ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์

ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ (พม่า: မန္တလေး အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာ လေဆိပ်; (IATA: MDLICAO: VYMD)), อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ไปทางตอนใต้ 35 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติของ ประเทศพม่า สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 อีกทั้งยังเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ มีทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ยาวถึง 14,000 ฟุต หรือ 4,268 เมตร ซึ่งถือว่ามีความยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบิน โกลเดนเมียนมาร์แอร์ไลน์[3]

ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์

မန္တလေး အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာ လေဆိပ်
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ผู้ดำเนินงานMitsubishi Corporation, JALUX Inc., SPA Project Management Ltd. (for 30 years bid)
พื้นที่บริการมัณฑะเลย์
สถานที่ตั้งTada-U
เขตมัณฑะเลย์, ประเทศพม่า
วันที่เปิดใช้งาน17 กันยายน ค.ศ. 2000
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล91 เมตร / 299 ฟุต
พิกัด21°42′08″N 095°58′41″E / 21.70222°N 95.97806°E / 21.70222; 95.97806พิกัดภูมิศาสตร์: 21°42′08″N 095°58′41″E / 21.70222°N 95.97806°E / 21.70222; 95.97806
เว็บไซต์www.mandalayintlairport.com
แผนที่
MDLตั้งอยู่ในประเทศพม่า
MDL
MDL
ที่ตั้งของท่าอากาศยานในประเทศพม่า
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
17/35 4,268 14,003 คอนกรีต
สถิติ (2017)
ผู้โดยสารภายในประเทศ1,320,945 เพิ่มขึ้น[1]
ผู้โดยสารระหว่างประเทศ477,922[1]
ความจุ3 ล้านคนต่อปี[2]
ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ - มุมมองจากที่จอดรถ

ประวัติ แก้

การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์เป็นโครงการของรัฐบาลพม่า ในช่วง พ.ศ. 2530 เพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยว และเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศควบคู่ไปกับท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง และหวังว่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพม่ากับเมืองท่องเที่ยวอื่นๆในภูมิภาค เช่น ปักกิ่ง, ฮานอย, กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2539 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้งบประมาณไปกว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งมาจากการกู้ EXIM Bank ของประเทศไทย จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของพม่า ส่งผลให้ธุรกิจการบินในพม่าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานครและจีน ซึ่งปีที่ผ่านมาได้เติบโตขึ้นถึง 20%

สายการบินและจุดหมายปลายทาง แก้

ระหว่างประเทศ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เอเชียนวิงแอร์เวย์ เชียงใหม่
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ - สุวรรณภูมิ,[4] เชียงใหม่
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุนหมิง
โกลเดนเมียนมาร์แอร์ไลน์ อิมฟาล
ฮ่องกงเอ็กซเพรส ฮ่องกง[5]
เมียนมาร์แอร์เวย์ กรุงเทพฯ - สุวรรณภูมิ, คยา, คุนหมิง, โซล - อินช็อน[6]
เมียนมาร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ - สุวรรณภูมิ
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ - ดอนเมือง

ภายในประเทศ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
Air Bagan Bagan, Bhamo, Heho, Homalin, Monywa, Kalemyo, Kengtung, Lashio Myitkyina, Naypyidaw, Tachilek, Yangon
Air KBZ Bhamo, Bagan, Heho, Kalemyo, Myitkyina, Tachileik, Yangon
Air Mandalay Myitkyina, Yangon
Asian Wings Airways Bagan, Heho, Yangon
FMI Air Bagan, Naypyidaw, Yangon
Golden Myanmar Airlines Bagan, Bhamo, Heho, Kengtung, Myitkyina, Tachilek, Thandwe, Yangon
Mann Yatanarpon Airlines Yangon, Bagan, Heho, Thandwe, Kengtung, Tachilek, Myitkyina
Myanmar National Airlines Bhamo, Kalemyo, Kengtung, Khamti, Myitkyina, Naypyidaw, Pakokku, Tachilek, Yangon
Myanmar Airways International Yangon
Yangon Airways Bagan, Bhamo, Heho, Kalemyo, Kengtung, Lashio, Myitkyina, Naypyidaw, Tachileik, Yangon

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก 1,000 คน/ชั่วโมง หรือ 3.000,000 คน/ปี และในอนาคตสามารถขยายเพื่อรองรับได้สูงสุดถึง 15,000,000 คน/ปี[7] มีพื้นที่ประมาณ 63270 ไร่ ห่างจากตัวเมืองมัณฑะเลย์ 35 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองประมาณ 30 นาที[3][8]

รันเวย์มีความยาว 13,999 ฟุต หรือ 4,267 ม. ซึ่งยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงพอสำหรับเครื่องบินโดยสารทุกประเภท และมีที่จอดรถถึง 700 คัน[3][7] นอกจากนี้อาคารผู้โดยสารยังมีระบบปรับอากาศที่เหมาะสม , ระบบป้องกันอัคคีภัย และพลังงานสำรอง อีกทั้งสะพานเทียบเครื่องบิน 3 ใน 6 สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง โบอิง 747 ได้ในเวลาเดียวกัน

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร แก้

สถิติ แก้

ท่าอากาศยานปลายทางสูงสุด แก้

เที่ยวบินที่ออกจากมัณฑะเลย์ต่อสัปดาห์สูงสุด
อันดับ ท่าอากาศยานปลายทาง ความถี่ (รายสัปดาห์)
1   ย่างกุ้ง 108
2   Heho 53
3   มยิจีนา 35
4   ท่าขี้เหล็ก 29
5   Nyaung U 24
6   คุนหมิง 16
7   กะเล่ 15
8   กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ 12
9   คำตี้ 10
10   กรุงเทพ-ดอนเมือง 8

จราจรต่อปี แก้

ผู้โดยสาร จำวนที่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว การเคลื่อนตัว
2011 528,193 17,926
2012 610,969  016% 19,059
2013 794,432  030% 22,590
2014 938,901  018% 24.598
2015 1,016,549  08% 25,446
2016 1,171,753  015% 25,184
2017 1,320,945  012% 25,073
ข้อมูล: [9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Mandalay International Airport". mandalayintlairport.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
  2. "Japan firms to run Mandalay airport". Kyodo News. Bangkok Post. 17 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 November 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Mandalay International Airport (MDL/VYMD)". Airport Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
  4. Bangkok Airways to become the first foreign carrier in Nay Pyi Taw Providing non-stop service from Bangkok - Bangkok Airways เก็บถาวร 2013-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bangkokair.com (2013-08-21). Retrieved on 2013-08-25.
  5. 2016, UBM (UK) Ltd. "HK Express Delays Myanmar Launch to Sep 2016".{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-16. สืบค้นเมื่อ 2014-09-23.
  7. 7.0 7.1 "Quiet Debut for Mandalay Airport". Bangkok Post. September 21, 2000. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
  8. "MANDALAY INTL". World Aero Data. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
  9. "MJas | Mandalay International Airport". www.mandalayintlairport.com.