วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
วัดเขมาภิรตาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงบูรณปฏิสังขรณ์เป็นวัดหลวงในสมัยอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดบัญชีกฐินหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เดิมเรียกว่า วัดเขมา บางครั้งเรียกว่า "วัดเข็นมา" (คำว่า เขมา มีความหมายว่า ความเกษมสุข ความพ้นจากเครื่องห่วงใย ความปลอดจากกังวลทั้งหลาย)
วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดเขมาภิรตาราม, วัดเขมา |
ที่ตั้ง | เลขที่ 45 ซอยพิบูลสงคราม 3 ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
พระประธาน | มาจากอยุธยา |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระประธาน, พระพุทธอินแปลง, พระนิรันตราย, พระศรีอาริยเมตไตร |
ความพิเศษ | เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ |
เวลาทำการ | ทุกวัน 08.00–17.00 น. |
จุดสนใจ | พระมหาเจดีย์, พระอุโบสถ, พระที่นั่งมูลมณเฑียร, พระตำหนักแดง |
กิจกรรม | งานปิดทองนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ (วันมาฆบูชา) |
การถ่ายภาพ | ไม่ควรใช้แฟลชในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง |
หมายเหตุ | ติดต่อเข้าชมสถานที่สำคัญของวัดได้ที่สำนักงานส่วนกลาง วัดเขมาภิรตาราม 08 1259 5129, 08 9823 7340 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรส (ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอวัดเขมาเป็นวัดสำหรับกฐินในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี จากนั้นได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขมาพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่จากพระราชวังจันทรเกษมที่อยุธยามาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และมีการฉลองใน พ.ศ. 2371 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อฉลองพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี แล้วพระราชทานนามเพิ่มว่า วัดเขมาภิรตาราม
- ลำดับเจ้าอาวาส
รายนามเจ้าอาวาสเท่าที่สืบได้ มีดังนี้[2]
ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระเขมาภิมุขธรรม | พ.ศ. 2397 | พ.ศ. 2406 |
2 | พระเขมาภิมุขธรรม (ศรี ปุณฺณสีโล) | พ.ศ. 2406 | พ.ศ. 2422 |
3 | พระครูเขมาภิมุขธรรม (อิ่ม โกลิโต) | พ.ศ. 2422 | พ.ศ. 2427 |
4 | พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) | พ.ศ. 2427 | พ.ศ. 2433 |
5 | พระครูสถิตธรรมสโมธาน (สอน) | พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2441 |
6 | พระวินัยรักขิต (คง ปญฺญาทีโป) | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2463 |
7 | พระเขมาภิมุขธรรม (นวล ยโส) | พ.ศ. 2464 | พ.ศ. 2477 |
8 | พระเขมาภิมุขธรรม (เกตุ เกสโร) | พ.ศ. 2480 | พ.ศ. 2509 |
9 | พระธรรมรัชมงคล (จับ อุคฺคเสโน) | พ.ศ. 2509 | พ.ศ. 2541 |
10 | พระเทพเมธากรกวี (ละเอียด สลฺเลโข) | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2562 |
11 | พระวชิรเขมคุณ (วิลาศ อคฺควโร) | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า 294
- ↑ ประวัติวัดเขมาภิรตาราม ราชวรวิหาร เมืองนนทบุรี, หน้า 44-48
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°49′18″N 100°30′13″E / 13.82166°N 100.50359°E โครงสถานที่