เทศบาลนครเชียงราย
เชียงราย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในเทศบาลนคร 30 แห่ง ของประเทศไทย เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งเป็นลำดับที่ 3 ของภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลนครลำปาง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและประตูสู่อินโดจีน ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2560 มีประชากรประมาณ 75,000 คน[1] ทำให้เป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ของภาคเหนือ
เทศบาลนครเชียงราย | |
---|---|
ภาพถ่ายทางอากาศเทศบาลนครเชียงราย | |
คำขวัญ: เมืองน่าอยู่ ประตูสู่สากล | |
พิกัด: 19°54′34″N 99°49′39″E / 19.90944°N 99.82750°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงราย |
อำเภอ | เมืองเชียงราย |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | วันชัย จงสุทธานามณี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 60.85 ตร.กม. (23.49 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 390 เมตร (1,280 ฟุต) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 75,890 คน |
• ความหนาแน่น | 1,247.16 คน/ตร.กม. (3,230.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03570102 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครเชียงราย เลขที่ 59 ถนนอุตรกิจ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้เทศบาลนครเชียงราย ตั้งอยู่ เลขที่ 59 ถนนอุตรกิจ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองเชียงรายตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 2 หน้า 2029 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2478 มีพื้นที่ 10.2 ตารางกิโลเมตร และเทศบาลได้ดำเนินการขยายเขตเทศบาลครั้งที่ 2 ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 63 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2498 รามมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.6245 ตารางกิโลเมตร
ต่อมาได้ดำเนินการขยายเขตครั้งที่ 3 ตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอน 115 ลงวันที่ 28 กันยายน 2519 รวมมีพื้นที่ 10.65 ตารางกิโลเมตร และเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538 ที่ผ่านมาได้รับการขยายเขตอีกครั้ง ตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 ทำให้เขตเทศบาลขยายเพิ่มจากเดิมอีก 6 เท่า เป็นมีพื้นที่ทั้งสิ้น 60.85 ตารางกิโลเมตร ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองเชียงรายเป็นเทศบาลนครเชียงราย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีแนวเขตและแผนที่ตามเดิม จัดเป็นเทศบาลนคร อันดับที่สามของภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาลนครลำปาง
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เทศบาลนครเชียงรายตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ระยะทางประมาณ 840 กิโลเมตร มีเนื้อที่จำนวน 60.85 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านดู่และตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลสันทรายและตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลรอบเวียง และ อำเภอเวียงชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลป่าอ้อดอนชัย และตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
สภาพภูมิประเทศ
แก้ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลนครเชียงราย ตั้งอยู่ในที่ราบสูง ระหว่างภูเขา พื้นที่มีลักษณะรูปกะทะ มีแม่น้ำสำคัญคือ น้ำแม่กกและแม่น้ำกรณ์ไหลผ่าน อันเป็นประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมและการเดินเรือสำหรับการท่องเที่ยว
สภาพภูมิอากาศ
แก้ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม รวม 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยตลอดปี 1,593 มิลลิเมตร ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครเชียงราย | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 33.0 (91.4) |
35.3 (95.5) |
39.2 (102.6) |
41.2 (106.2) |
41.2 (106.2) |
37.0 (98.6) |
38.6 (101.5) |
35.6 (96.1) |
37.0 (98.6) |
35.0 (95) |
33.4 (92.1) |
31.6 (88.9) |
41.2 (106.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 27.6 (81.7) |
30.9 (87.6) |
33.5 (92.3) |
34.9 (94.8) |
33.2 (91.8) |
31.7 (89.1) |
30.9 (87.6) |
30.6 (87.1) |
30.6 (87.1) |
29.8 (85.6) |
28.2 (82.8) |
26.5 (79.7) |
30.7 (87.3) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 18.9 (66) |
21.1 (70) |
24.1 (75.4) |
26.8 (80.2) |
27.0 (80.6) |
26.8 (80.2) |
26.4 (79.5) |
26.1 (79) |
25.8 (78.4) |
24.5 (76.1) |
22.0 (71.6) |
18.8 (65.8) |
24.0 (75.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 11.9 (53.4) |
12.9 (55.2) |
15.9 (60.6) |
19.7 (67.5) |
22.0 (71.6) |
22.9 (73.2) |
22.8 (73) |
22.6 (72.7) |
22.0 (71.6) |
20.3 (68.5) |
17.0 (62.6) |
12.8 (55) |
18.6 (65.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 1.5 (34.7) |
6.5 (43.7) |
6.0 (42.8) |
14.3 (57.7) |
18.0 (64.4) |
19.7 (67.5) |
19.0 (66.2) |
19.5 (67.1) |
16.4 (61.5) |
11.0 (51.8) |
5.0 (41) |
2.8 (37) |
1.5 (34.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 12.2 (0.48) |
7.8 (0.307) |
19.1 (0.752) |
89.8 (3.535) |
203.9 (8.028) |
211.2 (8.315) |
308.2 (12.134) |
385.4 (15.173) |
268.4 (10.567) |
142.4 (5.606) |
60.5 (2.382) |
24.6 (0.969) |
1,733.5 (68.248) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 2 | 1 | 3 | 10 | 17 | 19 | 22 | 24 | 18 | 12 | 6 | 3 | 137 |
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[2] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[3], NOAA (extremes only, 1961-1990)[4] |
สัญลักษณ์
แก้พญามังรายมหาราช ทรงประทับบนแท่นที่ประทับ พระหัตถ์ทั้งสองประครองดาบไว้บนพระเพลาทั้งข้างซ้ายและขวา ซึ่งหมายถึง เป็นผู้ก่อตั้งเมืองเชียงราย และรวบรวมชาวไทให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อระงับความทุกข์เข็ญต่าง ๆ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นล้านนา ส่วนด้านข้างทั้งสอบและด้านล่างประดับด้วยลายไทยที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม เป็นการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเชียงราย
การขนส่ง
แก้ทางถนน
แก้นครเชียงรายมีเส้นทางถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินสำคัญ 3 สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือสายเอเชีย จากเชียงรายถึงกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 840 กิโลเมตร, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 จากเชียงรายถึงเชียงใหม่ รวมระยะทาง 182 กิโลเมตร, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ทล.110 เดิม) หรือสาย AH2 จากเชียงรายไปอำเภอแม่สาย นอกจากนี้ยังมีทางหลวงจังหวัดเชื่อมโยงระหว่างตัวเมืองกับอำเภอต่าง ๆ
- ถนนในเทศบาลนครเชียงราย
|
- สะพานข้ามแม่น้ำภายในเขตเทศบาล
1.สะพานข้ามน้ำแม่กก จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
- สะพานซุปเปอร์ไฮเวย์
- สะพานแม่ฟ้าหลวง
- สะพานเฉลิมพระเกียรติ
- สะพานพญามังราย
2.สะพานข้ามแม่น้ำแม่กรณ์ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
- ถนนพหลโยธินสายใน (ถนนพหลโยธินสายเก่า)
- ถนนพหลโยธินสายนอก (ถนนพหลโยธินสายใหม่)
- ถนนศรีเวียง
- ถนนพ่อขุน
ทางราง
แก้ในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงรายยังไม่มีรถไฟผ่าน แต่โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่มายังเชียงราย โดยแยกจากทางรถไฟสายเหนือ ที่สถานีรถไฟเด่นชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานีรถไฟที่ใกล้กับเชียงรายมากที่สุดคือ สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องต่อรถโดยสารประจำทางมาเชียงราย
ทางอากาศ
แก้ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นสนามบินที่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนต่อปี และสามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุด คือ Boeing 747 ปัจจุบันมีสายการบินให้บริการที่ ทชร.จำนวน 12 สายการบิน (ณ 28 พ.ย. 60) แบ่งเป็นเส้นทางภายในประเทศ 6 สายการบิน (สายการบินไลออนแอร์ให้บริการทั้งเส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ) และเส้นทางระหว่างประเทศ 6 สายการบิน โดยเปิดบริการในเส้นทางดังต่อไปนี้ เชียงราย-กรุงเทพมหานคร ไป-กลับ วันละ 25 เที่ยวบิน รวม 50 เที่ยวบิน (แบ่งเป็นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 10 เที่ยวบิน, ท่าอากาศยานดอนเมือง 15 เที่ยวบิน), เชียงราย-หาดใหญ่ วันละ 1 เที่ยวบิน รวม 2 เที่ยวบิน และเชียงราย-ภูเก็ต วันละ 1 เที่ยวบิน รวม 2 เที่ยวบิน รวมถึงเที่ยวบินต่างประเทศไปยังเมือง ฉางซา 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ คุนหมิง, เฉิงตู, สิบสองปันนา เมืองละ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และ ฮ่องกง, เซินเจิ้น เมืองละ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ทางน้ำ
แก้เดินทางโดยล่องจากบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตามน้ำแม่กก ถึงตัวจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ประชากร
แก้ประชากรไทยพื้นราบ
แก้คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในอดีตเรียกว่า ไทยยวน หรือลาวพุงดำ ผู้ชายจะมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ผู้หญิงมีรูปร่างผิวพรรณและหน้าตางดงาม มีภาษาพูดแตกต่างไปจากไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือเฉพาะของตนเอง การแต่งกายพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมทัดดอกไม้ ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมแขนสั้นสีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วหลังคามีไม้ไขว้กันประดับด้วยลวดลาย เรียกว่ากาแล เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ปี่ แน กลอง นาฏศิลป์พื้นบ้านมีการฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ประเพณีที่สำคัญคล้ายไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปเช่นปอยหลวง เรียกขวัญ สืบชะตา เป็นต้น
จำนวนประชากร
แก้ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 70,856 คน (ณ เดือนมีนาคม 2558) แยกเป็นชาย จำนวน 33,773 คน หญิง 37,083 คน จำนวนครอบครัว 20,825 ครอบครัว จำนวนบ้าน 30,706 หลังคาเรือน
การศึกษา
แก้
|
|
|
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- ถนนคนเดิน
- เชียงรายไนท์บาซ่าร์
- วัดพระสิงห์
- วัดพระแก้ว
- วัดพระธาตุดอยจอมทอง
- วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว
- วัดพระธาตุดอยสะเก็น
- วัดศรีบุญเรือง
- วัดเชตุพน (สันโค้งน้อย)
- วัดเชตวัน
- วัดมิ่งเมือง
- วัดกลางเวียง
- สะดือเมืองเชียงราย
- กู่พระเจ้ามังราย
- หาดเชียงราย
- อนุสาวรีย์พ่อขุนมังรายมหาราช
- ศาลากลางจังหวัดเชียงราย หลังเก่า
- หอนาฬิกา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงราย ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "30 year Average (1961-1990) - CHIANG RAI". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
- ↑ "Climatological Normals of Chiang Rai". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
- ↑ "Climate Normals for Chiang Rai". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.