เทศบาลนครเชียงใหม่
เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 687 กิโลเมตร (427 ไมล์) มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง และตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เขตเทศบาลมีพื้นที่ 40.22 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในแง่ของจำนวนประชากรของเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีประมาณ 130,000 คน[2] นับว่าเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย เทศบาลนครเชียงใหม่ยังเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไทย
เทศบาลนครเชียงใหม่ | |
---|---|
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพมุมกว้างตัวเมืองเชียงใหม่, คูเมืองด้านตะวันออก, วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร, ภาพถ่ายจากดอยสุเทพ, ประตูท่าแพ, รถสี่ล้อแดง และวัดเชียงมั่น | |
สมญา: นครพิงค์ | |
คำขวัญ: นครแห่งวัฒนธรรม เลิศล้ำประเพณีล้านนา เปี่ยมสุขปวงประชา งามล้ำค่านครพิงค์[1] | |
พิกัด: 18°47′43″N 98°59′55″E / 18.79528°N 98.99861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | เมืองเชียงใหม่ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | อัศนี บูรณุปกรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 40.22 ตร.กม. (15.53 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 304 เมตร (997 ฟุต) |
ประชากร (2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 127,240 คน |
• ความหนาแน่น | 3,163.60 คน/ตร.กม. (8,193.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03500102 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานเชียงใหม่ |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 1 ถนนวังสิงห์คำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 |
โทรศัพท์ | 0 5325 9000 |
เว็บไซต์ | cmcity |
ประวัติ
แก้ชื่อของเชียงใหม่หมายความว่า "เมืองใหม่" เนื่องจากเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 1839 แทนเมืองเชียงราย อดีตนครหลวงที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1805[3]: 208–209
เทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458[4] และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478[5] ถือได้ว่าเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของไทย เทศบาลนครเชียงใหม่มีการขยายเขตเทศบาลให้กว้างขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2526[6]
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและลักษณะของชุมชน
แก้เทศบาลนครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก
ชุมชนเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนกลางเชิงดอยสุเทพ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านใจกลางเมืองในแนวเหนือ–ใต้ ส่วนชุมชนดั้งเดิมหรือบริเวณเมืองเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อชุมชนได้พัฒนาให้มีความเจริญขึ้น โดยมีการขยายตัวข้ามแม่น้ำปิงมาทางฝั่งตะวันออก และภายหลังจากที่ได้มีการตัดถนนอ้อมเมือง ชุมชนได้พัฒนาออกไปหลายทิศทางตามเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายสาธารณูปโภค ธุรกิจการพัฒนาที่ดินและที่พักอาศัยได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก สภาพที่แท้จริงของชุมชนเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันไม่ได้คงอยู่แต่เฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปตามบริเวณชานเมืองและชนบทโดยรอบ อย่างเช่น เขตอำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด เป็นต้น
อาณาเขต
แก้เทศบาลนครเชียงใหม่มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสันผีเสื้อ และอำเภอแม่ริม
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองหอย และตำบลป่าแดด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลฟ้าฮ่ามบางส่วน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เทศบาลนครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
- แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
- แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
- แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
- แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร
โดยแขวงนครพิงค์ แขวงเม็งราย และแขวงศรีวิชัย ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ส่วนแขวงกาวิละตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก แต่ละแขวงตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออกของเมืองตามลำดับ ส่วนเขตใจกลางเมือง ซึ่งอยู่ในกำแพงเมือง จะอยู่ในแขวงศรีวิชัยเป็นส่วนใหญ่
แบ่งออกเป็น 97 ชุมชน ดังนี้
แขวงนครพิงค์ | แขวงกาวิละ | แขวงเม็งราย | แขวงศรีวิชัย |
---|---|---|---|
ชุมชนบ้านท่อ | ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา | ชุมชน 5 ธันวา | ชุมชนสวนดอก |
ชุมแม่หยวก | ชุมชนสันนาลุง | ชุมชนแม่ขิง | ชุมชนศรีวิชัย |
ชุมชนเมืองคลัง | ชุมชน 12 สิงหา | ชุมชนศาลาแดง | ชุมชนวัดโลกโมฬี |
ชุมชนศรีมงคล | ชุมชนรถไฟสามัคคี | ชุมชนช้างคลาน | ชุมชนช่างแต้ม |
ชุมชนป่าตัน | ชุมชนไขแก้ว | ชุมชนกำแพงงาม | ชุมชนสามัคคีพัฒนา |
ชุมชนหมู่บ้านเทียมพร | ชุมชนขนส่ง ซอย 9 | ชุมชนวัดศรีปิงเมือง | ชุมชนป่าห้า |
ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า | ชุมชนท่าสะต๋อย | ชุมชนลอยเคราะห์ | ชุมชนเอราวัณซอย 4 |
ชุมชนเชียงมั่น | ชุมชนเมืองสาตรหลวง | ชุมชนชัยมงคลบ้านเม็ง | ชุมชนคูปู่ลูน |
ชุมชนป่าเป่า | ชุมชน ร.7 พัน1 | ชุมชนพวกเปียร่วมใจพัฒนา | ชุมชนแจ่งหัวริน |
ชุมชนล่ามช้าง | ชุมชนเมืองสาตรน้อย | ชุมชนศรัทธาวัดหัวฝาย | ชุมชนอินทนิล |
ชุมชนศรีลานนา | ชุมชนต้นขาม | ชุมชนช้างฆ้อง | ชุมชนทานตะวัน |
ชุมชนป่าแพ่ง-วังสิงห์คำ | ชุมชนศรีสร้อยทรายมูล | ชุมชนวัดพันอ้น | ชุมชนบวกหาด |
ชุมชนเชียงยืน | ชุมชนบบ้านแพะ | ชุมชนระแกง | ชุมชนวัดหมื่นเงินกอง |
ชุมชนหมู่บ้านอุ่นอารี | ชุมชนศรีปันครัว | ชุมชนวัดธาตุคำ | ชุมชนพวกแต้ม |
ชุมชนข่วงสิงห์พัฒนา | ชุมชนหนองประทีป | ชุมชนป่าพร้าวนอก | ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีพัฒนา |
ชุมชนวัดชมพูช้างม่อย | ชุมชนบ้านสันป่าข่อย | ชุมชนทิพย์เนตร | ชุมชนเจดีย์ปล่อง |
ชุมชนวัดเชตวัน | ชุมชนกู่คำ | ชุมชนวัดศรีสุพรรณ | ชุมชนวัดพระเจ้าเม็งรายสามัคคี |
ชุมชนบ้านปิง | ชุมชนบ้านวัดเกต | ชุมชนหมื่นสารบ้านวัวลาย | |
ชุมชนหลิ่งกอก | ชุมชนหนองหอย | ชุมชนฟ้าใหม่พัฒนาราม | |
ชุมชนบ้านเอื้ออาทรป่าตัน | ชุมชนบ้านเด่นสามัคคี | ชุมชนวัดนันทนาราม | |
ชุมชนโชตนา | ชุมชนหนองป่าครั่ง | ชุมชนวัดดาวดึงษ์ | |
ชุมชนหนองเส้ง-ฟ้าฮ่าม | ชุมชนหมื่นตูม | ||
ชุมชนศรัทธาวัดเมืองกาย | ชุมชนทิพย์รัตน์วิลล่า | ||
ชุมชนการเคหะเชียงใหม่ | ชุมชนวัดผ้าขาว | ||
ชุมชนมงฟอร์ตวิลล่า | ชุมชนเชียงใหม่แลนด์ | ||
ชุมชนฟ้าฮ่าม | ชุมชนอินทรนุรักษ์ | ||
ชุมชนการเคหะหนองหอย | ชุมชนทรายมูลเมือง | ||
ชุมชนการเคหะหนองหอย 2 | ชุมชนวัดศรีดอนไชย-เจริญประเทศ | ||
ชุมชนบ้านเด่นพัฒนา | ชุมชนหมู่บ้านเวียงทอง | ||
ชุมชนวัดบ้านฮ่อม |
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครเชียงใหม่ (2504–2533) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 34.1 (93.4) |
37.3 (99.1) |
39.5 (103.1) |
41.3 (106.3) |
41.4 (106.5) |
37.5 (99.5) |
37.5 (99.5) |
36.5 (97.7) |
36.1 (97) |
35.3 (95.5) |
34.5 (94.1) |
33.0 (91.4) |
41.4 (106.5) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 28.9 (84) |
32.2 (90) |
34.9 (94.8) |
36.1 (97) |
34.1 (93.4) |
32.3 (90.1) |
31.7 (89.1) |
31.1 (88) |
31.3 (88.3) |
31.1 (88) |
29.8 (85.6) |
28.3 (82.9) |
31.8 (89.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 20.5 (68.9) |
22.9 (73.2) |
26.4 (79.5) |
28.7 (83.7) |
28.1 (82.6) |
27.3 (81.1) |
27.0 (80.6) |
26.6 (79.9) |
26.5 (79.7) |
25.8 (78.4) |
23.8 (74.8) |
21.0 (69.8) |
25.4 (77.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.7 (56.7) |
14.9 (58.8) |
18.2 (64.8) |
21.8 (71.2) |
23.4 (74.1) |
23.7 (74.7) |
23.6 (74.5) |
23.4 (74.1) |
23.0 (73.4) |
21.8 (71.2) |
19.0 (66.2) |
15.0 (59) |
20.1 (68.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 3.7 (38.7) |
7.3 (45.1) |
10.0 (50) |
15.8 (60.4) |
19.6 (67.3) |
20.0 (68) |
20.5 (68.9) |
20.7 (69.3) |
16.8 (62.2) |
13.3 (55.9) |
6.0 (42.8) |
5.0 (41) |
3.7 (38.7) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 6.9 (0.272) |
4.6 (0.181) |
13.0 (0.512) |
50.1 (1.972) |
158.4 (6.236) |
131.6 (5.181) |
160.8 (6.331) |
236.0 (9.291) |
227.6 (8.961) |
121.9 (4.799) |
52.8 (2.079) |
19.8 (0.78) |
1,183.5 (46.594) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 1 | 1 | 2 | 6 | 15 | 17 | 19 | 21 | 17 | 11 | 6 | 2 | 118 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 282.1 | 276.9 | 279.0 | 270.0 | 266.6 | 180.0 | 155.0 | 142.6 | 174.0 | 223.2 | 234.0 | 257.3 | 2,740.7 |
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[7] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[8], NOAA (extremes)[9] |
สัญลักษณ์
แก้ดวงตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นรูปพระบรมธาตุดอยสุเทพตั้งตระหง่านอยู่บนปุยเมฆ และยังมีพญานาค รวงข้าว และลายดอกประจำยาม ในดวงตราสัญลักษณ์อีกด้วย
- พระบรมธาตุดอยสุเทพ สถานที่ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ที่แห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของพระพุทธศาสนิกชนแสดงถึงการเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคเหนือที่รุ่งเรืองมายาวนานทุกสมัย
- ปุยเมฆ เป็นตัวบ่งบอกลักษณะสภาพอากาศโดยทั่วไปของนครเชียงใหม่ ที่เย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี
- พญานาค ซึ่งตามประวัติความเป็นมานั้น พญานาคถือว่าเป็นผู้ให้น้ำ และในที่นี้หมายถึง แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านนครเชียงใหม่
- รวงข้าว เปรียบดังความอุดมสมบูรณ์ของเมือง ที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีเช่นกัน
ประชากรศาสตร์
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2528 | 150,537 | — |
2532 | 159,279 | +5.8% |
2537 | 170,348 | +6.9% |
2540 | 172,290 | +1.1% |
2543 | 171,712 | −0.3% |
2546 | 158,720 | −7.6% |
2549 | 150,021 | −5.5% |
2552 | 142,970 | −4.7% |
2555 | 135,757 | −5.0% |
2558 | 132,556 | −2.4% |
2561 | 129,536 | −2.3% |
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[2] |
เทศบาลนครเชียงใหม่มีประชากรทั้งหมด 129,536 คน แบ่งเป็น ชาย 60,829 คน หญิง 68,707 คน จำนวนบ้านเรือน 89,238 หลังคาเรือนข้อมูล ณ สิ้นปี 2561[10] ในปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทุก ๆ ด้านของภูมิภาค ทำให้มีประชากรแฝง อพยพมาอาศัยในเทศบาลนครเชียงใหม่ มากกว่า 2.5 ล้านคน[11] และมีประชากรในต่างอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน และอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 250,000 คนต่อวัน[11]
ภาษา
แก้ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้าย ๆ กัน จะแตกต่างกันเฉพาะสำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"
ศาสนา
แก้ประชากรในเทศบาลนครเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ 0.02% และอื่น ๆ 1.14%
ประเพณีและวัฒนธรรม
แก้นครเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
- ปีใหม่เมือง หรือ สงกรานต์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
- ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
- ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
- มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
การศึกษา
แก้ในปี พ.ศ. 2550 เทศบาลนครเชียงใหม่มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง มีจำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 162 ห้อง มีจำนวนครูทั้งสิ้น 273 คน และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,289 คน
|
|
การขนส่ง
แก้นครเชียงใหม่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางบก และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก
ทางถนน
แก้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังนครเชียงใหม่ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท จากนั้นเข้าสู่ถนนพหลโยธินอีกครั้ง ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง แล้วแยกซ้ายใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำพูน เข้าจังหวัดเชียงใหม่ จนถึงเขตเทศบาล
สำหรับการเดินทางในเทศบาลนครจะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง รถตุ๊กตุ๊ก รถโดยสารประจำทาง และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงินเป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัด คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 และสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 (สถานีขนส่งอาเขต)
ส่วนระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiangmai Transit System) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ทางราง
แก้การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิษณุโลก–อุตรดิตถ์–แพร่–ลำปาง–ลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ รวมวันละ 14 ขบวนไป–กลับ และนครสวรรค์–เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวนไป–กลับ มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในนครเชียงใหม่ คือ สถานีรถไฟเชียงใหม่
ทางอากาศ
แก้นครเชียงใหม่มีท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับ 4 ของประเทศรองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ตามลำดับ โดยมีเที่ยวบินไป–กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
สถานที่สำคัญ
แก้- วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
- อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
- อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
- น้ำตกห้วยแก้ว
- น้ำตกวังบัวบาน
- ห้วยตึงเฒ่า
- เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
- พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
- สวนสัตว์เชียงใหม่
เมืองพี่น้อง
แก้- นครอูโอซุ จังหวัดโทยามะ ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2532)[12]
- จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2535)[12]
- นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน (พ.ศ. 2542)[12]
- นครฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ประเทศจีน (พ.ศ. 2551)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลเทศบาล เทศบาลนครเชียงใหม่
- ↑ 2.0 2.1 2.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 30 ตอนที่ 0 ก ลงวันที่ 8 มีนาคม 2456
- ↑ พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๗๘ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478
- ↑ พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บถาวร 2021-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 53 ลงวันที่ 5 เมษายน 2526
- ↑ "30 year Average (1961-1990) - CHIANG MAI". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
- ↑ "Climatological Information for Chiang Mai, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2010-10-28.
- ↑ "Climate Normals for Chiang Mai". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2559 - ท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ 11.0 11.1 RYT9 - บ้านเมือง, ปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยมต้นแบบแก้ปัญหาเมือง
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 39. สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่