อำเภอบ่อเกลือ

อำเภอในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

บ่อเกลือ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน

อำเภอบ่อเกลือ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bo Kluea
คำขวัญ: 
ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน เด่นตระการด้วยขุนเขา
เกลือสินเธาว์ลือชื่อ งานฝีมือเครื่องจักสาน
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอบ่อเกลือ
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอบ่อเกลือ
พิกัด: 19°8′56″N 101°9′27″E / 19.14889°N 101.15750°E / 19.14889; 101.15750
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด848.341 ตร.กม. (327.546 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด15,316 คน
 • ความหนาแน่น18.05 คน/ตร.กม. (46.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55220
รหัสภูมิศาสตร์5512
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือ ถนนบ่อหลวง-ยอดดอยฯ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอบ่อเกลือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ประมาณพิกัดเส้นรุ้งที่ 19 องศา 8 ลิปดา 30 พิลิปดาตะวันออกและเส้นแวงที่ 101 องศา 10 ลิปดา 0 พิลิปดาเหนือ มีเนื้อที่ปกครองประมาณ 523,781.25 ไร่ หรือประมาณ 838.05 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ร้อยละ 7.40 ของเนื้อที่จังหวัดน่านทั้งหมด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

สภาพภูมิศาสตร์

แก้

พื้นที่อำเภอบ่อเกลือส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 40 บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือสูงประมาณ 730 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง จุดสูงสุด 1,648.066 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ราบลุ่มตามลำน้ำและหุบเขาแคบ ๆ เพียงร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ทั้งหมด

ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาภูคา ภูแว ภูฟ้า ภูผีปันน้ำ ลำน้ำที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำมาง ลำน้ำว้า และลำน้ำน่าน มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณดอยภูคาและบริเวณพรมแดนไทย-ลาว ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้นานาชนิด และยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่านอีกด้วย

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเย็นสบายตลอดทั้งปี เนื่องจากมีลมภูเขาและลมหุบเขา แต่เมื่อถึงฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัดมากโดยเฉพาะเวลากลางคืนในบางปี อุณหภูมิหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะกลางคืนจะลดลงถึง 0 องศาเซลเซียส พอสิ้นหนาวผ่านเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียวก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝน ฝนจะตกชุกไปถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ น้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี เป็นอิทธิพลจากลมมรสุมในอ่าวตังเกี๋ยซึ่งพัดผ่านประเทศเวียดนามและประเทศลาว อำเภอบ่อเกลือจึงเป็นเมืองในหุบเขาสองฤดู

ประวัติ

แก้

อำเภอบ่อเกลือเดิมเรียกว่า เมืองบ่อ ซึ่งคงจะหมายถึงบ่อน้ำเกลือสินเธาว์ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 9 บ่อ เมืองบ่อเดิมทีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีตกาล ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามพงศาวดารเมืองน่านซึ่งพระเจ้าสุริยพงษผริตเดชได้แต่งรวบรวมขึ้นไว้ มีข้อความกล่าวถึงแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญที่เป็นสาเหตุให้พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ยกทัพมายึดเมืองน่าน เมื่อปี พ.ศ. 1993 ว่า

"เดิมทีเขตอำเภอบ่อเกลือเป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ มีหนองน้ำ ซึ่งพวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้เป็นประจำ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมักจะกินน้ำที่นี่เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่ามีรสเค็ม ข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคาและเจ้าหลวงบ่อ จึงได้มาดูบ่อน้ำเกลือ และต่างก็ต้องการครอบครอง จึงคิดหาวิธีการโดยทั้งสองพระองค์ขึ้นไปอยู่ที่ยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเน้า (หอก) แสดงการครอบครองบ่อน้ำเกลือ เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อพุ่งหอกไปตกทางตะวันออกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอเจ้าพ่อบ่อหลวงในปัจจุบัน ผู้คนที่พากันมาดูการแข่งขันพุ่งหอก ได้นำเอาก้อนหินมาก่อไว้เป็นที่สังเกต แล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธีระลึกตอบแทนเจ้าหลวงทั้งสององค์ทุกปี ภายหลังทั้งสองพระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้ว เจ้าหลวงภูคาจึงไปทูลขอประชาชนที่อยู่เมืองเชียงแสนจากเจ้าเมืองเชียงรายมาหักร้างถางพงทำเกลืออยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงในปัจจุบันนั่นเอง ดังนั้นชุมชนบริเวณนี้จึงได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ (ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมทีนั้นบรรพบุรุษอยู่ที่ประเทศมองโกเลียและประเทศจีน หนี้ลี้ภัยมาทางแม่น้ำเหลืองเข้าสู่ประเทศลาว ทางประเทศลาวไม่อนุญาตให้อาศัยอยู่ได้ จึงพากันข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงแสน)"

ต่อมาเมื่อการปกครองของรัฐ เมืองบ่อจึงได้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปัว โดยแยกเป็น 2 ตำบล คือตำบลบ่อเกลือเหนือและตำบลบ่อเกลือใต้ ซึ่งในระยะหลังมีราษฎรจากพื้นราบมาทำการค้าขายและตั้งรกรากอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับราษฎรในพื้นที่ห่างไกล จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งเขตการปกครองท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยแยกตำบลบ่อเกลือเหนือและตำบลบ่อเกลือใต้เป็น กิ่งอำเภอบ่อเกลือ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531[1] และได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอบ่อเกลือ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2538[2]

 
การต้มเกลือแบบโบราณ

ต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้านเพื่อมาตั้งตำบลใหม่อีก 2 ตำบล ได้แก่

  • แยก 7 หมู่บ้านออกจากการปกครองของตำบลบ่อเกลือเหนือ และตั้งเป็น ตำบลดงพญา และแยก 11 หมู่บ้านออกมาตั้งเป็นตำบลขุนน่าน
  • แยก 6 หมู่บ้านออกจากการปกครองของตำบลบ่อเกลือใต้ และตั้งเป็น ตำบลภูฟ้า

และเมื่อปี พ.ศ.2539 ตำบลขุนน่านได้แยกการปกรองออกเป็นอำเภอใหม่ โดยรวมกับตำบลห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง โดยจัดตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทำให้ปัจจุบัน อำเภอบ่อเกลือ มีการปกครองรวม 4 ตำบล

และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการยุบหมู่ที่ 7 (บ้านห้วยขาบ) ให้ไปรวมกับหมู่ที่ 9 (บ้านบ่อหยวกใต้) ของตำบลบ่อเกลือเหนือ และเปลี่ยนให้บ้านห้วยขวาก หมู่ที่ 11 เป็นหมู่ที่ 7 แทน ทำให้ตำบลบ่อเกลือเหนือ เหลือเพียง 10 หมู่บ้าน[3]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอบ่อเกลือแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน [4] ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[5]

1. บ่อเกลือเหนือ   Bo Kluea Nuea 10 3,233
2. บ่อเกลือใต้   Bo Kluea Tai 15 5,214
3. ภูฟ้า   Phu Fa 6 3,330
4. ดงพญา   Dong Phaya 7 3,581

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอบ่อเกลือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเกลือใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเกลือเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเกลือเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงพญาทั้งตำบล

การคมนาคม

แก้
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1081 (ปัว-บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ)

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
น้ำตกสะปัน
  • อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
  • บ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลก
  • ล่องแก่งลำน้ำว้าตอนบน
  • น้ำตกสะปัน
  • น้ำตกบ้านเด่น
  • น้ำตกห้วยห้า
  • น้ำตกห้วยตี๋
  • น้ำตกห้วยหินฝน
  • น้ำตกรางจาล
  • น้ำตกห้วยป่าเฮี้ย
  • น้ำตกห้วยปึง
  • น้ำตกห้วยพิว
  • น้ำตกบ้านน้ำแพะ
  • น้ำตกบวกครก
  • น้ำตกตาดขวาง
  • น้ำตกตาดคำ
  • น้ำตกห้วยก้อ
  • นั่งเรือชมลำน้ำมาง
  • ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน
  • ถ้ำผาเก้า
  • โครงการหลวงภูฟ้า (โครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ)
  • พระตำหนักภูฟ้า
  • ป่าชุมชนบ้านดงผาปูน
  • ชมปลาวังควาย
  • หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน่าน หน่วยย่อยที่ 1
  • หน่วยจัดการต้นน้ำขุนว้า
  • พิชิตยอดภูเข้-ภูโล
  • จุดชมทะเลหมอกดอยพับผ้า
  • นาขั้นบันได บ้านเวร
  • บ้านสะปัน
  • บ้านห้วยโทน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ่อเกลือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
  3. ราชกิจจาบุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบหมู่บ้านห้วยขาบ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
  4. ราชกิจจาบุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เรียงลำดับหมู่บ้านในท้องที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
  5. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.