จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈᩬᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ, อักษรไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦵᦋᦲᧁᧈᦘᦱᦉᦱᦺᦑ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ, จื้อจื้อเชิวภาสาไท 12 พันนา; จีน: 西双版纳傣族自治州; ไทใหญ่: သိပ်းသွင်ပၼ်းၼႃး; พม่า: စစ်ဆောင်ပန္နား) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ (จีน: 西傣; พินอิน: Xīdǎi) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของชาวไทลื้อ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองหลวง คือ เมืองเชียงรุ่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่และมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ซึ่งในประเทศจีนเรียกว่า "แม่น้ำหลานชาง"[3]
จังหวัดสิบสองปันนา ສິບສອງພັນນາ | |
---|---|
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา 西双版纳傣族自治州 · စစ်ဆောင်ပန္နား | |
เมืองเชียงรุ่ง | |
ที่ตั้งของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน | |
พิกัด: 22°00′N 100°48′E / 22.000°N 100.800°E | |
ประเทศ | จีน |
มณฑล | ยูนนาน |
รหัส GB/T 2260[1] | 532800 |
เมืองหลวง | เชียงรุ่ง |
หน่วยปกครอง | |
การปกครอง | |
• ประเภท | จังหวัดปกครองตนเอง |
• เลขาธิการ CCP | Zheng Yi |
• ประธานสภาประชาชน | Xu Jiafu |
• ผู้ว่าการ | Dao Wen |
• ประธาน CPPCC | Zhang Xing |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19,700 ตร.กม. (7,600 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2010) | |
• ทั้งหมด | 1,133,515 คน |
• ความหนาแน่น | 58 คน/ตร.กม. (150 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 666100[2] |
รหัสพื้นที่ | +959[2] |
รหัส ISO 3166 | CN-YN-28 |
เว็บไซต์ | www |
"สำนักงานสถิติมณฑลยูนนาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-12. สืบค้นเมื่อ 2018-12-09. "Yunnan Portal". |
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 西双版纳傣族自治州 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 西雙版納傣族自治州 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนเดิม (1) | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 车里 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 車里 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนเดิม (2) | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 允景洪 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 允景洪 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาไทลื้อ | |||||||||||||||
ภาษาไทลื้อ | ᩈᩥ᩠ᨷᩈᩬᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ (síp.sɔ́ŋ.pân.nâː) | ||||||||||||||
ชื่อภาษาฮานี | |||||||||||||||
ภาษาฮานี | Xisual banaq | ||||||||||||||
ชื่อภาษาอาข่า | |||||||||||||||
ภาษาอาข่า | Sǐsǎwpâna |
ในประเทศจีน พื้นที่แห่งนี้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างทางไปจากชาวจีนฮั่น ทั้งประชากร สถาปัตยกรรม ภาษา และวัฒนธรรม ชาวไทลื้อ นั้นมีความคล้ายคลึงกับของชาวไทใหญ่ ชาวไทเขิน และชาวไทยวน เป็นอย่างมาก รวมไปถึงชาวไทยและชาวลาว
นิรุกติศาสตร์
แก้สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา เป็นคำภาษาไทลื้อ มีความหมายว่า "สิบสองเมือง"[4][5] คำว่า "พันนา" เป็นหน่วยการปกครองของคนไทในอดีต ตามหนังสือพงศาวดารโยนก[ต้องการอ้างอิง] ชื่อนี้สอดคล้องกับเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทในอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ถึง พ.ศ. 2488 ซึ่งก็คือสิบสองจุไท
ภูมิประเทศ
แก้เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาว และรัฐฉานของพม่า โดยมีชายแดนยาวถึง 966 กิโลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง
ประวัติ
แก้ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน
สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา (ตามประวัติศาสตร์จีน)[ต้องการอ้างอิง]
การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบใต้คง
สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ (จุ่มกาบหลาบคำ) มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า[2]
เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ่งเป็น สิบสองปันนา และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ่ง จึงเรียกเรียกเมีองแถว ๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา[ต้องการอ้างอิง]
พันนาในอดีตทั้งหมดของสิบสองปันนามีทั้งหมด ดังนี้[ต้องการอ้างอิง]
- เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
- เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
- เมืองลวง เป็น 1 พันนา
- เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
- เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
- เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
- เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
- เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
- เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
- เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
- เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
- เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
- เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา
สมัยหลังราชวงศ์มังราย
แก้หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระเจ้ากาวิละทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทั้งในกำแพงตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธุ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ ดังนั้นจึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง (ไทใหญ่) ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง]
ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ่งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อม ๆ กับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 44 พระองค์ โดยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 44 หรือเจ้าหม่อมคำลือ (刀世勋) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม เจ้าหม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านได้เรียนหนังสือ ในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953 ก่อนที่ จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานจนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้วทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มีแซ่เต๋า (刀) ในสิบสองปันนาก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้
เชิงอรรถ
แก้1.ใต้คง คือเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งโพเต๋อหง หรือในอดีตคือที่ตั้งของ "อาณาจักรหมอกขาวมาวหลวง" หรือชื่อในเอกสารจีนว่า "อาณาจักรหลู่ชวนแสนหวี" ของชาวไทเหนือ
2.เจ้าแสนหวีฟ้าคือตำแหน่งที่ทางราชสำนักจีนพระราชทานให้กับประมุขชนกลุ่มน้อย คำว่าแสนหวี เป็นคำภาษาจีน คำว่า ชวนเว่ย หรือ แซ่นหวี่ (宣慰) แปลว่าผู้ปลอบประโลม
เขตการปกครอง
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2000 | 993,397 | — |
2010 | 1,133,515 | +14.1% |
แหล่งที่มา:[6] |
สิบสองปันนาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น นครระดับอำเภอ 1 แห่ง และอำเภอ 2 แห่ง
แผนที่ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | อักษรจีน | พินอิน | ประชากรทั้งพื้นที่ (คริสต์ทศวรรษ 2000) |
ประชากรทั้งพื้นที่ (คริสต์ทศวรรษ 2010) |
ประชากรเขตเมือง (คริสต์ทศวรรษ 2000) |
ประชากรเขตเมือง (คริสต์ทศวรรษ 2010) |
พื้นที่ (ตร.กม.) | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
นครเชียงรุ่ง | 景洪市 | Jǐnghóng Shì | 443,600 | 519,935 | 138,939 | 205,523 | 7,133 | 73 |
อำเภอเมืองฮาย | 勐海县 | Měnghǎi Xiàn | 314,100 | 331,850 | 34,241 | 94,945 | 5,511 | 60 |
อำเภอเมืองล้า | 勐腊县 | Měnglà Xiàn | 235,700 | 281,730 | 55,632 | 84,625 | 7,056 | 40 |
กลุ่มชาติพันธุ์
แก้จำนวนประชากรแบ่งตามกลุ่มชาติพันธุ์ในสิบสองปันนา จากสำรวจปี ค.ศ. 2000
กลุ่มชาติพันธุ์ | ประชากร (คน) | ร้อยละ |
---|---|---|
ไท (ไทลื้อ, ไทหย่า, ไทเหนือ, ไทยวน, ลาว) | 296,930 | 29.89% |
จีนฮั่น | 289,181 | 29.11% |
อาข่า | 186,067 | 18.73% |
อี๋ | 55,772 | 5.61% |
ลาหู่ | 55,548 | 5.59% |
ปะหล่อง | 36,453 | 3.67% |
จินัว | 20,199 | 2.03% |
เย้า | 18,679 | 1.88% |
ม้ง | 11,037 | 1.11% |
ไป๋ | 5,931 | 0.6 | %
จิ่งเผาะ | 5,640 | 0.57% |
หุย | 3,911 | 0.39% |
ว้า | 3,112 | 0.31% |
จ้วง | 2,130 | 0.21% |
อื่น ๆ | 2,807 | 0.3 | %
อ้างอิง
แก้- ↑ 行政区划代码. 中华人民共和国国家统计局. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
- ↑ 2.0 2.1 "Area Code and Postal Code in Yunnan Province". China National Philatelic Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ Lionel M. Jensen, Timothy B. Weston (2007). China's transformations: the stories beyond the headlines. Rowman & Littlefield. Sandra Teresa Hyde, Ch. 11: Jinghong is a piaocheng or city of prostitution. It provides Han Chinese male tourists with a sex-oriented tourist destination.
- ↑ Davis (2006), Premodern Flows in Postmodern China, p. 106
- ↑ Mette Hansen (1999), "History of Chinese Education in Sipsong Panna", Lessons in Being Chinese: Minority Education and Ethnic Minority in Southwest China, p. 90
- ↑ "CHINA: Administrative Population". Citypopulation.de. 2012-05-12. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2013. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2013. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
วรรณกรรม
แก้- Davis, Sara (2006). "Premodern Flows in Postmodern China: Globalisation and the Sipsongpanna Tais". Centering The Margin: Agency And Narrative In Southeast Asian Borderlands. Berghahn Books. pp. 87–110.
- Giersch, Charles Patterson (2006). Asian Borderlands: The Transformation of Qing China's Yunnan Frontier. Harvard University Press.
- Forbes, Andrew; Henley, David (2011). China's Ancient Tea Horse Road. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN B005DQV7Q2.
- Hsieh, Shih-Chung (July 1989). Ethnic-political adaptation and ethnic change of the Sipsong Panna Dai: an ethnohistorical analysis (PhD). The University of Washington.
- Hansen, Mette Halskov (1999). "Teaching Backwardness or Equality: Chinese State Education Among the Tai in Sipsong Panna". China's National Minority Education: Culture, Schooling, and Development. Routledge. pp. 243–279.
- Hansen, Mette Halskov (2004). "The Challenge of Sipsong Panna in the Southwest: Development, Resources, and Power in a Multiethnic China". Governing China's Multiethnic Frontiers. University of Washington Press. pp. 53–83.
- Sethakul, Ratanaporn (2000). "Tai Lue of Sipsongpanna and Müang Nan in the Nineteenth-Century". Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Curzon Press.
- 云南省编辑委员会 [Yunnan Editors Committee], บ.ก. (2009). 景洪县哈尼族社会调查 [Social Survey of Hani Nationality in Jinghong County]. 哈尼族社会历史调查 [Social History Survey of Hani Nationality]. 民族出版社. ISBN 9787105087754.
{{cite book}}
:|editor=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)