โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ (ย่อ: ด.ส.) เดิมเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงชื่อว่า บำรุงกุมารี เปิดสอนพร้อมกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เมื่อ พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) และราษฎรได้แยกโรงเรียนมาตั้งบริเวณคุ้มเจ้าหลวงเชียงราย “พระยารัตนาเขต” (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย ดำรงราษฎร์สงเคราะห์  ปี พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
ละติน: Damrongrat Songkroh School
ข้อมูล
ชื่ออื่นด.ส. (D.S.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนรัฐประจำจังหวัด
คำขวัญบาลี: นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญญูกตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคน)
ก่อตั้ง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476; 90 ปีก่อน (2476-05-17)
ผู้ก่อตั้งพระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส57012002
ผู้อำนวยการว่าที่ร้อยโทณัฐรัชต์ ใหญ่ผา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สีเหลือง-น้ำเงิน
คำขวัญลูกดำรงฯ รักศักดิ์ศรี กิริยาวาจาดี มีน้ำใจ ไหว้งดงาม
เพลงมาร์ชดำรงราษฎร์สงเคราะห์
เว็บไซต์www.damrong.ac.th

ประวัติ แก้

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ก่อตั้งขึ้นโดยพระยาราชเดชดำรง(ผล ศรุตานนท์) เมื่อปีพ.ศ. 2476 เดิมเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง มีชื่อว่า "บำรุงกุมารี" เปิดสอนพร้อมกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เมื่อ พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) และราษฎรได้แยกโรงเรียนมาตั้งบริเวณคุ้มเจ้าหลวงเชียงราย "พระยารัตนาเขต" (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย "ดำรงราษฎร์สงเคราะห์" ปี พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์" ปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

รายนามผู้บริหาร แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางลออง สิโรรส พ.ศ. 2476 - 2478
2 นางหอมหวน สุริยคำ พ.ศ. 2478 - 2505
3 นางปทิน โสภณ พ.ศ. 2505 - 2515
4 นางกาญจนา ทองสวัสดิ์ พ.ศ. 2515 - 2520
5 นางดวงดาว นุกุลการ พ.ศ. 2520 - 2521
6 นางแฉล้ม จำเดิมเผด็จศึก พ.ศ. 2521 - 2524
7 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ พ.ศ. 2524 - 2532
8 นางอรทัย หนองขุ่นสาร พ.ศ. 2532 - 2541
9 นายอุดมศักดิ์ มุนิกานนท์ พ.ศ. 2541 - 2542
10 นายประเสริฐ สุวรรณจิตต์ พ.ศ. 2542 - 2543
11 นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ พ.ศ. 2543 - 2549
12 นายทวีศักดิ์ พิพัฒนาศักดิ์ พ.ศ. 2549 - 2551
13 นางกัลยาณีย์ สินสกุล พ.ศ. 2551 - 2552
14 นายสมบัติ ประมวน พ.ศ. 2552 - 2557
15 นายอดุลย์ นันท์บัญชา พ.ศ. 2557 - 2562
16 นายส่งศักดิ์ เทพดวงแก้ว พ.ศ. 2562 - 2563
17 นายณรงค์ คูร์พิพัฒน์ พ.ศ. 2563 - 2564
18 นายมานัส พรมรินทร์ พ.ศ. 2564 - 2565
19 ว่าที่ร้อยโทณัฐรัชต์ ใหญ่ผา พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อาณาบริเวณ แก้

โรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 2 งาน 49.4 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 10 หลัง เป็นห้องเรียนทั้งหมด 72 ห้อง และห้องปฏิบัติการทางวิชาการ 37 ห้อง อาคารหลักมี ดังต่อไปนี้

• อาคาร 1 (อาคารบำรุงกุมารี)

อาคารเรียนหลังใหม่ 7 ชั้น เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 1 (ภาษาอังกฤษ)

ชั้นสามและชั้นสี่ เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

ชั้นห้าและชั้นหก เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนชั้นมัธยศึกษาปีที่ 6

ชั้นเจ็ด เป็นห้องเรียนนาฏศิลป์ไทย ห้องดนตรีไทย ห้องดนตรีสากล และห้องดาราศาสตร์

• อาคาร 2 (อาคารศรีรัตนาณาเขต)

เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา และห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

• อาคาร 3 (อาคารราชเดชดำรง)

ชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานฝ่ายอำนวยการ สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน สำนักฝ่ายวิชาการ สำนักงานนโยบายและแผนงาน สำนักงานการเงิน และห้องรับรองพิเศษ

ชั้นสอง เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 1 (คอมพิวเตอร์) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์.

ชั้นสาม เป็นห้องสืบค้นข้อมูล (Resource Center) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนทางไกล(ห้องสีม่วง)

ชั้นสี่ เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียน Mini English Program (MEP) จำนวน 3 ห้อง คือ ห้อง ม.1.12, ม.2.12 และ ม.3.12

• อาคาร 4 (อาคารพิทักษ์พงษ์เชียงมั่น)

เป็นที่ตั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

• อาคาร 5 (อาคารพันธุมติรัตนา)

เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศที่ 2 (ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น) ห้องปฏิบัติการ GHP คณิตศาสตร์

• อาคาร 6 (อาคารพระยอดเชียงราย)

เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และดาราศาสตร์

ชั้นล่างเป็นห้องประชุมพงษ์ยอดเพชร

• อาคารพงษ์สารภี

เป็นที่ตั้งห้องประชุมช่อสารภี ห้องสมุด และโรงอาหาร (ใช้เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 6)

• อาคารการงาน

เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ2 ชั้นล่างเป็นห้องการงานและห้องเรียนบัญชี ชั้นบนเป็นห้องวงดุริยางค์

• อาคารศิลปะ

เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษา (ศิลปะ) ที่ทำการชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

• ห้องประชุมศรีดำรง

ใช้เป็นห้องประชุม เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนทุนโครงการอาหารกลางวัน

• เรือนพิพิธภัณฑ์

เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน ชั้นบนจัดเป็นห้องสักการะ พระยารัตนาณาเขต (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) และเป็นห้องดนตรีพื้นเมือง ชั้นล่างเป็นห้องหมอภาษา

• เรือนพยาบาล

เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน เป็นที่ตั้งของห้องพยาบาล

• ศาลาดำรงธรรม

มีพระพุทธรูป ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวดำรง ประดิษฐานอยู่ในศาลา

การศึกษา แก้

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล กับทั้งมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามการจัดการศึกษา ดังนี้

  • ห้องที่ 1-3 : สำหรับนักเรียนในโครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนเหล่านี้จะได้รับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในขั้นสูงเป็นพิเศษกว่าระดับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ห้องที่ 4-8 : จัดการศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ห้องที่ 9 : สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจพิเศษทางภาษาฝรั่งเศส
  • ห้องที่ 10 : สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจพิเศษทางภาษาญี่ปุ่น
  • ห้องที่ 11 : สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจพิเศษทางภาษาจีน
  • ห้องที่ 12 : สำหรับนักเรียนในโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (MEP : Mini English Program) ที่จัดการศึกษาทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย โรงเรียนได้จ้างชาวต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิเป็นครูสอน มีสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ ดังนี้

  • ห้องที่ 1-5 : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยใช้หลักสูตรพิเศษเพื่อการพัฒนาผู้มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยแบ่งโครงการต่างๆ ดังนี้
  • ห้องที่ 1 : โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ห้องเรียนพิเศษ สพฐ.)
  • ห้องที่ 2 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษโครงงาน
  • ห้องที่ 3 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาษาอังกฤษ
  • ห้องที่ 4 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษคอมพิวเตอร์
  • ห้องที่ 5 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • ห้องที่ 6 : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • ห้องที่ 7 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
  • ห้องที่ 8 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย และสังคมศึกษา
  • ห้องที่ 9  : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
  • ห้องที่ 10 และ ห้องที่ 12 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาจีน
  • ห้องที่ 11 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น

การดำเนินโครงการ เริ่มจากคัดกรองนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางสาขาวิชานั้นมารับการศึกษาระดับสูงและรอบด้านเพื่อให้แตกฉานในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยจะมีการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษดังกล่าวตลอดทั้งสามปี และผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการนี้จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองเป็นรายปีจากสภาการศึกษา

การรับบุคคลเข้าศึกษา แก้

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ใช้การสอบคัดเลือก โดยผู้มีสิทธิเข้าศึกษาจะเข้ารับการทดสอบทางวิชาการในสาขาวิชาและตามวัน เวลา และพฤติการณ์ที่โรงเรียนกำหนด เครื่องมือในการทดสอบนั้นโรงเรียนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสำหรับห้องเรียนพิเศษ (ห้องที่ 1-3 และห้องที่ 11-12) ผู้ผ่านการทดสอบยังต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์อีกชั้นหนึ่งด้วย โดยเฉพาะห้องที่ 12 (โครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ : MEP) การสอบสัมภาษณ์จะใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ปกครองจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ด้วย
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา สถานศึกษาดำเนินการสามวิธี ดังต่อไปนี้
    • ห้องที่ 1-12 : ใช้การสอบคัดเลือก ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาสมัครเข้าทดสอบทางวิชาการ เครื่องมือในการทดสอบนั้นโรงเรียนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และเมื่อผ่านการทดสอบตามประกาศของสถานศึกษา และผู้ผ่านการทดสอบเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของโรงเรียนโดยสมบูรณ์
    • นักเรียนเก่าของสถานศึกษา : ใช้วิธีการคัดเลือก โดยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์มีสิทธิยื่นคะแนนเฉลี่ยของการศึกษา (Grade Point Average) ที่ผ่านมาโดยต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิยื่นต่อคณะกรรมการที่โรงเรียนแต่งตั้งเพื่อให้พิจารณาคัดเลือก และต้องระบุแผนการเรียนรู้ที่ตนประสงค์ 3 แผนการเรียนตามลำดับความสนใจมากน้อย เมื่อผ่านการคัดเลือกตามประกาศและเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของโรงเรียนโดยสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ผู้ที่ไม่ผ่านก็มักไปสอบคัดเลือกต่อไป
    • นักเรียนทั่วไป : ใช้วิธีการสอบคัดเลือก ในแต่ละปีมักมีผู้สมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อทั้งระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 จำนวนหลายพันคน แต่สถานศึกษาสามารถรับได้เพียงระดับชั้นละ 470 คนเท่านั้น

การสำเร็จการศึกษา แก้

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

  • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส – ผู้ประกาศข่าวในพระราชสำนัก สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รัตนา จงสุทธนามณี – อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปริม อินทวงศ์ – อดีตวอลเลย์หญิงทีมชาติไทย
  • บัวบาน ผามั่ง – นักกรีฑา ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองพุ่งแหลนในเอเชียนเกมส์ 2006 และซีเกมส์ 3 สมัย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้