คลองมหาวงษ์ เป็นคลองที่เชื่อมต่อคลองสำโรงกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยแนวคลองที่โค้งโอบกว้างเช่นนี้จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ "คลองมหาวงษ์"

คลองมหาวงษ์บริเวณวัดมหาวงษ์

ระยะแรกมีแนวขนานกับคลองสำโรงและตื้นเขินหายไป บางส่วนมาปรากฏชัดอีกครั้งบริเวณวัดด่านสำโรงโดยตีโค้งลงทิศใต้ วกมาออกแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือตัวสมุทรปราการเล็กน้อย โดยเมืองสมุทรปราการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองไปคุมการสร้างเมืองสมุทรปราการกว่า 3 ปี บริเวณระหว่างคลองปากน้ำและคลองมหาวงษ์ จึงแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2465[1] เมื่อตอนที่สร้างเมือง มีการกวาดต้อนกลุ่มชาวลาวมาอยู่แถบคลองมหาวงศ์ ภายหลังส่วนใหญ่ย้ายกลับไปนครนายก[2]

วัดวาอารามบริเวณคลองมหาวงษ์ไม่พบหลักฐานที่เก่าจนถึงสมัยอยุธยาชัดเจนนัก[3] มีวัดที่ตั้งอยู่ปากคลองมหาวงษ์คือ วัดมหาวงษ์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2339 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[4] นอกจากนั้นยังมีประตูระบายน้ำคลองมหาวงษ์ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2564

อ้างอิง แก้

  1. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "จากปากน้ำถึงสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
  2. "แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" (PDF). p. 61.[ลิงก์เสีย]
  3. "อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง". ประภัสสร์ ชูวิเชียร. p. 24.
  4. "วัดมหาวงษ์". เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.