อำเภอทุ่งช้าง

อำเภอในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

ทุ่งช้าง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเชียงกลาง[1][2][3][4] อำเภอสองแคว[5]ทั้งหมด และตำบลห้วยโก๋นของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ[6][7]

อำเภอทุ่งช้าง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Chang
คำขวัญ: 
พิพิธภัณฑ์เรืองรอง ส้มสีทองเรืองนาม
สาวงามพริ้มพราย ผ้าลายไทลื้อ
ยึดถือธรรมะ พระพุทธรูป 700 ปี
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง
พิกัด: 19°23′14″N 100°52′33″E / 19.38722°N 100.87583°E / 19.38722; 100.87583
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด760.811 ตร.กม. (293.751 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด18,935 คน
 • ความหนาแน่น24.89 คน/ตร.กม. (64.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55130
รหัสภูมิศาสตร์5508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ทุ่งนาในเขตอำเภอทุ่งช้าง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอทุ่งช้างมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

แต่เดิมท้องที่อำเภอทุ่งช้างเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงเมืองและ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอและ[8] ตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โดยมีอาคารที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านเฟือยลุง หมู่ 9 ตำบลและ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้ย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ซึ่งห่างจากเดิม 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตบ้านทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลทุ่งช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็นอำเภอทุ่งช้าง[9] ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน

อำเภอทุ่งช้าง มีประวัติศาสตร์การสู้รบที่ยาวนาน คือสงครามอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความทางคิด อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ที่แทรกซึมเพื่อหวังทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ทวีความรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518 ชาวไทยที่รักชาติต้องพลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินไทยมากมายถึง 600 กว่าคน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ปัจจุบันชาวอำเภอทุ่งช้างมีวิถีชีวิตที่สุขสงบท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม อากาศบริสุทธิ์ ผู้คนมีอัธยาศัยไมตรี ราษฎรมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ถึงแม้จะประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเผ่าพันธ์ เช่น ไทยเหนือ ไทลื้อ ม้ง ขมุ ลัวะ เย้า ถิ่น แต่ชนทุกเผ่าก็อยู่อาศัยร่วมกันในผืนดินนี้อย่างสุขสงบ ไม่เคยมีปัญหาด้านการปกครอง

  • วันที่ 8 กันยายน 2450 รวมเมืองและ เมืองปอน เมืองงอบ เมืองเบือ ขึ้นเป็นแขวงเมืองและ ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองและ[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลงอบ แยกออกจากตำบลปอน ตั้งตำบลเปือ แยกออกจากตำบลและ ตั้งตำบลเชียงคาน แยกออกจากตำบลเชียงกลาง[10]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลและ ในท้องที่บางส่วนของตำบลและ[11]
  • วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็น อำเภอทุ่งช้าง[9]
  • วันที่ 18 มิถุนายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง อำเภอทุ่งช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง ขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง[3]
  • วันที่ 17 กันยายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงกลาง และตำบลเปือ[12]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง เป็น อำเภอเชียงกลาง[4]
  • วันที่ 13 กันยายน 2520 ตั้งตำบลทุ่งช้าง แยกออกจากตำบลและ[13]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลห้วยโก๋น แยกออกจากตำบลปอน[6]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง และตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[7] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลและ เป็นเทศบาลตำบลและ[14]
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งช้าง[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอทุ่งช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[16]

1. ปอน   Pon 8 2,696
2. งอบ   Ngop 11 5,935
3. และ   Lae 14 4,666
4. ทุ่งช้าง   Thung Chang 7 5,641

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอทุ่งช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 481–484. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (54 ง): 1755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  5. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่มณฑลพายัพและมณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 346. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-34. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  8. 8.0 8.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกบริเวณน่านใต้กับบริเวณน่านตะวันออกแล้วจัดแบ่งท้องที่ตั้งเป็นแขวงขึ้นต่างๆ คือ รวมเมืองศรีสะเกษ เมืองหิน เมืองลี เรียกว่าแขวงศรีสะเกษ รวมเมืองท่าปลา เมืองแฝด เมืองผาเลือด เรียกว่าแขวงท่าปลา รวมเมืองปัว เมืองเชียงคาน เมืองเชียงกลาง เมืองบ่อ เมืองศิลาเพชร เมืองยม เมืองอวน เมืองริม เมืองแงง เรียกว่าแขวงเมืองปัว รวมเมืองและเมืองปอน เมืองงอบ เมืองเปีย เรียกว่าแขวงเมืองและ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (23): 572. September 8, 1907.
  9. 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ก): 382-. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2504
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลและ อำเภอและ จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-50. January 7, 1957.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน กิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (82 ง): 2787–2789. September 17, 1968.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (85 ง): 3711–3713. September 13, 1977.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็น เทศบาลตำบลทุ่งช้าง" (PDF). February 16, 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.