สะล้อ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเครื่องดนตรีเครื่องสีพื้นเมืองล้านนา ซึ่งสะล้อมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย และเป็นตัวหลักมักนิยมใช้ขึ้นนำเพลงในวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ เช่น สะล้อ ซอ ซึง สะล้อนั้นมีขนาด 3 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งแต่ละไซต์มีหน้าที่ในการเล่นในวงไม่เหมือนกัน ส่วนมากมักนิยมนิยมเล่นกับ ขลุ่ยล้านนา เพราะ สามารถสื่อเล่าถึงอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องสื่อได้ หรือการสีเลียนเสียงมนุษย์ก็สามารถทำได้ สะล้อเป็นเครื่องดนตรีที่ละเอียดอ่อน เพราะชนิดของพื้นผิวที่วางสะล้อเมื่อเล่นก็มีผลต่อเสียงที่ออกมาทั้งหมด

สะล้อทั่วไป

 ประวัติ

แก้

ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่า สะล้อมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด และในสมัยก่อนการเล่นสะล้อไม่นิยมผสมวงกันเหมือนในปัจจุบัน หากแต่เล่นเดี่ยวไว้ยามว่าง หรือเมื่อไปจีบเกี้ยวสาวตามบ้านต่างๆตามวิถีของล้านนาสมัยก่อน

พัฒนาการของสะล้อตั้งแต่อดีต มีการประดิษฐ์ที่ไม่ปราณีตเท่ากับในปัจจุบัน เพราะเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่สะดวก ในสมัยก่อนจึงมีการขึ้นรูปเพื่อให้สามารถผลิตเสียงได้เท่านั้น แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท ช่าง(ภาษาล้านนาเรียก "สล่า") ผู้ผลิตสะล้อได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต มีการคำนึงถึงองค์ประกอบเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ กังวาล เช่น ชนิดของไม้ ขนาดของกะลา หรือแม้แต่อายุของไม้ เป็นต้น

 โครงสร้างสะล้อ

แก้

โครงสร้างของสะล้อ เรียงจากบนไปล่าง

 
ส่วนประกอบของสะล้อ
  • หัวสะล้อ มีการกลึงเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงน้ำต้น ทรงดาบสะหรีกัญไชย ฯลฯ
  • ช่วงลูกบิด เป็นช่วงที่ยึดลูกบิดเข้ากับตัวสะล้อ
  • ลูกบิด มีหน้าที่ปรับเสียงของสะล้อ
  • รัดอก ไว้รวบสายสะล้อจากลูกบิดให้ใกล้กัน เพื่อให้อำนวยต่อการเล่น
  • ลำตัว ช่วงที่มีไว้ให้มือซ้ายสำหรับกดลงบนสาย เพื่อเล่นเป็นโน้ตต่างๆ
  • สายสะล้อ เป็นสายชนิดเดียวกับสายกีตาร์ มี 2 สายหรือ 3 สาย
  • กะโหลกสะล้อ(กะโหล้ง) เพื่อเป็นทางออกของเสียง
  • หย่อง(ก๊อบสะล้อ) อยู่ชิดกับตาดสะล้อ(อาศัยแรงฝึดและแรงกดจากสายที่ขึงผ่าน)เป็นตัวพาดสายผ่านเพื่อรับการสั่นสะเทือนของสายให้มีเสียง
  • ตาดสะล้อ เป็นไม้แผ่นบางๆ ที่ปิดกะโหลกซอ เป็นตัวรับการสั่นสะเทือนจากสายที่ผ่านหย่อง ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
  • ขาสะล้อ เป็นตัวรับน้ำหนักสะล้อและน้ำหนักมือของผู้เล่น
  • คันชัก(ก๋งสะล้อ) เป็นตัวสีทำให้สายสั่นสะเทือนเพื่อให้เกิดเสียงได้
  • สายหางม้า(สายก๋ง) สมัยก่อนใช้หางม้า แต่ปัจจุบันใช้นิยมไนลอน สัมผัสกับสายสะล้อเวลาสีเพื่อให้เกิดเสียง ต้องใช้ยางสนถูเพื่อให้เกิดความฝึดก่อน

ขนาดของสะล้อ คือ

 สะล้อใหญ่

 สะล้อกลาง

 สะล้อเล็ก

การทำสะล้อ[1]

แก้

การทำสะล้อ 

นับตั้งแต่การเลือกไม้ไปจนถึงผลิตเป็นสะล้อ มีความสำคัญ เพราะให้คุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน นิยมใช้ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ไม้พญางิ้วดำ เป็นต้น กระโหลกเสียงสะล้อ การเลือกใช้กะลามะพร้าว หากเลือกกะลาที่ยังไม่ค่อยแก่นัก เสียงจะออกทุ้ม ๆ[2] หากเลือกกะลาที่แก่ จะให้คุณภาพเสียงที่แกร่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่างผู้ผลิต ส่วนตาดสะล้อเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะการเลือกใช้ไม้ที่มาทำมีผลต่อการสั่นสะเทือนของไม้ส่งผลให้ ความกังวาล ความลึกของเสียง ความดัง ฯลฯ ของตัวเครื่องดนตรี

 การทำสะล้อ ไม่ปรากฏสูตรตายตัว ส่วนใหญ่ทำขึ้นโดยอาศัยเลียนแบบจากของเก่าและประสบการณ์ทางเสียงและรูปลักษณะ แต่พอจะอนุมานขนาดของสะล้อได้จากที่ปรากฏโดยทั่วไปดังนี้ 

- สะล้อใหญ่ หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 5.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 15 นิ้ว

- สะล้อกลาง หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 4.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 13.5 นิ้ว

- สะล้อเล็ก หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 3.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 12 นิ้ว

บทบาทและลีลา[1]

แก้

- สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ำบทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก

- สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก

- สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผน สอดรับกับเสียงซึงและขลุ่ย

การเล่น

แก้

การจับและการถือ

แก้

การเล่นสะล้อจะใช้มือซ้ายจับที่ ตัวสะล้อโดยใช้ช่วงนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รับไว้ การจับต้องผ่อนคลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากจับแบบเกร็งมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อได้ในระยะยาวและคุณภาพเสียงที่ผลิตออกมา ดังนั้นการผ่อนคลายนิ้วและบริหารนิ้วก่อเล่นจึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงด้วย ตั้งสะล้อในด้านหน้าของตัวเองในท่าที่สะดวกที่สุด อาจเอียงซ้ายหรือขวาได้เล็กน้อย แต่ถ้ามากเกิดไปอาจดูไม่เหมาะสม มือขวาจะถือคันชักสะล้อที่ช่วงนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ โดยลักษณะแบบวางลงไป ใช้นิ้วกลางประคองน้ำหนักช่วยนิ้วชี้ นิ้วนางกึ่งดันกึ่งแตะสายสายหางม้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเพราะอาจเกิดอันตรายได้และนิ้วก้อยคีบสายหางม้าไว้ร่วมกับนิ้วนาง หรืออีกวิธีหนึ่งคือเก็บนิ้วก้อยไว้ไม่ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรีระร่างกายของผู้เล่น การลากคันชักสะล้อผ่านสายสะล้อ โดยนำมาวางไว้ที่ด้านบนกะโหลกเสียงให้สายหางม้าสัมผัสกับสายสะล้อ ควรกดน้ำหนักให้พอดี ไม่กดจนเสียงดังครวด เอี๊ยด ๆ (ยกเว้นในเทคนิคพิเศษ) ตรงปลายคันชักและต้นคันชักสะล้อ เวลาสีพยามยามอย่าให้ขึ้นสูงต่ำจนเกินไป ลากให้พอดีเสมอกัน

การกดนิ้วลงบนสายสะล้อ

แก้

ในสะล้อลูก 3 ต่างจากลูกสี่

แก้
สายทุ้ม
แก้

สายเปล่าเป็นโน้ต โด

กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต เร

กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต มี

กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต ฟา

กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต ซอล

สายเอก
แก้

สายเปล่าเป็นโน้ต ซอล

กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต ลา

กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต ที

กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต โด(สูง)

กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต เร(สูง)

ในสะล้อลูก 4

แก้
สายทุ้ม
แก้

สายเปล่าเป็นโน้ต ซอล

กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต ลา

กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต ที

กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต โด

กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต เร

สายเอก
แก้

สายเปล่าเป็นโน้ต โด(สูง)

กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต เร(สูง)

กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต มี(สูง)

กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต ฟา(สูง)

กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต ซอล(สูง)

เทคนิคการเล่น

แก้

การพรมนิ้ว คือการใช้นิ้วของโน้ตถัดไปแตะถี่ ๆ ลงบนสาย เพื่อให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น ในกรณีสายเปล่านิยมใช้นิ้วกลางพรมนิ้ว(โน้ตตัว ที) การพรมนิ้วเป็นเอกลักษณ์ของสะล้อ

การรูดสาย โดยใช้นิ้วที่กดในโน้ตนั้น ๆ รูดขึ้น หรือรูดลงไปโน้ตที่สูงหรือต่ำกว่า เพื่อให้ได้เสียงตามต้องการที่ผู้เล่นต้องการ

การเกี่ยวสาย โดยใช้นิ้วถัดไปของนิ้วที่กดโน้ตนั้น รูดสายข้างล่างขึ้นมาจนถึงโน้ตปัจจุบันที่กด

การขยี้สาย ใช้นิ้วทั้งหมดกดไล่ตั้งแต่นิ้วก้อยขึ้นมาถึงนิ้วชี้ อย่างรวดเร็ว

การสะบัดนิ้ว ใช้นิ้วทั้งหมด(หรือนิ้วกลางและนิ้วชี้)กดและไล่นิ้วสะบัดปล่อยทีละนิ้วขี้นมาอย่างรวดเร็วจนเป็นโน้ตสายเปล่าหรือโน้ตที่ต้องการ

การขยี้คันชัก โดยใช้หนึ่งคันชักกับโน้ตหนึ่งตัว หลาย ๆ โน้ต ติดกันเร็ว ๆ ใช้ในทำนองเพลงที่เร็ว

การส่ายรัวคันชัก คือการเล่นโน้ตหนึ่งตัวโดยสีเข้าออกสั้น ๆ เร็วมากจนเป็นการส่ายรัว เช่น ท่อนแรกของเพลง หมอกมุงเมือง หรือการเล่นสะล้อประยุกต์ดนตรีสากล เป็นต้น

การเล่นเปลี่ยนตัวโน้ต คือการเล่นโดยการใช้ตัวโน้ตอื่นแทนตัวโน้ตจริง ที่ผู้เล่นเห็นว่าเข้ากันและกลืนไปกับทำนองของเพลงนั้น ๆ เช่น จากโน้ต ซทดํ... เปลี่ยนเป็น ดํซทดํ... มฟซ ฟฟฟ... เปลี่ยนเป็น มฟซ ซฟฟ... เป็นต้น ขึ้นอยู่กับทักษะและความชำนาญของผู้เล่นที่จะสร้างสรรค์ออกมา

การเพิ่มโน้ตในทำนอง นิยมเพิ่มในช่วงของตัวโน้ตที่ยาวผู้เล่นจะเพิ่มโน้ตในช่วงนั้นเพื่อเพิ่มความไพเราะให้บทเพลงมากยิ่งขึ้น เช่น ...ลฟลซ ลซ รม...รดรม ซลซม รด... เป็น ...ลฟลซ ลซ รม ซลดํล ซม รดรม ซลซม รด... ...ซดรม รม ซม รดร...ซดรม รม ซม รดร... เป็น ...ซดรม รม ซม รดร ซลซล ดํรํ...ซดรม รม ซม รดร... เป็นต้น

การสีแบบอ่อนหวาน คือการเล่นโดยใช้เทคนิคของคันชัก ในการกดคันชักลากแบบผ่อนเบาหรือหนัก ในทำนองเพลงที่มีความอ่อนหวาน เพื่อเพิ่มอรรถรสในเพลง

การสีแบบมีการยกจังหวะและดุดัน ในทำนองเพลงที่เร็ว เพลงประกอบการฟ้อนผีในความเชื่อสังคมล้านนา หรือเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน เช่น เพลงมอญลำปาง เพลงมวย(ท่อนเร็ว) คือการสีแบบลากยาวปกติสลับกับการสีแบบหยุด รวมไปถึงการลากคันชักที่หนัก(กดสายหางม้าแรงขึ้น)ตามจังหวะเพลงและกลอง

การเลื่อนตำแหน่งนิ้วมือซ้าย การเลื่อนตำแหน่งไปในที่สูงขึ้น หรือต่ำลง จะใช้ทักษะการเล่นสูงพอสมควร โดยจะใช้แรงจากแขนและมือเป็นตัวนำนิ้วไป เพื่อป้องกันการเพื้ยน เช่น เลื่อนสูงขึ้นโดยใช้นิ้วเดิม ใช้นิ้วใหม่นิ้วถัดไปของนิ้วเดิม การเลื่อนต่ำลงด้วยนิ้วเก่า นิ้วใหม่ อาทิเช่น

หากต้องการเลื่อนตำแหน่งลงไปในตำแหน่งใหม่ที่ระดับเสียงสูงขึ้น โดยขณะนั้นใช้นิ้วกลางกดอยู่ ให้ใช้นิ้วชี้เลื่อนลงมา โดยใช้แรงจากมือและแขนเป็นตัวนำ

หากต้องการเลือนตำแหน่งขึ้นไปในตำแหน่งใหม่ที่ระดับเสียงต่ำลง โดยขณะนั้นใช้นิ้วชี้กดอยู่ ให้ใช้นิ้วกลางเลื่อนขึ้นไป โดยใช้แรงจากมือและแขนเป็นตัวนำ เป็นต้น

ทั้งนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเบื้องต้น ผู้เล่นสามารถคิดสร้างสรรค์ได้เพื่อให้เสียงออกมาตามที่ต้องการ

การตั้งสาย

แก้

ในปัจจุบันนิยมเล่นแบบ 2 สาย หลักการตั้งสายจะใช้การนับตัวโน้ตให้ได้หนึ่งห้องเต็มกล่าวคือ หากกดไป 3 ตัวโน้ตบนสายเอกแล้วให้เสียงตัวโน้ตเดียวกัน ก็เป็นลูกสาม หากกดไป 4 ตัวโน้ตบนสายเอกแล้วให้เสียงตัวโน้ตเดียวกัน ก็เป็นลูกสี่ จึงตั้งสายได้ดังนี้

- สะล้อลูก 3 คือ สายเอกเป็น ซอล สายทุ้มเป็น โด(นิยมตั้งกับสะล้อกลาง)

- สะล้อลูก 4 คือ สายเอกเป็น โด สายทุ้มเป็น ซอล(นิยมตั้งกับสะล้อใหญ่และเล็ก)

เพื่อไม่ให้เกิดการชน หรือการแย่งหน้าที่กันเล่นในวง จึงมีระบบการตั้งสายนี้ขึ้นมา และสามารถปรับเปลี่ยนได้หากผู้เล่นต้องการปรับโดยปรับเสียงสลับกันของสะล้อแต่ละขนาด แต่ไม่สามารถปรับเหมือนกันได้เนื่องจากจะไม่เกิดความไพเราะในการเล่นรวมเป็นวง

สะล้อเมืองน่าน[1]

แก้

 สะล้ออีกประเภทหนึ่งได้แก่ สะล้อที่นิยมเล่นในจังหวัดน่านและแพร่ สะล้อดังกล่าวมีลักษณะต่าง ออกไปคือ มีลูก (นม) บังคับเสียงใช้บรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า “พิณ” (อ่านว่า “ปิน”) ประกอบการขับซอ น่าน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ สะล้อที่กล่าวมาทั้งหมดนิยมบรรเลงร่วมในวงสะล้อ-ซึง หรือเรียกกันว่าวง “สะล้อ ซอ ซึง” ซึ่งมีอยู่ ทั่วไปในภาคเหนือตอนบน

 การดูแลรักษาสะล้อ

แก้

ความชื้น

แก้

ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการกลึงและตัด แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น หากมีน้ำซึมออกมาจากผิวไม้ ซึ่งส่งผลเสียต่อคุณภาพเสียงมากและทำให้อายุเครื่องดนตรีน้อยลง และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของสะล้อจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำส่วนอื่น ๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว

อุณหภูมิ

แก้

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะเก็บสะล้ออย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง

การขนเคลื่อนย้าย

แก้

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องสะล้อไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย กระบอกเสียงอาจแตกหัก ควรมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อกันรอยขีดข่วนต่างๆ รวมไปถึงชิ้นส่วนบางอันอาจหักได้

เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายลูกบิดออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆห่อหุ้มไว้เพื่อป้องกันการกระแทก

การบิดตัวของไม้

แก้

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ห้ามเก็บสะล้อโดยมีแรงบีบอัดหรือแรงกดจากภายนอก เพราะอาจทำให้เสียงรูปร่าง ความตรงของเครื่องดนตรีได้ การเก็บควรจะเก็บไว้ในที่ ๆ มีความชื้นน้อย และอุณหภูมิเหมาะสม โดยไม่ควรเก็บไว้ในกล่องหรือวัสดุใดที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เพราะจะส่งผลต่อเนื้อไม้ ความสมบูรณ์ได้ในระยะยาว

การทำความสะอาด

แก้

การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักสะล้อด้วยผ้านุ่ม สะอาด หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร อย่าให้มีคราบยางสนบนตัวสะล้อ ควรเช็ดออก เพราะว่าผงยางสนมีฤทธิ์ไปทำลายเนื้อไม้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรให้มีคราบยางสนเกาะ

คันชัก

แก้

เมื่อเล่นเสร็จแล้วควรเช็ดส่วนที่เป็นไม้ให้สะอาด ระวังอย่าสัมผัสกับส่วนที่เป็นหางม้า เพราะอาจจะไปลบยางสน ทำให้มีความฝึดน้อยลง เมื่อเวลาสีเสียงจะไม่สม่ำเสมอ

อ้างอิง

แก้