ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (IATA: HAN, ICAO: VVNB) (เวียดนาม: Sân bay Quốc tế Nội Bài) เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามตอนเหนือ ให้บริการสำหรับบริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางจากเมืองโดยรถแท็กซี่ใช้เวลา 30-45 นาที[1]

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย

Sân bay Quốc tế Nội Bài
ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย
  • IATA: HAN
  • ICAO: VVNB
    HANตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
    HAN
    HAN
    Location of airport in Vietnam
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานCivil/Military
ผู้ดำเนินงานNorthern Airports Authority
พื้นที่บริการHanoi
ที่ตั้งHanoi, Vietnam
ฐานการบินVietnam Airlines
เหนือระดับน้ำทะเล39 ฟุต / 12 เมตร
พิกัด21°13′16″N 105°48′26″E / 21.22111°N 105.80722°E / 21.22111; 105.80722
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
11R/29L 10,497 3,200 Concrete
11L/29R 12,466 3,800 Concrete

สภาพทั่วไป

แก้
 
ภายในอาคารท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานแห่งนี้มีขนาดเล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติอีก 2 แห่งในเวียดนาม แต่ก็ใหม่กว่าและทันสมัยมากกว่า มีทางวิ่งของเครื่องบิน 1 เส้น ระยะทาง 3,800 เมตร และมีอีกเส้นหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ข้อมูลใน พ.ศ. 2545) ทางการเวียดนามทำพิธีเริ่มต้นก่อสร้างอาคารผู้โดยสารขนาด 4 ชั้น ที่สนามบินโนยบ่าย วานนี้ (4 ธ.ค.) ด้วยเงินทุนช่วยเหลือจากญี่ปุ่นมากกว่า 75,000 ล้านเยน (961 ล้านดอลลาร์) “อาคารเทอร์มินัล 2 คาดว่า จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2557 ออกแบบให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี” แถลงของรัฐบาลระบุ

หนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์ภาคภาษาอังกฤษ รายงานว่า ในปี 2553 ที่ผ่านมา อาคารผู้โดยสารที่มีอยู่เดิมรองรับผู้โดยสารถึง 9.5 ล้านคน เกินกว่าความจุของอาคารที่ 6 ล้านคน

ข่าวสารจากท่าอากาศยาน

แก้
  • 7 เมษายน 2548 - สายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ส เริ่มเที่ยวบินระหว่างฮานอยและสิงคโปร์สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน หลังจากเปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างนครโฮจิมินห์กับสิงคโปร์เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน ทำให้ไทเกอร์แอร์เวย์สเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกที่เปิดดำเนินการในเวียดนาม [ต้องการอ้างอิง]
  • 17 ตุลาคม 2548 - สายการบินแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบินระหว่างฮานอยและกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งที่สองที่ให้บริการในเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้มีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนราว 3.5 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง] และรองรับเที่ยวบินทั้งไปและกลับเป็นจำนวน 1 ใน 3 จากเที่ยวบินทั้งหมดในท่าอากาศยานนานาชาติทั้ง 3 แห่งในเวียดนาม

  • 1 พฤศจิกายน 2550 - สายการบินนกแอร์เปิดเส้นทางการบินระหว่างฮานอยและกรุงเทพมหานคร โดยทำการบินวันละ 2 เที่ยวบินทุกวัน
  • ปัจจุบัน พ.ศ. 2552 - สายการบินนกแอร์ไม่มีบินไปฮานอยแล้ว

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ชื่อไทย ชื่ออังกฤษ
การบินไทย (TG) Thai Airways International กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
ออล นิปปอน แอร์เวย์ (NH) All Nippon Airways (ANA) โตเกียว(ฮาเนะดะ)
เอมิเรตส์แอร์ไลน์ (EK) Emirates Airlines ดูไบ
คาเธย์แปซิฟิก (CX) Cathay Pacific Airways ฮ่องกง
โคเรียนแอร์ (KE) Korean Air โซล ปูซาน
เจแปนแอร์ไลน์ (JL) Japan Airlines โอซะกะ โตเกียว
ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (CZ) China Southern Airlines ปักกิ่ง กว่างโจว
ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (MU) China Easthern Airlines หนานหนิง
ไชน่าแอร์ไลน์ (CI) China Airlines ไทเป
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) Tiger Airways สิงคโปร์
ไทยแอร์เอเชีย (FD) Thai AirAsia กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
แปซิฟิกแอร์ไลน์ (BL) Pacific Airlines นครโฮจิมินห์
พีเอ็มทีแอร์ (U4) PMTair เสียมราฐ
มาเลเซียแอร์ไลน์ (MH) Malaysia Airlines กัวลาลัมเปอร์
ยูนิแอร์ (B7) Uni Air เกาซุง
รอแยลเขมรแอร์ไลน์ (RK) Royal Khmer Airlines เสียมราฐ
การบินลาว (QV) Lao Airlines หลวงพระบาง เวียงจันทน์
(XF) Vladivostok Avia วลาดีวอสตอค
เวียดนามแอร์ไลน์ (VN) Vietnam Airlines นครโฮจิมินห์ ดานัง เว้ ด่าหลัต ญาจาง เดียนเบียนฟู บวนมาถ็วต กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง เสียมราฐ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ คุนหมิง ฮ่องกง กว่างโจว ไทเป ปักกิ่ง โซล โตเกียว มอสโก แฟรงก์เฟิร์ต ปารีส
สิงคโปร์แอร์ไลน์ (SQ) Singapore Airlines สิงคโปร์
อีวีเอแอร์ (BR) EVA Air ไทเป
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ (HY) Uzbekistan Airways ทาชเคนต์
เอเชียนาแอร์ไลน์ (OZ) Asiana Airlines โซล
แอโรฟลอต (SU) Aeroflot มอสโก
แอร์เอเชีย (AK) Air Asia กัวลาลัมเปอร์
แอร์ฟรานซ์ (AF) Air France ปารีส กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
กาตาร์แอร์เวย์ (QR) Qatar Airways โดฮา กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
ฮ่องกงแอร์ไลน์ (N8) Hong Kong Airlines ฮ่องกง
มาลินโดแอร์ (OD) Malindo Air กัวลาลัมเปอร์
ไทยไลอ้อนแอร์ (SL) Thai Lion Air กรุงเทพฯ-ดอนเมือง หยุดชั่วคราว

สายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
นกแอร์ กรุงเทพ-ดอนเมือง

อ้างอิง

แก้
  1. Airport, Noi Bai International. "Noi Bai International Airport". viags.vn (ภาษาเวียดนาม).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้