หมู่บ้านโปรตุเกส
หมู่บ้านโปรตุเกส บ้างเรียก บ้านพุทธเกศ[1] หรือ บ้านดิน ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่อยู่ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2054 โดยอาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำเอเชีย ได้ส่งดูวาร์ตึ ฟือร์นังดึช เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน
Vila Portuguesa | |
ซากวัตถุโบราณหมู่บ้านโปรตุเกส | |
ที่ตั้ง | ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
พิกัด | 14°20′01″N 100°34′28″E / 14.33361°N 100.57444°E |
ประเภท | หมู่บ้าน |
ส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | ดูวาร์ตึ ฟือร์นังดึช |
สร้าง | พ.ศ. 2054 |
ละทิ้ง | พ.ศ. 2310 |
สมัย | อยุธยา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
สภาพ | ซากปรักหักพัง |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
การเปิดให้เข้าชม | ทุกวัน 08.00–18.00 น. |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | โปรตุเกส |
ปัจจุบัน ซากสิ่งก่อสร้างคือโบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์ดอมินิก เป็นโบสถ์ในคณะดอมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อ พ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
โบราณสถานซานเปโตรประกอบไปด้วย ส่วนหน้า เป็นสุสานของชาวคาทอลิกคณะโดมินิกัน; ส่วนกลาง ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง; ส่วนในด้านหลังเและด้านข้าง เป็นที่พักอาศัย มีการค้นพบโบราณวัตถุ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้ว และเครื่องประกอบพิธีทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ[2]นะคะ
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- ปรีดี พิศภูมิวิถี. “จดหมายรุย ดือ อาเราชู (Rui de Araújo) และบันทึกคำสั่ง อัลฟงซู ดือ อัลบูแกร์เกอ (Afonso de Albuquerque) ถึงอันโตนิโย มิรันดา ดือ อาเซเวดู (António Miranda de Azevedo) ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์สยามกับโปรตุเกสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16.” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 1. น. 187-223. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2552.
- พิทยะ ศรีวัฒนสาร. “ชุมชนโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2059-2310.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
- Suthachai Yimprasert. “Portuguese Lançados in Asia in the Sixteenth and Seventeenth Centuries.” PhD diss., Department of Hispanic, Portuguese and Latin American Studies, Faculty of Arts, University of Bristol, 1998.
- Suthachai Yimprasert. “The Portuguese in Siam and Pegu.” Asian Review 13 (1999-2000): 36-59.
- Van Roy, Edward. “The Portuguese in Siam: A Quinquacentenial Retrospect.” Asian Review 20 (2007): 125-164.
อ้างอิง
แก้- ↑ จิราภรณ์ มาตังคะ. "การใช้ภาษาโปรตุเกสและภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา". วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม (23 ธันวาคม 2562): 76
- ↑ https://hilight.kapook.com/view/5425