อำเภอแม่อาย
แม่อาย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นชายแดนติดกับประเทศพม่ามีแม่น้ำกกเป็นแนวพรมแดน ในอดีตบริเวณนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดิน หากจะเดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงรายจะต้องนั่งเรือหางยาวล่องไปตามแม่น้ำกกใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง กิจกรรมการท่องเที่ยวหลักของคือ การล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งของแม่น้ำกก บริเวณตำบลท่าตอน[1]
อำเภอแม่อาย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mae Ai |
คำขวัญ: เหนือสุดเวียงเชียงใหม่ ยิ่งใหญ่ดอยฟ้าห่มปก แม่น้ำกกแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระธาตุสบฝาง เมืองพระนางมะลิกา เด่นสง่าวัดท่าตอน ลือขจรผลไม้ไทย มากมายหลายเผ่าชน | |
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอแม่อาย | |
พิกัด: 20°1′53″N 99°17′13″E / 20.03139°N 99.28694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 736.701 ตร.กม. (284.442 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 78,692 คน |
• ความหนาแน่น | 106.90 คน/ตร.กม. (276.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50280 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5010 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแม่อาย เลขที่ 55 หมู่ที่ 4 ถนนฝาง-ท่าตอน ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 50280 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอแม่อาย เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอฝาง กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว และตำบลแม่นาวาง ของอำเภอฝาง ได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่อาย[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอแม่อาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3]
- วันที่ 29 สิงหาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว และตำบลแม่นาวาง อำเภอฝาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่อาย[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฝาง
- วันที่ 5 มกราคม 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่อาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่อาย[4]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่อาย อำเภอฝาง เป็น อำเภอแม่อาย[3]
- วันที่ 19 ตุลาคม 2519 ตั้งตำบลสันต้นหมื้อ แยกออกจากตำบลแม่นาวาง[5]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลท่าตอน แยกออกจากตำบลแม่อาย[6]
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลบ้านหลวง แยกออกจากตำบลสันต้นหมื้อ[7]
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลมะลิกา แยกออกจากตำบลแม่อาย[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเแม่อาย เป็นเทศบาลตำบลแม่อาย[9] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอแม่อายตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ จังหวัด และประเทศใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอฝาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอฝาง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอแม่อายแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2566)[10] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566)[10] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | แม่อาย | Mae Ai | 13 | 11,087 | 7,027 4,060 |
(ทต. แม่อาย) (อบต. ดอยลาง) |
2. | แม่สาว | Mae Sao | 16 | 12,461 | 12,461 | (อบต. แม่สาว) |
3. | สันต้นหมื้อ | San Ton Mue | 12 | 6,099 | 6,099 | (อบต. สันต้นหมื้อ) |
4. | แม่นาวาง | Mae Na Wang | 17 | 15,189 | 15,189 | (อบต. แม่นาวาง) |
5. | ท่าตอน | Tha Ton | 15 | 21,786 | 21,786 | (อบต. ท่าตอน) |
6. | บ้านหลวง | Ban Luang | 10 | 7,786 | 7,786 | (อบต. บ้านหลวง) |
7. | มะลิกา | Malika | 10 | 4,284 | 3,408 876 |
(ทต. แม่อาย) (อบต. ดอยลาง) |
รวม | 93 | 78,692 | 10,435 (เทศบาล) 68,257 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอแม่อายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแม่อาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่อายและตำบลมะลิกา
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอยลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่อายและตำบลมะลิกา (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่อาย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสันต้นหมื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันต้นหมื้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหลวงทั้งตำบล
ทรัพยากร
แก้อำเภอแม่อายมีน้ำแม่กกไหลผ่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอแม่อาย
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้ในละครแม่อายสะอื้นทุกเวอร์ชัน (2515, 2547, 2561) ดาวนิล และครอบครัวซึ่งเป็นตัวละครหลักนั้นเกิดที่อำเภอแม่อาย โดยครอบครัวของเธอยังคงอาศัยอยู่ในภูมิลำเนา ส่วนตัวละครดาวนิลได้ย้ายไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร และเนื้อเรื่องบางตอนใช้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง (ไม่ระบุชื่อ) ในอำเภอแม่อายเป็นสถานที่ในการดำเนินเรื่อง
อ้างอิง
แก้- ↑ เที่ยวท่าตอน เหนือสุดของเชียงใหม่
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (80 ง): 2396. August 29, 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. June 28, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่อาย กิ่งอำเภอแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (2 ง): 10–11. January 5, 1971.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฝางและอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (132 ง): 2967–2971. October 19, 1976.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอจอมทอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (142 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-9. August 16, 1979.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (108 ง): 2263–2265. July 15, 1980. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย อำเภอสันป่าตอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 91–107. November 9, 1995.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
- ↑ 10.0 10.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.