อำเภอเวียงชัย

อำเภอในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

เวียงชัย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในตอนกลางของจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญโดยมีน้ำแม่ลาวไหลผ่านทางทิศตะวันตก และน้ำแม่กกไหลผ่านทางทิศเหนือ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล

อำเภอเวียงชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Chai
คำขวัญ: 
หนองหลวงแหล่งปลา ดอนศิลาผาใหญ่
พระเจ้ากือนาลือไกล เวียงชัยข้าวดี
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงชัย
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงชัย
พิกัด: 19°52′59″N 99°55′59″E / 19.88306°N 99.93306°E / 19.88306; 99.93306
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด258.8 ตร.กม. (99.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด45,726 คน
 • ความหนาแน่น176.69 คน/ตร.กม. (457.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57210
รหัสภูมิศาสตร์5702
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงชัย ถนน กรป. กลาง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย 57210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเวียงชัยตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

พงศาวดารหลายฉบับกล่าวว่า เมื่อราวปี พ.ศ. 1460 พระเจ้าไชยนารายณ์ ได้ทรงสร้างเมืองขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลเมืองชุม เรียกชื่อว่า "เวียงชัยนารายณ์" ต่อมาเมืองได้ร้างไปเนื่องจากภัยสงครามจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปรากฏเรื่องราวในประวัติศาสตร์อีกว่าเมืองร้างแห่งนั้นเรียกว่า ปงเวียงชัย อยู่ห่างจากเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ได้มีผู้คนเริ่มทยอยเข้าไปทำมาหากินตั้งบ้านเรือนอยู่จนกลายเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเวียงชัย ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้าอยู่ในพื้นที่นั้นมากขึ้นจนกระทั่งทางการได้ตั้งเป็นตำบลเรียกว่า ตำบลเวียงชัย

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 อำเภอเมืองเชียงรายได้ดำเนินการขอแยกตำบลเวียงชัย ตำบลทุ่งก่อ และตำบลผางาม ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ให้แบ่งท้องที่ 3 ตำบลดังกล่าวออกจากอำเภอเมืองเชียงรายตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอเวียงชัย ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้ยกฐานะเป็น อำเภอเวียงชัย มื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 จากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศแยกตำบลทุ่งก่อ ตำบลดงมหาวัน ตำบลป่าซางออกจากอำเภอเวียงชัยจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงรุ้ง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้งในเวลาต่อมา ปัจจุบันอำเภอเวียงชัยแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเวียงชัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. เวียงชัย   Wiang Chai 20 4,426 11,187
2. ผางาม   Pha Ngam 15 3,026 9,085
3. เวียงเหนือ   Wiang Nuea 12 2,111 6,633
4. ดอนศิลา   Don Sila 17 3,116 9,841
5. เมืองชุม   Mueang Chum 11 2,388 7,290

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเวียงชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงชัยและตำบลเมืองชุม
  • เทศบาลตำบลเวียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงเหนือทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสิริเวียงชัย ครอบคลุมของพื้นที่ตำบลเวียงชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลเวียงชัย)
  • เทศบาลตำบลดอนศิลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนศิลาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองชุม (นอกเขตเทศบาลตำบลเวียงชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผางาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผางามทั้งตำบล

โรงเรียน แก้

  • โรงเรียนบ้านหนองบัวผาบ่ม
  • โรงเรียนบ้านป่าบง
  • โรงเรียนบ้านดอน
  • โรงเรียนเวียงชัยวิทยาคม
  • โรงเรียนดอนศิลาผางามวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านทุ่งยั้งหัวฝายวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเวียงเดิม
  • โรงเรียนบ้านจอเจริญ
  • โรงเรียนอนุบาลเวียงชัย
  • โรงเรียนดงมะตื๋นเนินสยามวิทยา
  • โรงเรียนบ้านค่ายเจริญ
  • โรงเรียนบ้านเวียงเดิม
  • โรงเรียนบ้านเมืองชุม
  • โรงเรียนเวียงแก้ววิทยา
  • โรงเรียนบ้านศรีเวียง

โรงพยาบาล แก้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร ตั้งอยู่ที่บ้านศรีเวียง ตำบลเวียงชัย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร

โบสถ์คริสต์ แก้

  • คริสตจักรไทยพระกิตติคุณสมบูรณ์ บ้านหลิ่งกุญชร ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรโทกทองสามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรเพนเตคลอส (หรือ บ้านสวน) ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรไชยธรรม (สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย) ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเหนือ ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรเวียงแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านเวียงแก้ว ตำบลเมืองชุม

การคมนาคม แก้

เส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองเชียงรายกับอำเภอเวียงชัย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1233 จากถนนพหลโยธินแยกศรีทรายมูลถึงแยกบ้านด้ายระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1173 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232 จากถนนพหลโยธินที่ห้าแยกพ่อขุนฯ ผ่านสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงรายและตำบลเวียงเหนือ เข้าสู่อำเภอเวียงชัยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร

ทั้งนี้ มีทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญที่เชื่อมต่อเข้ากับอำเภออื่น ๆ อีก ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย