศยาน
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
02L/20R1 4,000 13,123 คอนกรีต
02C/20C 4,000 13,123 คอนกรีต
02R/20L2 2,750 9,022 ยางมะตอย
สถิติ (ข้อมูลปี ค.ศ.2010)
ผู้โดยสาร42,038,777 คน
ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ1,813,809 ตัน
จำนวนเที่ยวบิน263,593 เที่ยว
แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์ชางงีแอร์พอร์ทกรุ๊ป[2]

ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548 พ.ศ. 2552 ท่าอากาศยานชางงีได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่สามรองจากท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง[3]

ประวัติ แก้ไข

ท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ที่ Paya Lebar เป็นท่าอากาศยานหลักแห่งที่สามของสิงคโปร์นับจากท่าอากาศยาน Seletar (ท่าอากาศยานหลักในปี 2473 - 2480) และท่าอากาศยาน Kallang (2480 – 2498) เปิดในปี 2498 แต่ด้วยรันเวย์เดียวและอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก การขนส่งสนามบินประสบปัญหาความแออัดไม่สามารถรับมือกับการจราจรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522)จำนวนผู้โดยสารต่อปีเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 300,000 คนในปี 2498 เป็น 1.7 ล้านคนในปี 2513 และ 4 ล้านคนในปี 2518

รัฐบาลขณะนั้นมีสองทางเลือก คือ ขยายท่าอากาศยานที่มีอยู่ที่ Paya Lebar หรือสร้างท่าอากาศยานใหม่ที่สถานที่อื่น หลังจากศึกษาอย่างกว้างขวางในปี 2515 รัฐบาลตัดสินใจรักษาสภาพท่าอากาศยานหลักที่ Paya Lebar ตามคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการบินของอังกฤษ ทำให้เกิดการสร้างรันเวย์ที่สองและการปรับปรุงและขยายอาคารผู้โดยสารในหนึ่งปีต่อมา อย่างไรก็ตามได้มีการทบทวนใหม่อีกครั้งเมื่อมีแรงกดดันที่จะขยายสนามบินเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำมันปี 2516

ด้วยความกังวลว่าท่าอากาศยาน Paya Lebar ที่มีอยู่ในพื้นที่เดิมตั้งมีความเสี่ยงที่ถูกปิดล้อมในทุกด้านจากการเติบโตของเมือง รัฐบาลจึงตัดสินใจในปี 2518 เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ปลายสุดทางทิศตะวันออกของเกาะหลักที่เขตชางงีในพื้นที่ฐานทัพอากาศชางงีที่มีอยู่เดิม ซึ่งท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้จะสามารถขยายได้อย่างง่ายดายด้วยการถมทะเล

อย่างไรก็ตามการจราจรทางการบินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่าอากาศยานจึงต้องเริ่มสร้างและขยายตัวในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้มีการวางแผนให้เครื่องบินต้องบินข้ามทะเลแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลภาวะทางเสียงหากบินผ่านพื้นที่ที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับที่ท่าอากาศยาน Paya Lebar และช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นดิน

ซึ่งต่อมาท่าอากาศยาน Paya Lebar ได้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นฐานทัพอากาศ Paya Lebar แทนฐานทัพอากาศชางงีเดิม

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ แก้ไข

  • 26 มีนาคม พ.ศ. 2534: เครื่องบินแอร์บัส เอ 310 ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 117 ที่ออกจากกัวลาลัมเปอร์ ถูกชายสี่คนจี้ขณะเดินทางไปยังสิงคโปร์ คนร้ายต้องการเติมน้ำมันให้เครื่องบินเพื่อให้บินไปถึงออสเตรเลีย เมื่อเครื่องบินลงจอดที่สิงคโปร์ หน่วยจู่โจมได้บุกเข้าไปในเครื่องบินแล้วสังหารคนร้ายชาวปากีสถานทั้งสี่คน ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดไม่ได้รับอันตราย[4]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550: อุซามะฮ์ ชูบลัก (Osama R.M. Shublaq) ชาวปาเลสไตน์ ได้ลักลอบขึ้นเครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 119 จากกัวลาลัมเปอร์ แล้วตกออกจากโครงส่วนล่างของเครื่องบิน ตำรวจของท่าอากาศยานได้จับกุมและเนรเทศกลับไปมาเลเซียในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา[5]
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553: เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ของสายการบินแควนตัส เที่ยวบินที่ 32 ชื่อว่า "Nancy-Bird Walton" ประสบปัญหาเครื่องยนต์ภายในลำตัวเครื่องบินด้านซ้ายขัดข้องอย่างรุนแรง เครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ผู้โดยสารทั้ง 433 คนและลูกเรือทั้ง 26 คนไม่ได้รับอันตราย ขณะที่ฝาครอบเครื่องยนต์ที่ขัดข้องได้ตกลงไปที่เกาะบาตัม

โครงสร้างพื้นฐาน แก้ไข

โครงสร้างพื้นฐาน[6]
Taxiways
ความยาว 25,300 m (83,000 ft)
ความกว้าง 30 m (98 ft)
อาคารผู้โดยสาร
Total
Floor area 1,045,020 ตร.ม.
ความจุผู้โดยสาร 73 ล้านคน
Parking bays 92 (aerobridge)
10 (contact)
42 (remote)
อาคารหนึ่ง
วันที่เปิด 1 กรกฎาคม 2524 (operational)
29 ธันวาคม 2524 (เป็นทางการ)
Floor area 280,020 ตร.ม.
ความจุผู้โดยสาร 21 ล้านคน
Parking bays 29 (aerobridge)
16 (remote)
อาคารสอง
วันที่เปิด 22 พฤศจิกายน 2533 (operational)
1 มิถุนายน 2534 (เป็นทางการ)
Floor area 358,000 ตร.ม.
ความจุผู้โดยสาร 23 ล้านคน
Parking bays 35 (aerobridge)
11 (remote)
อาคารสาม
วันที่เปิด 9 มกราคม 2551 (operational)
25 กรกฎาคม 2551 (เป็นทางการ)
Floor area 380,000 ตร.ม.
ความจุผู้โดยสาร 22 ล้านคน
Parking bays 28 (aerobridge)
อาคารสี่
วันที่เปิด To Be Confirmed
Floor area To Be Confirmed
ความจุผู้โดยสาร To Be Confirmed
Parking bays To Be Confirmed
Budget Terminal
วันที่เปิด 26 มีนาคม 2549 (operational)
31 ตุลาคม 2549 (เป็นทางการ)
Floor area 25,000 ตร.ม.
Handling capacity 7 ล้านคน
Parking bays 10 (contact)
JetQuay (CIP Terminal)
วันทีเปิด 15 สิงหาคม 2549 (operational)
29 กันยายน 2549 (เป็นทางการ)
Floor area 2,000 ตร.ม.
ความจุผู้โดยสาร
Parking bays 0

หอควบคุมจราจรทางอากาศ แก้ไข

หอควบคุมจราจรทางอากาศถูกสร้างขึ้นตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานชางงีระยะที่หนึ่ง

อาคารผู้โดยสาร แก้ไข

  • อาคาร 1 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2524)
  • อาคาร 2 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2533)
  • อาคาร 3 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2551)
  • อาคาร 4 (เปิดให้บริการวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • อาคาร 5 (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2563)
  • อัญมณีแห่งท่าอากาศยานชางงี หรือ Jewel Changi Airport (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2562)

สายการบินและจุดหมายปลายทาง แก้ไข

 
น้ำพุวนจากหลังคา (The Rain Vortex) ที่ Jewel Changi Airport
 
โถงผู้โดยสารขาออกในอาคาร 2
 
จุดรับสัมภาระ มีผนังเขียว (ด้านขวา) ที่รวบรวมพรรณไม้เลื้อย 25 ชนิด
 
พื้นที่รอเปลี่ยนเครื่องในอาคาร 3
 
สวนผีเสื้อ อาคาร 3
 
ภาพทางอากาศของสนามบินชางงีสิงคโปร์ พื้นที่ป่าทางด้านขวาของท่าอากาศยานด้รับการแผ้วถางเพื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 5
 
ร้านค้าในพื้นที่รอเปลี่ยนเครื่องในอาคาร 3
 
สระว่ายน้ำในพื้นที่รอเปลี่ยนเครื่องในอาคาร 1
 
อาคารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำที่เปิดใช้งานในเดือนเจนไนมีนาคม พ.ศ. 2549
 
เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ และโบอิง 747 ของ Northwest Airlines จอดอยู่ที่ท่าอากาศยาน
 
A Garuda Indonesia Boeing 737-300 bound for Jakarta, Indonesia pushing back
สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคาร
แอร์ไชนา ปักกิ่ง, เฉิงตู, Xiamen 1
แอร์ฟรานซ์ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล 1
แอร์อินเดีย operated by Indian เจนไน, เดลี, มุมไบ 2
Air India Express เจนไน, Kolkata, Tiruchirapalli 2
แอร์มาเก๊า มาเก๊า 2
แอร์มอริเชียส มอริเชียส 1
Air Niugini พอร์ตมอร์สบี 1
แอร์เซเชลส์ Mahé 1
แอร์เอเชีย โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, ลังกาวี, Miri, ปีนัง 1
Airphil Express เซบู, มะนิลา 2
ออลนิปปอนแอร์เวย์ โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ 2
เอเชียน่าแอร์ไลน์ โซล-อินชอน 2
บางกอกแอร์เวย์ สมุย, หาดใหญ่ อนาคต 1
Batavia Air Jakarta-Soekarno-Hatta, Pontianak, Semarang 2
Berjaya Air Tioman
เฉพาะฤดูกาล: Redang
2
Biman Bangladesh Airlines ธากา 1
บริติชแอร์เวย์ ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ซิดนีย์ 1
คาเธ่ย์แปซิฟิค กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, โคลัมโบ, Jakarta-Soekarno-Hatta [resumes 29 March], ฮ่องกง 1
เซบูแปซิฟิค เซบู, Clark, มะนิลา 2
ไชนาแอร์ไลน์ Kaohsiung, Surabaya, ไทเป-เถาหยวน 1
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุนหมิง, หนานจิง, หนานหนิง, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง 3
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ กว่างโจว, Shenyang 1
เดลต้า แอร์ไลน์ โตเกียว-นาริตะ 1
เอมิเรตส์ บริสเบน, โคลัมโบ, ดูไบ, เมลเบิร์น 1
Etihad Airways อาบูดาบี, บริสเบน 2
อีวีเอแอร์ ไทเป-เถาหยวน 1
ฟินน์แอร์ เฮลซิงกิ [resumes 31 May][7] 1
Firefly Ipoh, Kuala Lumpur-Subang, Kuantan
เฉพาะฤดูกาล: Kuala Terengganu
2
การูดาอินโดนีเซีย เดนปาซาร์, ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา 3
ไหหนานแอร์ไลน์ Dalian, Hefei 2
ฮ่องกงแอร์ไลน์ ฮ่องกง 2
อินโดนีเซียแอร์เอเชีย Bandung, เดนปาซาร์, ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา, Yogyakarta 1
แจแปนแอร์ไลน์ โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ 1
Jet Airways เจนไน, เดลี, มุมไบ 3
Jetstar Airways Cairns, Darwin, เดนปาซาร์, ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา, เมลเบิร์น, เพิร์ท 1
Jetstar Asia Airways โอกแลนด์ [เริ่ม 17 มีนาคม], กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, กุ้ยหลิน, Haikou, หางโจว [เริ่ม 22 มีนาคม],[8] โฮจิมินห์ซิตี, ฮ่องกง, โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์, มาเก๊า, มะนิลา, โอะซะกะ-คันไซ, พนมเปญ, ภูเก็ต, ปีนัง, เพิร์ท, Shantou, เสียมราฐ, ไทเป-เถาหยวน, ย่างกุ้ง 1
Jetstar Asia Airways operated by Valuair เดนปาซาร์, Jakarta-Soekarno-Hatta, Medan, สุราบายา 1
Kingfisher Airlines มุมไบ 3
เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม, เดนปาซาร์ 1
โคเรียนแอร์ โซล-อินชอน 2
ไลอ้อนแอร์ เดนปาซาร์, โฮจิมินห์ซิตี, Jakarta-Soekarno-Hatta 1
ลุฟต์ฮันซา แฟรงค์เฟิร์ต, Jakarta-Soekarno-Hatta, มิวนิก 2
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, ลังกาวี, Miri, ปีนัง 2
Myanmar Airways International กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, ย่างกุ้ง 2
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ Jakarta-Soekarno-Hatta, มะนิลา 2
แควนตัส Adelaide, บริสเบน, แฟรงค์เฟิร์ต, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, เมลเบิร์น, มุมไบ, เพิร์ท, ซิดนีย์ 1
กาตาร์แอร์เวย์ เดนปาซาร์, โดฮา 3
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ Bandar Seri Begawan 2
Saudi Arabian Airlines Jakarta-Soekarno-Hatta, Riyadh 1
ซิลค์แอร์ Balikpapan, Bandar Seri Begawan, Bangalore, เซบู, เฉิงตู, เจนไน, เชียงใหม่, Chongqing, Coimbatore, ดานัง, Davao, Dili [operated for Air Timor], Hyderabad, Kathmandu, Kochi, Kota Kinabalu, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, คุนหมิง, ลังกาวี, Manado, Mataram, Medan, Palembang, Pekanbaru [begins 28 February], ปีนัง, พนมเปญ, ภูเก็ต, เซินเจิ้น, เสียมราฐ, Solo, Surabaya, Thiruvananthapuram, Xiamen, ย่างกุ้ง 2
สิงคโปร์แอร์ไลน์ อาบูดาบี, Ahmedabad, Bandar Seri Begawan, Bangalore, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, ไคโร, เคปทาวน์, เจนไน, Colombo, เดนปาซาร์, เดลี, Dhaka, ดูไบ, ฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี, Istanbul-Atatürk, Jakarta-Soekarno-Hatta, Jeddah, โจฮันเนสเบิร์ก, Kolkata, กัวลาลัมเปอร์, คูเวต, Malé, มะนิลา, มุมไบ, Riyadh 2
สิงคโปร์แอร์ไลน์ Adelaide, Amsterdam, เอเธนส์, โอกแลนด์, บาร์เซโลนา, ปักกิ่ง, บริสเบน, Christchurch, โคเปนเฮเกน, แฟรงค์เฟิร์ต, ฟุกุโอะกะ, กว่างโจว, ฮ่องกง, Houston-Intercontinental, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, แมนเชสเตอร์, เมลเบิร์น, มิลาน-มัลเปนซา, มอสโก-โดโมเดโดโว, มิวนิก, นะโงะยะ-เซ็นแทรร์, นิวยอร์ก-จอห์น เอฟ. เคนเนดี, นูอาร์ก, โอะซะกะ-คันไซ, ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล, เพิร์ท, โรม-ฟิอูมิชิโน, São Paulo-Guarulhos [เริ่ม 28 มีนาคม],[9] ซานฟรานซิสโก, โซล-อินชอน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน, โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ, ซูริค 3
South East Asian Airlines Clark 2
SriLankan Airlines โคลัมโบ, กัวลาลัมเปอร์ 1
Sriwijaya Air Jakarta-Soekarno-Hatta 2
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, ภูเก็ต 1
ไทเกอร์แอร์เวย์ กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, เจนไน, กว่างโจว, ฮานอย, Haikou, หาดใหญ่, ฮ่องกง, โฮจิมินห์ซิตี, Jakarta-Soekarno-Hatta, กระบี่, กูชิง, กัวลาลัมเปอร์, มาเก๊า, มะนิลา, ปีนัง, เพิร์ท, ภูเก็ต, เซินเจิ้น, ไทเป-เถาหยวน, Thiruvananthapuram, Tiruchirapalli 2.[10]
Transaero Airlines มอสโก-โดโมเดโดโว 3
เตอร์กิชแอร์ไลน์ Istanbul-Atatürk 1
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ชิคาโก-โอแฮร์, ฮ่องกง, โตเกียว-นาริตะ 3
เวียดนามแอร์ไลน์ ฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี 1
Xiamen Airlines Fuzhou, Xiamen 1
การบินไทย กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ 1
 
เส้นทางบินตรงจากเมืองต่างๆ ไปสิงคโปร์

อาคารสินค้า แก้ไข

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
Aerologic บาห์เรน, เดลี, Leipzig
แอร์ฮ่องกง ฮ่องกง
เอเชียน่าคาร์โก โซล-อินชอน
Cardig Air Balikpapan, โฮจิมินห์ซิตี, Jakarta-Soekarno-Hatta
Cargolux Amman, Baku, เจนไน, Damascus, กัวลาลัมเปอร์, ลอสแอนเจลิส, Luxembourg
คาเธ่ย์แปซิฟิคคาร์โก ฮ่องกง, ปีนัง
ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก ไทเป-เถาหยวน
ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
อีวีเอแอร์คาร์โก กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Jakarta-Soekarno-Hatta, ปีนัง, ไทเป-เถาหยวน
FedEx Express Anchorage, เซบู, กว่างโจว, Jakarta-Soekarno-Hatta, Memphis, นูอาร์ก, โอะซะกะ-คันไซ, ปีนัง, ซานฟรานซิสโก, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Subic, โตเกียว-นาริตะ
ฮ่องกงแอร์ไลน์ ฮ่องกง
Jett8 Airlines Cargo เจนไน, ดูไบ, ฮ่องกง, Luxembourg, แมนเชสเตอร์
โคเรียนแอร์คาร์โก ฮานอย, โซล-อินชอน
ลุฟต์ฮันซาคาร์โก บาห์เรน, เดลี, Leipzig/Halle
เคแอลเอ็มคาร์โก อัมสเตอร์ดัม, ดูไบ, ปีนัง
MASKargo กัวลาลัมเปอร์
Martinair Cargo อัมสเตอร์ดัม, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Riyadh, Sharjah
นิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์ กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, โอะซะกะ-คันไซ, โตเกียว-นาริตะ
Republic Express Airlines Jakarta-Soekarno-Hatta
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์คาร์โก โฮจิมินห์ซิตี, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก Adelaide, อัมสเตอร์ดัม, Anchorage, แอตแลนตา, โอกแลนด์, Bangalore, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, บรัสเซลส์, เจนไน, ชิคาโก-โอแฮร์, โคเปนเฮเกน, ดัสลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ, ธากา, ดูไบ, ฮานอย, ฮ่องกง, โจฮันเนสเบิร์ก, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, เมลเบิร์น, มุมไบ, ไนโรบี, หนานจิง, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Sharjah, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน, โตเกียว-นาริตะ, Xiamen
TNT Airways Liège, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
Transmile Air Services[11] Labuan, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง
Tri-MG Intra Asia Airlines Balikpapan, Jakarta-Soekarno-Hatta, กัวลาลัมเปอร์, พนมเปญ
UPS Airlines กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Clark, โคโลญ, ดูไบ, กว่างโจว, ฮ่องกง, มุมไบ, เซินเจิ้น, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน

อ้างอิง แก้ไข

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  3. "S Korean airport 'best in world'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
  4. "Hijacking of Singapore Airlines Flight SQ 117". National Library Board Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-27.
  5. What if Stowaway is Suicide Bomber?
  6. "Data officially declared by Changi Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  7. https://newsclient.omxgroup.com/cdsPublic/viewDisclosure.action?disclosureId=409195&lang=en
  8. http://www.jetstar.com/sg/en/home.aspx
  9. Singapore Airlines To Fly To Sao Paulo from 28 March
  10. [1]
  11. http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/1046835/1/.html

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข