อำเภอเวียงเชียงรุ้ง

อำเภอในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

เวียงเชียงรุ้ง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ในอนาคตจะมีทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของผ่านพื้นที่ โดยมีการบริการรถไฟในพื้นที่ ได้แก่ ป้ายหยุดรถไฟทุ่งก่อ สถานีรถไฟเวียงเชียงรุ้ง ที่เป็นสถานีย่อยสถานีประจำอำเภอ และสถานีรถไฟชุมทางบ้านป่าซาง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายช่วงชุมทางบ้านป่าซาง - เชียงแสน

อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Chiang Rung
คำขวัญ: 
เวียงเก่าเชียงรุ้ง เขาสูงพระบาท ธรรมชาติน้ำตก มรดกล้านนา ประชารื่นรมย์ ชื่นชมคุณธรรม
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
พิกัด: 20°0′42″N 100°3′24″E / 20.01167°N 100.05667°E / 20.01167; 100.05667
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด263.33 ตร.กม. (101.67 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด27,948 คน
 • ความหนาแน่น140.80 คน/ตร.กม. (364.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57350
รหัสภูมิศาสตร์5717
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ถนน กรป. กลาง ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย 57210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง อ่างเก็บน้ำห้วยดินดำ ดอยพระบาททุ่งก่อ หนองบัวป่าซาง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเวียงเชียงรุ้งตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ท้องที่อำเภอเวียงเชียงรุ้งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเวียงชัย ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลทุ่งก่อ ตำบลดงมหาวัน และตำบลป่าซาง ของอำเภอเวียงชัย ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงรุ้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกันเป็นต้นไป[1] ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอนี้เป็น กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ตามประกาศกระทรวงลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกัน[2]

จากนั้นวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ได้มีการกำหนดเขตหมู่บ้านใหม่ในเขตกิ่งอำเภอ โดยที่ตำบลป่าซาง มี 11 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งก่อ มี 13 หมู่บ้าน และตำบลดงมหาวัน มี 10 หมู่บ้าน รวม 34 หมู่บ้าน[3]

ต่อมาวันที่ 25 กันยายน 2546 ได้แยกบ้านโป่ง หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งก่อ แล้วจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 15 บ้านโป่งพัฒนา[4]

จนกระทั่งในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกันเป็นต้นไป[5] ตามคณะรัฐมนตรีมีความเห็นชอบอนุมัติให้ร่างพระราชกฤษฎีกายกฐานะของกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ด้วย

และเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 บ้านเวียงซางคำ หมู่ที่ 12 ตำบลป่าซาง ได้ขอเปลี่ยนชื่อบ้านป่าซางบุนนาก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ และสถานที่สำคัญคือ วัดป่าซางบุนนาก[6]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเวียงเชียงรุ้งแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[7]
1. ทุ่งก่อ   Thung Ko 15 3,499 10,525
2. ดงมหาวัน   Dong Maha Wan 12 1,850 7,388
3. ป่าซาง   Pa Sang 16 3,046 9,907

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเวียงเชียงรุ้งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านเหล่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งก่อและตำบลดงมหาวัน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งก่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงมหาวัน (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าซางทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงรุ้ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 67. March 22, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอเชียงรุ้ง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (19 ง): 5. March 5, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  3. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
  4. [2]ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง แยกหมู่บ้านโป่ง]
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  6. [3]
  7. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย