ทิวเขาขุนตาน เป็นเป็นชื่อของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นทิวเขาที่มีระบบภูเขาเชื่อมต่อกับทิวเขาแดนลาว และเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาชาน แต่วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ขนานกับทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาอินทนนท์

ทิวเขาขุนตาน
ทิวเขาขุนตาล[1]
ภาพทิวเขาขุนตานในอำเภอแม่ลาว
จุดสูงสุด
ยอดดอยแม่โถ
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,031 เมตร (6,663 ฟุต)
พิกัด19°05′00″N 99°20′30″E / 19.08333°N 99.34167°E / 19.08333; 99.34167
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว260 กม. (162 ไมล์) N/S
กว้าง50 กม. (31 ไมล์) E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่แสดงที่ตั้งทิวเขาขุนตาน (เน้นสีเขียว) โดยพื้นที่สีเขียวอ่อนคือขอบเขตของกลุ่มภูเขาชาน-ไทยตะวันตก
ประเทศไทย
เทือกเขาทิวเขาผีปันน้ำ
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคไทรแอสซิก
ประเภทหินหินแกรนิต, หินฟิลไลต์, หินดินดาน และ หินปูน

"ขุนตาน" เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อดอยสูงสุดของทิวนี้ คือยอดดอยขุนตาล[2] (สะกดด้วย ล) ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

ตัวสะกดชื่อ

แก้

สำหรับการสะกดชื่อนั้น เดิมชื่อสถานที่ในบริเวณนี้ทั้งหมดสะกดว่า ขุนตาน (ใช้ สะกด) โดย ตาน ในภาษาล้านนาแปลว่าการให้ทาน ขุนตาน จึงแปลว่า "ขุนผู้โอยทาน" หรือ "เจ้าเมืองผู้ใจบุญสุนทาน" นอกจากนี้ ขุนตานยังเป็นพระนามเดิมของพระยาเบิก อดีตเจ้าผู้ครองนครลำปางอีกด้วย แต่ต่อมาปรากฏว่าในแผนที่ของกรมแผนที่ทหารเขียนเป็น ขุนตาล (ใช้ สะกด) (ตาล เป็นคำภาษาไทย แปลว่า "ต้นตาล") ซึ่งทางราชการก็ได้ยึดถือกันให้ใช้ตามนั้นในชื่อสถานที่ที่ตั้งขึ้นในภายหลังว่า ขุนตาล เช่น อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล (ซึ่งจัดตั้งเป็นอุทยานหลังการใช้ ล สะกด) ส่งผลให้ชื่อยอดดอยซึ่งอยู่ในเขตอุทยานฯ เปลี่ยนเป็น "ดอยขุนตาล" เพราะเดิมทียังสับสนระหว่าง ขุนตาน (ดั้งเดิม) กับ ขุนตาล (แผนที่ทหาร) ต่อมาเมื่อมีประกาศตั้งอุทยานฯ ลงในราชกิจจานุเบกษา ได้บัญญัติให้ใช้ชื่อว่า "ขุนตาล" ชื่อดอยจึงเป็น "ขุนตาล" อย่างถาวร

แต่กระนั้น สถานที่ที่สร้างก่อนหน้า เช่น ศูนย์บริการทางหลวงขุนตาน อุโมงค์ขุนตาน สถานีรถไฟขุนตาน ศาลเจ้าพ่อขุนตาน และในชื่อหมู่บ้านขุนตาน[3] ก็ยังคงใช้ น สะกด รวมถึงชื่อทิวเขาขุนตาน[4] ซึ่งกินพื้นที่กว้างกว่าเขตอุทยานและจัดตั้งมาก่อน แต่ก็อนุโลมให้ใช้ ล สะกดแทนได้

"ขุนตาล" จึงเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติและยอดดอย (ตามแผนที่ทหารและราชกิจจานุเบกษา[ต้องการอ้างอิง]) และ "ขุนตาน" คือชื่อสถานที่ในบริเวณทิวเขาขุนตานที่เหลือทั้งหมด

รูปภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ผศ.นงรัตน์ พยัคฆันตร. ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2528 (ปรับปรุง พ.ศ. 2549)
  2. ดอยขุนตาล (Doi Khun Tan), สำนักอุทยานแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
  4. ผศ.นงรัตน์ พยัคฆันตร. ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2528 (ปรับปรุง พ.ศ. 2549)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

19°05′00″N 99°20′30″E / 19.083333°N 99.341667°E / 19.083333; 99.341667{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้