อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 111 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและป่าผาแดง โดยคำว่าขุนน่าน หมายถึง "ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน"

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
จุดชมทิวทัศน์และทะเลหมอกในอุทยาน
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
พิกัด19°10′59″N 101°10′39″E / 19.18306°N 101.17750°E / 19.18306; 101.17750
พื้นที่249 ตารางกิโลเมตร (156,000 ไร่)
จัดตั้ง16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ผู้เยี่ยมชม2,645 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ธารน้ำในอุทยาน

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

สภาพภูมิประเทศทั่วไปของพื้นที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1A มีเขาสูงชันสลับซับซ้อนติดต่อกัน โดยมีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเล มียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำเป็นจุดสูงสุด ที่ความสูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุทยานแห่งชาติขุนน่านเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้ มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร และมีลำห้วยสำคัญที่ไหลลงลำน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำสะปัน ห้วยตี๋ ห้วยห้า และน้ำแปด[1][2]

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณเกือบเหนือสุดของประเทศ อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง ที่ 02-32.5 องศาเหนือ ระหว่างเส้นแวง ที่ 27.2-48.4 องศาตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นที่สูง ทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 1-7 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว และประมาณ 28-33 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,900 - 2,200 มิลลิเมตรต่อปี ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านมีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศบนพื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศพื้นที่จึงมีความบริสุทธิ์ แจ่มใส สดชื่น หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี[3]

ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

แก้

สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านปกคลุมด้วยป่าดิบเขาประมาณร้อยละ 90 ป่าดิบแล้ง ร้อยละ 7 และทุ่งหญ้า ร้อยละ 3 ชนิดพันธุ์ไม้พบเห็นตั้งแต่ไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางนา ยางแดง ตุ้มเต๋น ก่อ กำยาน กำลังเสือโคร่ง จำปีป่า มะม่วงป่า หว้า ทะโล้ มะไฟ แก้มขาว ติ้ว ตะไคร้ต้น หรือ ตะไคร้ภูเขา รวมไปถึงไม้ไผ่ เฟิร์นชนิดต่างๆ ไผ่เลื้อย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่พบบริเวณน้ำตกสะปัน และลำน้ำว้า กล้วยไม้ดิน กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง เอื้องชะนี หรือ เอื้องมือชะนี หวายป่า เอื้องหมายนา เนระพูสีไทย หรือ ค้างคาวดำ เป็นต้น

สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะมด หมีควาย กวางป่า ลิ่น หมูหริ่ง เม่น กระรอก กระแต ไก่ป่า นกชนิดต่างๆ สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ กบ คางคก งูชนิดต่างๆ ปูห้วย เต่าปูลูเหนือ เป็นต้น

การเดินทาง

แก้

จากอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1081 (บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ) ประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

แหล่งท่องเที่ยว

แก้

ด้านท่องเที่ยวผจญภัย

แก้

ด้านธรรมชาติ

แก้

ด้านศึกษาธรรมชาติ

แก้
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติในเส้นทางน้ำตกห้วยหินฝน

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง" [National Park Area Information published in the 133 Government Gazettes]. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 111{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. Khun Nan National Park - Trekthailand
  3. Luang Prabang montane rain forests

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

พิกัดแผนที่

แก้