โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ตั้งอยู่เลขที่  202 ถนนหมื่นด้ามพร้าคต  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมือง  จังหวัดชียงใหม่  รหัสไปรษณีย์ 50300  053-885591,053-885583 Fax 053-357099

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
The Demonstation School of Chiang Mai Rajabhat University
The Demonstation School of Chiang Mai Rajabhat University
สัญลักษณ์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แบบที่4
ข้อมูล
ชื่ออื่นสาธิต มรชม. / Satit CMRU.
ประเภทรัฐ
คำขวัญเลิศวิชา พลานามัยเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม
สถาปนาเดือนเมษายน พ.ศ. 2522
เขตการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา
สี███ สีม่วง
เว็บไซต์http://www.satitschool.cmru.ac.th

ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เปิดสอนระดับการศึกษาก่อนพื้นฐานและขั้นพื้นฐาน  ตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาล อนุบาล ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6  

(ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ยุติบทบาทลง โดยได้ถ่ายโอนหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

ประวัติ แก้

พ.ศ. 2522 เดือนเมษายน ภาควิชาการอนุบาลศึกษาทดลองเปิดโครงการ “โรงเรียนภาคฤดูร้อน” ที่ตึกสุขศึกษาปัจจุบัน มีนักเรียนเข้าโครงการ 17 คน เป็นบุตร – หลาน ของคณาจารย์ และนักศึกษาองค์การ อคป. นักศึกษาวิชาเอกอนุบาลรุ่นแรก ระดับ ปกศ.สูง ทำหน้าที่ครู และจะดำเนินงานในความดูแลของคณาจารย์ภาควิชา ซึ่งมี อาจารย์มัญชรี บุญนาค เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ อาจารย์ประไพศรี อุณหจักร เป็นรองหัวหน้าภาคฯ อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นเลขานุการภาควิชา และอาจารย์อภิญญา มนูศิลป์ เป็นกรรมการ

พ.ศ. 2524 วิทยาลัยให้หอพักหญิง 1 แก่ภาควิชาการอนุบาลศึกษา เพื่อปรับปรุงเป็นอาคารเรียน ใช้ชื่อใหม่ว่าอาคาร 15 เริ่มเตรียมการจัดห้องเรียนทดลองไว้ 2 ห้อง ห้องหนึ่งเป็นห้องนอน มีห้องน้ำนักเรียนในตัว อีกห้องจัดเป็นห้องสมุด และศูนย์สื่ออาศัยการจัดรูปแบบศูนย์การเรียน โดยมี อาจารย์ลัดดา นีละมณี (ปัจจุบันคือ รศ.ลัดดา นีละมณี) เป็นผู้แนะนำ

พ.ศ. 2526 เปิดห้องเรียนทดลอง 1 ห้อง รับเด็กรุ่นแรก 23 คน วันที่ 26 มิถุนายน มีพิธีเปิดศูนย์เด็กก่อนประถมศึกษา ณ สนามหน้าอาคาร 15 ภาควิชาการอนุบาลศึกษา โดยมีนายพะยอม แก้วกำเนิด อธิบดีกรมการฝึกหัดครูเป็นประธาน

พ.ศ. 2527 เปิดห้องเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ห้อง ยังคงจัดห้องสมุดของเล่นเป็นศูนย์สื่อได้อีก 1 ห้อง ด้วยได้รับทุนสนับสนุนจากกรมการฝึกหัดครู โดยมีหน่วยศึกษานิเทศก์ดูแลโครงการห้องสมุดฯ เพื่อเป็นศูนย์เด็กก่อนประถมศึกษา งานโรงเรียนทดลอง อยู่ในความดูแลของภาควิชาการอนุบาล มีคณาจารย์เป็นกรรมการและเลขานุการภาคฯ โดยมี อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2528 ศูนย์เด็กก่อนประถมศึกษา ขยายรับเป็น 3 ระดับคือ

                               กลุ่มเด็กอายุ 2 ถึง 3 ปี
                               กลุ่มเด็กอายุ 3 ถึง 4 ปี
                               กลุ่มเด็กอายุ 4 ถึง 5 ปี

พ.ศ. 2529 ขยายการรับเด็กเป็น 4 ระดับ คือ

                               กลุ่มเด็กอายุ 2 – 3 ปี เรียก ชั้นเด็กเล็ก
                               กลุ่มเด็กอายุ 3 – 4 ปี เรียก ชั้นเตรียมอนุบาล
                               กลุ่มเด็กอายุ 4 – 5 ปี เรียก ชั้นอนุบาล 1
                               กลุ่มเด็กอายุ 5 – 6 ปี เรียก ชั้นอนุบาล 2

มีอาจารย์เกษลดา มานุจุติ (ปัจจุบันคือ ผศ.พิทยาภรณ์ มานะจุติ) เป็นอาจารย์ใหญ่ เนื่องจากอาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ ลาศึกษาต่อ

พ.ศ. 2530 ยกฐานะเป็นโรงเรียนสาธิต ย้ายงานโรงเรียนจากภาควิชาการอนุบาลไปสังกัดภาควิชาสาธิต คณะครุศาสตร์ ใช้ชื่อโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูเชียงใหม่ คณะวิชาครุศาสตร์ มี ดร.บุลรัตน์ สิทธิพงศ์ เป็นผู้อำนวยการ อาจารย์เกษลดา มานะจุติ เป็นอาจารย์ใหญ่

พ.ศ. 2531 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูเชียงใหม่ (ระดับอนุบาล) บริหารงานโดยคณะกรรมการจากภาควิชาการอนุบาลศึกษา อาจารย์ประไพศรี อุณหจักร หัวหน้าภาควิชาเป็นประธานการบริหาร อาจารย์อภิญญา มนูญศิลป์ เป็นอาจารย์ใหญ่ ขยายห้องเรียนเป็นระดับชั้นเรียนละ 2 ห้อง รวม 8 ห้องเรียน

พ.ศ. 2532 จากสภาพโรงเรียนแออัด จึงของบประมาณสร้างตึกสาธิตฯ จากเจ้าหน้าที่กรมการฝึกหัดครู มาทำการสำรวจสถานที่ และวางแผนงานเกี่ยวกับตึกสาธิตฯ

พ.ศ. 2533 คณาจารย์ภาควิชาการอนุบาลศึกษา ซึ่งเป็นกรรมการบริหารงานโรงเรียนสาธิตฯ ทำโครงการขยายชั้นเรียนไปถึงระดับประถมศึกษา ผ่านกรรมการบริหารคณะวิชาครุศาสตร์ มี รศ.วรรณวดี ม้าลำพอง เป็นหัวหน้าคณะวิชาฯ และวันที่ 12 มีนาคม 2534 รศ.ดร.มังกร ทองสุขดี อธิการบดีลงนามอนุมัติโครงการขยายชั้นเรียน

พ.ศ. 2534 เปิดชั้นเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มี อาจารย์พิมล มัธยมบุรุษ เป็นอาจารย์ใหญ่แผนกประถม ต่อมาอาจารย์พิมล ลาออกจากตำแหน่ง คณะวิชา ครุศาสตร์ จึงให้อาจารย์ถมรัตน์ นันทิทรรภ หัวหน้าภาควิชาสาธิตฯ ปฏิบัติหน้าที่ เป็นอาจารย์ใหญ่แผนกประถมศึกษา และอาจารย์ประไพศรี อุณหจักร เป็นอาจารย์ใหญ่ แผนกอนุบาล

โรงเรียนจัดตั้งโครงการอาหารกลางวันเพื่อโรงเรียนสาธิตฯ จัดตั้งชมรมผู้ปกครอง โรงเรียนสาธิตฯ

พ.ศ. 2535 คณะวิชาครุศาสตร์ ดำเนินการบริหารงานโรงเรียนสาธิตฯ โดยหัวหน้าคณะ และรองหัวหน้าคณะฯ ดำรงตำแหน่งบริหารโรงเรียนสาธิตฯ ตามตำแหน่งคือ ผศ.โกเมน ธีรนรเศรษฐ คณบดี คณะครุศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการ อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ รองคณบดีคณะ ฝ่ายวิชาการ เป็น รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์วีระ คำวิเศษณ์ รองหัวหน้าคณะฝ่ายวางแผน เป็นรองผู้อำนวยการ ฝ่ายแผน อาจารย์ประวัติ พื้นผาสุข รองคณบดีคณะ ฝ่ายบริหารเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ผศ.ถมรัตน์ นันทิทรรภ เลขานุการคณะบริหารงานวิชาการสาธิตระดับประถม

พ.ศ. 2537 ยกฐานะโรงเรียนสาธิตฯ เทียบเท่าคณะวิชาสายงานการบริหาร ขึ้นตรงต่ออธิการบดี ซึ่งแต่งตั้ง รศ.วรรณวดี ม้าลำพอง เป็นผู้อำนวยการ ผศ.สถิตย์ ใจสุนทร เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประไพศรี อุณหจักร เป็นผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และดูแลงานกิจกรรมนักเรียน

14 พ.ย. 2537 ผศ.สมผิว ชื่นตระกูล มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฯ เนื่องจาก รศ.วรรณวดี ม้าลำพอง รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏลำปาง ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2537 คณะกรรมการบริหารโรงเรียนสาธิตฯ ประกอบด้วย อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประไพศรี อุณหจักร เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมนักเรียน อาจารย์ปิยะดา พูลทาจักร เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ

จำนวนนักเรียนปี พ.ศ. 2537 ซึ่งมีอยู่ 8 ระดับ (เด็กเล็ก – ป.4) รวม 610 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 4 ระดับ รวม 345 คน นักเรียนชั้นประถม 4 ระดับ รวม 265 คน

พ.ศ. 2538 มีนักเรียนระดับประถมศึกษา ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่” นำตราพระราชทานสถาบันราชภัฏเชียงใหม่มาเป็นตราประจำโรงเรียน และโรงเรียนรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา “สาธิตราชภัฏสัมพันธ์” ครั้งที่ 4

พ.ศ. 2539 นักเรียนระดับประถมศึกษา มีครบทุกชั้นเรียน คือ ตั้งแต่ ชั้น ป.1 – ป.6 ครบตามโครงการ มีนักเรียนจำนวน 402 คน มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 311 คน รวม 713 คน


พ.ศ. 2540 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีนักเรียนจำนวน 422 คน มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 305 คน รวม 727 คน

พ.ศ. 2541 มีนักเรียนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนจำนวน 461 คน มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 334 คน รวม 795 คน

พ.ศ. 2542 นักเรียนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนจำนวน 486 คน มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 324 คน รวม 810 คน

คณะผู้บริหาร จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผศ.สมผิว ชื่นตระกูล ผู้อำนวยการ น.ส.จินตนา ปัณฑวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ น.ส.ปิยะดา พูลทาจักร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ

บุคลากร จำนวน 41 คน

     ครูประถม จำนวน 16 คน, ครูอนุบาล จำนวน 8 คน,ครูพี่เลี้ยง จำนวน 7 คน
     ธุรการ 2 คน, ภารโรง 2 คน, เจ้าหน้าที่โรงครัว 6 คน

พ.ศ. 2543 มีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 490 คน มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 334 คน รวม 824 คน

คณะผู้บริหารจำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผศ.สมผิว ชื่นตระกูล ผู้อำนวยการ น.ส.จินตนา ปัณฑวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ น.ส.ปิยะดา พูลทาจักร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ

บุคลากร จำนวน 44 คน

   ครูประถม จำนวน 19 คน, ครูอนุบาล จำนวน 8 คน,ครูพี่เลี้ยง จำนวน 8 คน

   สำนักงาน 4 คน, ภารโรง 2 คน, เจ้าหน้าที่โรงครัว 6 คน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฯ เนื่องจาก ผศ.สมผิว ชื่นตระกูล ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ

วันที่ 1 มิถุนายน 2544 อาจารย์จินตนา ปัณฑวงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่

วันที่ 30 กรกฎาคม 2549 – 2551    ผศ.ดร.เรืองเดช    วงศ์หล้า     อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ภายใต้การกำกับและดูแล ของคณบดีคณะครุศาสตร์ ผศ.เพิ่มศักดิ์  สุริยจันทร์ และแต่งตั้งนางวันทนีย์  ชุมชอบ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม ภายใต้การกำกับและดูแล ของคณบดีคณะครุศาสตร์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์   อุดาการ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554  

    พ.ศ. 2558  รศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย   อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  แต่งตั้ง ผศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี เป็น รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558  

   พ.ศ. 2559 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2559 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2559 และในคราวประชุมครั้งที่ 13/2559 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยออกกฎหมายเกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดังนี้

1. ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เรื่อง  การจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2559

2. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วย การบริหารและการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2559

3.ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วย  กองทุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2559

ข้อ 1. ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2559 ไว้ดังต่อไปนี้

1.ให้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นส่วนงานภายในที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chiang Mai Rajabhat University Demontration School

2.การบริหารและการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ว่าด้วยการบริหารและการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

3.ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่อาจให้มีการแบ่งหน่วยงานเป็นฝ่ายโดยให้เป็นหน่วยงานภายในที่มีฐานะเที่ยบเท่างาน และให้จัดทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป

พ.ศ. 2560 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สั่ง ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 มีมติแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยี่ยมลักษณ์  อุดาการ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2560 เป็นต้นไป โดยจะครบวาระการกำรงต่ำแหน่งในวันที่ 19 เมษายน 2564

พ.ศ. 2560 ดร.ถนอม อินทรกำเนิด นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีทำบุญ  อาคารปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย โดยมีรศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และคณะผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมถวายเครื่องจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการในปีการศึกษา 2560 โดยมีผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมงานจำนวนมาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ณ  อาคารปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

ในการนี้ รศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังได้เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 2 อาคาร  ได้แก่อาคารเรียน ขนาด 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นล่าง มีห้องจำนวน 8 ห้อง จัดเป็นห้องเรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาลและอนุบาล 1 จำนวน 4 ห้อง ห้องบอล 1 ห้อง ห้องเกียรติยศ 1 ห้อง ห้องธุรการ 1 ห้อง และ ห้องพยาบาล 1 ห้อง ชั้นบน มีห้องจำนวน 7 ห้อง ประกอบด้วยห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3  จำนวน 4 ห้อง  ห้องสมุด 1 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง และ ห้องศูนย์สื่อ 1 ห้อง นอกจากนี้ยังมีส่วนอาคารโรงอาหาร ขนาด 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นล่าง จัดเป็นห้องอาหารสำหรับเด็ก ชั้นบน  จัดเป็นห้องประชุม โดยจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560

พ.ศ. 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานภายในที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วันที่ 25 มกราคม 2564  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคำสั่ง ที่ 150/2564 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แต่งให้ อาจารย์ ดร.กฤษฎา  บุญชม ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น ผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

วันที่ 9 เมษายน 2564 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคำสั่ง ที่ 24/2564 เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน 2564 แต่งตั้งให้ อาจารย์ ดร.กฤษฎา  บุญชม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยจะครบวาระการกำรงต่ำแหน่งในวันที่ 8 เมษายน 2568

วันที่ 16 เมษายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคำสั่ง ที่ 933/2564 เรื่อง แต่งตั้งรองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สั่ง ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 แต่งตั้งให้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนา  หมื่นแจ่ม เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

2. นางปริยาพร  กองคำ เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไป



ปรัชญาของโรงเรียน

“เข้าใจ มีทักษะปฏิบัติได้ แก้ปัญหาได้ บนพื้นฐานของความดีและความถูกต้อง”

เข้าใจ เป็นความหมายที่กว้าง ตามคำสอนของพ่อ ในการเรียน/ทำงานต่างๆ ต้องมีการทำความเข้าใจ ในเนื้อหาสาระ ในสิ่งที่จะทำ ในองค์กร ในคน ในสภาพแวดล้อมหรือที่เรียกว่าภูมิสังคม ซึ่งการทำความเข้าใจทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับทักษะ ประสบการณ์ ความรู้เดิมที่มี ซึ่งการทำความเข้าใจนั้นต้องมีกระบวนการการเรียนรู้รวมอยู่ด้วย มีทักษะ(Skill) เป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝนจนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการบ่มเพาะ เมื่อมีความรู้มีทักษะ ก็จะสามารถปฏิบัติงานที่มอบหมายได้ หรือถ้าเป็นขั้นประยุกต์ก็จะต้องแก้ปัญหาได้ แต่ต้องดำเนินงานภายใต้เงื่อนไขของความถูกต้องและความดี (คุณธรรม จริยธรรม) ไม่ใช่ทำงานได้แก้ปัญหาได้แบบศรีธนชัย


คติพจน์  ความรู้   คู่คุณธรรม

อุดมการณ์  มุ่งพัฒนาเด็กไทย ให้มีความสุขในการเรียน เป็นเด็กดี และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ


วิสัยทัศน์ (Vision)

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของศาสตร์พระราชา


คำสำคัญ (Keyword)

การจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ที่ต้องบูรณาการ ทั้งคน สถานที่ (ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก) หน่วยงาน เนื้อหาสาระรายวิชาในหลักสูตร

แหล่งเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นที่ ที่ให้เข้าไปศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ และฝีกทักษะความชำนาญ เป็นที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย เป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับบุคคลภายนอก เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ (Teach less learn more)

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่ต้องเสริมให้ผู้เรียนสามารถอ่านเข้าใจ ตีความได้ เขียนอธิบายได้และคิดคำนวณได้ อย่างถูกต้องในวิชาหลัก และทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน เป็นสิ่งที่ต้องถูกปลูกฝัง บ่มเพาะ จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ซึ่งต้องถูกดำเนินการในทุกภาคส่วน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะที่จะนำมาใช้ใน การเรียนรู้ การแก้ปัญหา การทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคต

ศาสตร์พระราชา เป็นองค์ความรู้ แนวคิด ที่ประชาชนคนไทยสามารถน้อมนำมาปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน และจะสามารถขับเคลื่อนประเทศชาติให้มี ความมั่นคง ยั่งยืน ซึ่งจะต้องถูกสอดแทรกใน วิชาหลัก กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21


พันธกิจ (Mission)

1.จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย ให้มีคุณภาพ

2.เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์นักศึกษาวิชาชีพครูและพัฒนานวัตกรรม/งานวิจัยทางการศึกษา

3.ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้านวิชาการ และกระตุ้นให้บุคลากรได้ทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน

4.พัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ระบบการจัดการศึกษา ให้เหมาะสมกับการบรรยากาศการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพ

5.สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายใน ภายนอก ชุมชน ผู้ปกครองในการร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรและกิจกรรมเสริมทักษะ


วัตถุประสงค์

1 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มี ความพร้อมทั้งด้านสติปัญญา สุขภาพกาย สุขภาพจิต คุณสมบัติที่เหมาะสมในแต่ระดับการศึกษาตามเกณฑ์ของหลักสูตรและปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก

2 เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน

3 เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน


อัตลักษณ์

มีวินัย ใฝ่รู้ คิดดี มีทักษะ


เอกลักษณ์

แหล่งเรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพัฒนามนุษย์


ค่านิยมร่วม

เปิดใจ เรียนรู้ ร่วมพัฒนา สู่ความสำเร็จ


ขนาดและที่ตั้ง

ตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่     เลขที่ 202  ถนนช้างเผือก  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 50300

มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

ข้อมูลอาคาร ประกอบด้วย  

อาคารเรียน 2 หลัง

1. อาคารเรียน 5 ชั้น (อาคารประถมศึกษา)

2. อาคารเรียน 2 ชั้น (อาคารปฐมวัย)

อาคารประกอบ 1 หลัง

1.  อาคารห้องสมุด ชั้น 2 จำนวน 1 ห้อง  และ ห้องพระพุทธธรรม ชั้น 2 จำนวน 1 ห้อง

2.  โรงครัว 1 ห้อง


อาคารเรียน 2 ชั้น (อาคารปฐมวัย)

มีพิธีทำบุญอาคาร เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ย้ายเข้ามาเรียนในอาคารปฐมวัยใหม่ เมื่อวันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประกอบด้วย 2 อาคาร ดังนี้

1. อาคารเรียน มีขนาด 2 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นล่าง มีห้องจำนวน 8 ห้อง ได้แก๋

-ห้องเรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาลและอนุบาล 1  จำนวน 4 ห้อง  

-ห้องบอล จำนวน 1 ห้อง

-ห้องเกียรติยศ จำนวน 1 ห้อง

-ห้องธุรการ จำนวน 1 ห้อง

-ห้องพยาบาล  จำนวน 1 ห้อง

ชั้นบน  มีห้องจำนวน 7 ห้อง ได้แก่

-ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3  จำนวน 4 ห้อง

-ห้องสมุด จำนวน 1 ห้อง

-ห้องคอมพิวเตอร์จำนวน 1 ห้อง

-ห้องศูนย์สื่อ จำนวน 1 ห้อง

2. อาคารโรงอาหาร มีขนาด 2 ชั้น ประกอบด้วย

- ชั้นล่าง จัดเป็นห้องอาหารสำหรับเด็ก

- ชั้นบน  จัดเป็นห้องประชุม


ประชากร  เศรษฐกิจ

ในหมู่บ้านช้างเผือก มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ ๕๐๐ หลังคาเรือน ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการ และรับจ้าง เนื่องจากบริเวณโรงเรียนอยู่ใกล้กับตลาด จึงมีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีสถานที่ราชการหลายแห่ง ธนาคาร ฯลฯ

สังคม วัฒนธรรม

สังคมความเป็นอยู่ของประชากรในชุมชน เดิมเป็นครอบครัวใหญ่ อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย อยู่ด้วย ปัจจุบันมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นครอบครัวใหญ่ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ การย้ายครอบครัว มีการทำงานมากขึ้น ทำให้สังคมกลายเป็นครอบครัวเดียว ที่ย้ายจากครอบครัวเล็กๆ มาเช่าอาศัยอยู่ บริเวณใกล้ๆ ตลาดช้างเผือก เป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากการสร้างหอพัก ห้องพักต่างๆ มีมากขึ้นตามลำดับ วัฒนธรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับศาสนาหรือวัด ประชากรดำเนินวัฒนธรรมตามวัด เช่น ประเพณีสำคัญทางศาสนา ที่ทางวัดจัดขึ้น ประชากรในชุมชนให้ความร่วมมือโดยดี


สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นตลาด ร้านค้า ธนาคาร โรงเรียน และศูนย์ราชการต่างๆ


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ที่อยู่ 202 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์ 053-885583   โทรสาร 053-357099


บันทึกข้อมูลโดย มนตรกฤต ญาณวชิรสกุล (เพิ่งเติง)

บุคลากร แก้

คณะผู้บริหาร แก้

ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา บุญชม ผู้อำนวยการ
อ.ปริยาพร กองคำ รองผู้อำนวยการ
ผศ. ดร.สำเนา หมื่นแจ่ม รองผู้อำนวยการ