โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย (อังกฤษ: kawilawittayalai school) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่  3 ของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยูที่เลขที่ 451 ถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เขต 34 [2]

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
Kawila Witayalai School
ที่ตั้ง
451 ถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
ข้อมูล
ชื่ออื่นก.ว. / K.W.C
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล / โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
สถาปนา16 มีนาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
ผู้ก่อตั้งคุณหญิงสวาท รัตนวราห
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1050130987
ผู้อำนวยการนายมงคล กาเหว่า
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
จำนวนนักเรียน1,400 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566) [1]
สี███
เพลงมาร์ชกาวิละ
เพลงมาร์ชกาวิละ (บรรเลง)
ดอกไม้พวงแสด
เว็บไซต์http://www.kwc.ac.th/

ประวัติ แก้

ไฟล์:ป้ายกาวิละ.jpg
ป้ายชื่อโรงเรียนของโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
 
พระพุทธกาวีระโสตถิมหามงคล
 
ธงประจำโรงเรียน

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  ลงวันที่ 16 มีนาคม 2521 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่  ๓ ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินดังกล่าวเดิมเป็นที่ดินของทหารบกจังหวัดเชียงใหม่ นางสวาท  รัตนวราห (ต่อมาเป็นคุณหญิง)  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ได้รับมอบหมายจากกองมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นตัวแทนเจรจาขอที่ดินดังกล่าวจาก พลตรีจวน  วรรณรัตน์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงใหม่ยกที่ดินดังกล่าวให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในปี 2518 เพื่อยืมใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่ 3 กรมสามัญศึกษาได้กำหนดผังโรงเรียนเสนอกรมธนารักษ์ในปี 2519

สำหรับชื่อโรงเรียนนั้นเดิมกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาจะให้เรียกว่า "โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ๒" แต่นางสวาท  รัตนวราห ผู้ดำเนินการติดต่อประสานงาน จนกระทั่งก่อตั้งโรงเรียนเป็นผลสำเร็จ มีความประสงค์จะให้ ครู - อาจารย์ และผู้บริหารชุดแรก มีความภาคภูมิใจในการสร้างโรงเรียนใหม่แห่งนี้ จึงเสนอขอให้ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย" ตามพระนามของพระเจ้ากาวิละ การที่ผู้เสนอชื่อโรงเรียนเลือกเอาพระนามของพระเจ้ากาวิละ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ มาเป็นชื่อโรงเรียนเพราะมีความเห็นว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรได้รับชื่อจากบุคคลสำคัญที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้รับทุนบำรุงจากชาวเชียงใหม่อย่างเต็มภาคภูมิใจ ประกอบกับผู้ที่ยกที่ดินให้คือทหารบกจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในค่ายกาวิละ และได้รับฉันทานุมัติจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ หัวหน้าเจ้านายฝ่ายเหนือด้วย

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย เปิดทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2521 โดยยังไม่ได้งบประมาณใด ๆ ทั้งสิ้น จึงต้องขออาศัยสถานที่เรียนสองแห่ง คือ ชั้น ม.ศ. ๑ จำนวน ๔ ห้องเรียนที่โรงเรียนคำเที่ยงอนุสรณ์ ชั้น ม.๑ จำนวน ๔ ห้องเรียนที่โรงเรียนวัดท่าสะต๋อย

ต่อมาได้รับงบประมาณถมที่ดินเพื่อสร้างถนน อาคารเรียนชั่วคราว 10 ห้องเรียน บ้านพักครู 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง และห้องส้วม 2 หลัง 16 ห้อง เมื่อสร้างเสร็จจึงย้ายนักเรียนทั้งหมดออกมา ณ ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน[3]

การศึกษา แก้

การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3 แก้

มีทั้งสิ้น 18 ห้องเรียน

  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    • 6 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    • 6 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    • 6 ห้องเรียน

การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-6 แก้

มีทั้งสิ้น 21 ห้องเรียน

  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
    • 7 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
    • 7 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    • 7 ห้องเรียน[4]

ที่ตั้งและพื้นที่โรงเรียน แก้

โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ มีโฉนด ๓ ฉบับ รวมเนื้อที่ตามทะเบียน ๖๗ ไร่ ๒ งาน  ๖๗ ตารางวา

  • อาคารเรียน 3 หลัง
  • อาคารหอประชุม -โรงอาหาร 1 หลัง
  • อาคารโรงฝึกงาน 4 หลัง
  • อาคารหอประชุม 1 หลัง
  • สระว่ายน้ำ​ขนาด​ กว้าง​25​ยาว50​เมตร
  • อาคารแนะแนว
  • อาคารพละศึกษา
  • อาคารเกษตรกรรม​
  • อาคารสมาคมศิษย์เก่า​
  • บ้านพักครู 4 หลัง
  • บ้านพักภารโรง 1 หลัง
  • ห้องส้วม 7 หลัง[5]

รายนามผู้อำนวยการ แก้

ลำดับ รายนาม[6] ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 คุณหญิงสวาท รัตนวราห พ.ศ. 2521-2521
2 นางดุษฎี พงศ์ศาสตร์ พ.ศ. 2521-2525
3 นายสาหร่าย แสงทอง พ.ศ. 2526-2530
4 นายประสิทธิ์ แสนไชย พ.ศ. 2530-2532
5 นายอรุณ อาษา พ.ศ. 2532-2535
6 นางพิวัลย์ วิบุลสันติ พ.ศ. 2535-2537
7 นายเขียน แสงหนุ่ม พ.ศ. 2537-2540
8 ดร.มานิตย์ ศรีพิทักษ์ พ.ศ. 2540-2543
9 นายสุรัตน์ เจียตระกูล พ.ศ. 2543-2544
10 นางปรานอม เชื้อศักดาหงษ์ พ.ศ. 2544-2546
11 นายธนกฤต วรรณลังกา พ.ศ. 2546-2548
12 นายชวลิต วิชาศิลป์ พ.ศ. 2548-2553
13 นายอุทัย ขัติวงษ์ พ.ศ. 2554-2562
14 นายมงคล กาเหว่า พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1050130987&Area_CODE=101734[ลิงก์เสีย] จำนวนนักเรียนโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
  2. https://iscps2013.files.wordpress.com/2016/07/e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b88ae0b8b7e0b988e0b8ad-e0b8a3e0b8a3-e0b8a1e0b8b1e0b898e0b8a2e0b8a1.pdf รายชื่อโรงเรียนมาตราฐานสากล โรงเรียนกาวิละวิทยาลัยอยู่ลำดับที่ 418
  3. http://www.kwc.ac.th/data_13383 เก็บถาวร 2017-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
  4. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1050130987&Area_CODE=101734[ลิงก์เสีย] จำนวนห้องเรียนของโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
  5. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_bobec.php?School_ID=1050130987&Area_CODE=101734[ลิงก์เสีย] ข้อมูลอาคารสถานที่โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-13. สืบค้นเมื่อ 2018-02-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้