อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542[1] มีเนื้อประมาณ 1,065,000 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดน่าน คือ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ ครอบคลุมบริเวณเทือกเขาดอยภูคา มีจุดสูงสุดคือยอดดอยภูคาที่สูง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์น่าน ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกต้นตอง น้ำตกภูฟ้า น้ำตกวังเปียน น้ำตกตาดหลวง พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดน่าน ประเทศไทย
พิกัด19°12′2″N 101°4′5″E / 19.20056°N 101.06806°E / 19.20056; 101.06806
พื้นที่1,704 ตารางกิโลเมตร (1,065,000 ไร่)
จัดตั้ง17 มิถุนายน 2542
ผู้เยี่ยมชม63,102 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประณามการทำลายพื้นที่ป่าในประเทศไทยด้วยความโลภของเจ้าหน้าที่บางส่วน ซึ่งเห็นได้ชัดในพื้นที่ใหญ่ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่เคยเป็นป่าป่าดิบ และยังคงถูกทำลายป่าแม้ว่าจะมีสถานะเป็นอุทยานแห่งชาติก็ตาม[2]

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทือกเขาสูงสลับซับซ้อน โดยมีพื้นที่ราบอยู่รอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส กลางคืนเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเชลเชียส
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ โดยในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส

การเดินทาง

แก้

จากอำเภอเมืองน่านถึงอำเภอปัว ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอปัวถึงที่ทำการอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว - บ่อเกลือ) ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร

หน่วยงานในพื้นที่

แก้
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ ภค 2 (น้ำตกแม่จริม)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 3 (น้ำปูน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 4 (ขุนน้ำแนะ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 5 (ห้วยโป่ง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 6 (นากอก)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 7 (น้ำอวน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 8 (ภูแว)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 10 (ดอยผาผึ้ง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 11 (น้ำยาว)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 12 (ธารเสด็จ)

สถานที่ติดต่อ

แก้

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 โทรศัพท์: 0-5470-1000, 0-5473-1362

รางวัลอันทรงคุณค่าที่ได้รับ

แก้
  • รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือ
  • รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและเชิงนิเวศ[3]
  • รางวัลดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 11 ประจำปี 2560 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ[4]
  • โล่รางวัลและประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ โครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (Green National Parks) ประเภทภูเขา งานวันสิ่งแวดล้อมและวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ (ทสม.) ประจำปี 2560[5]

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดอยภูคา ป่าผาแดง ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ ป่าน้ำว้า และป่าแม่จริม ในท้องที่ตำบลห้วยโก๋น ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลปอน ตำบลงอบ ตำบลและ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง ตำบลภูคา ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (PDF). Royal Gazette. 116 (48 ก): 5. 1999-06-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
  2. King says greed a factor in floods - Govt urged to find ways to prevent deforestation
  3. อุทยานแห่งชาติได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards 2015
  4. อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่านผู้ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 11
  5. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 - แพร่

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้