ภูมิภาคของประเทศไทย
ภูมิภาค เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีการแบ่งภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยมีการแบ่งอย่างเป็นทางการเป็น 6 ภูมิภาค ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ และยังมีการแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งแบบมณฑลเทศาภิบาล
เมื่อเปรียบเทียบกับการแบ่งแบบจังหวัดของประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคนั้นไม่ได้มีผู้บริหารเหมือนการแบ่งแบบจังหวัด แต่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ สถิติ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และการท่องเที่ยว
ประวัติ
แก้ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 เพื่อกำกับมณฑล โดยมี "อุปราช" เป็นผู้ปกครองภาค ต่อมาได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด
การแบ่งภูมิภาค
แก้การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกันตามหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
การแบ่งอย่างเป็นทางการ
แก้การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478[1] และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่
การแบ่งแบบสี่ภูมิภาค
แก้การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
แก้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว[2] ได้แก่
การแบ่งตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการแบ่งภาคเหนือกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบสี่ภูมิภาค และมีการแบ่งภาคตะวันออกกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบหกภูมิภาค
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แก้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้[3]
|
กรมอุตุนิยมวิทยา
แก้กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา[4] แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันออกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดให้อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก
|
กรมทางหลวง
แก้กรมทางหลวง แบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค ตามลำดับหมายเลขทางหลวง ได้แก่
|
รหัสโทรศัพท์พื้นฐาน
แก้รหัสไปรษณีย์
แก้กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบรหัสไปรษณีย์
การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
แก้แบ่งโดยใช้จำนวนประชากรในกลุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มโดยให้มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันและ ในแต่ละกลุ่มจะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว
|
กิจการลูกเสือ
แก้
|
การเปรียบเทียบ
แก้จังหวัด | 6 ภูมิภาค (ภูมิศาสตร์) | 4 ภูมิภาค (การเมือง) | 6 ภูมิภาค (อุตุนิยมวิทยา) | 5 ภูมิภาค (การท่องเที่ยว) |
---|---|---|---|---|
อำนาจเจริญ, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เลย, มหาสารคาม, มุกดาหาร, นครพนม, นครราชสีมา, หนองบัวลำภู, หนองคาย, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ยโสธร | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | ตะวันออกเฉียงเหนือ |
เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, น่าน, พะเยา, แพร่, อุตรดิตถ์ | เหนือ | เหนือ | เหนือ | เหนือ |
ตาก | ตะวันตก | |||
สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์ | กลาง | |||
นครสวรรค์ | กลาง | |||
อุทัยธานี,อ่างทอง, ชัยนาท, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, ลพบุรี, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี | กลาง | กลาง | ||
นครนายก | ตะวันออก | |||
ฉะเชิงเทรา, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ระยอง, สระแก้ว, ตราด | ตะวันออก | ตะวันออก | ||
กาญจนบุรี, ราชบุรี | ตะวันตก | กลาง | กลาง | |
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ | ใต้ฝั่งตะวันออก/ใต้ฝั่งอ่าวไทย | |||
ชุมพร, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ยะลา | ใต้ | ใต้ | ใต้ | |
กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, ตรัง | ใต้ฝั่งตะวันตก/ใต้ฝั่งอันดามัน |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Mundus. Wissenschaftliche Verlagsgesellschaft. 1981. p. 65. สืบค้นเมื่อ 17 January 2012.
- ↑ "Thailand travel guide, destinations and maps". TAT website. Tourism Authority of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
- ↑ "การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
- ↑ "สภาพอากาศประเทศไทย". TMD website. Thai Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 25 January 2012.