อาคารวรรณสรณ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาคารวรรณสรณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 เป็นศูนย์การศึกษาที่ประกอบด้วยโรงเรียนกวดวิชากว่า 20 สถาบัน ร้านอาหาร-ศูนย์อาหาร, ร้านหนังสือ, ศูนย์ทันตกรรมและความงาม เป็นอาคารสูง 18 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีลิฟต์ 4 ตัวเป็นแบบบริการด้านหน้า 3 ตัวและขนของด้านหลัง 1 ตัว มีพื้นที่ใช้สอย 38,614 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ได้กว่า 260 คัน รองรับนักเรียนสูงสุดได้เกือบ 20,000 คนต่อรอบ ซึ่งจะเห็นภาพการมาใช้บริการของนักเรียนและผู้ปกครองในลักษณะเช่นนี้ได้ในทุก ๆ ช่วง วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงปิดภาคการศึกษา
ประวัติของที่ดิน
อาคารวรรณสรณ์ ตั้งอยู่บนที่ดิน 2 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา โฉนด เลขที่ 1167 ผู้ที่เป็นเจ้าของดั้งเดิมคือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ (ล้วน คชนันทน์) ข้าราชบริพารในรัชกาลที่ 6 ครอบครองตั้งแต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นมานิตนเรศร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 ซึ่งบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านเก่าอยู่ 1 หลัง ต่อมาภายหลังทั้งบ้านและที่ดินแปลงนี้ได้ตกเป็นของครอบครัวนายรัชชปาลซิงห์ นารูลาและญาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 และบ้านหลังนี้ยังเคยให้เช่าเป็นที่ตั้งของสถานทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย อยู่ช่วงหนึ่ง ต่อมาได้เกิดปัญหา การแบ่งทรัพย์ที่ดินแปลงนี้จนเป็นความในชั้นศาลได้พิจารณานำทรัพย์ออกขายทอดตลาดผ่านกรมบังคับคดี ในวันที่ 28 ธันวาคม 2548 ซึ่ง นายอนุสรณ์ ศิวะกุล และนางอุไรวรรณ ศิวะกุล เป็นผู้ประมูลได้ เพื่อนำมาสร้าง อาคารวรรณสรณ์ (ในวันรับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สภาพของบ้านทรุดโทรมมากไม่มีหลังคา และพื้นอยู่แล้ว เนื่องจากผู้ครอบครองอยู่เดิมได้รื้อถอนออกไปจนหมด)
การจัดสรรพื้นที่
อาคารมีทั้งหมด 15 ชั้น ประกอบด้วย ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562
- ชั้น B1-B2 ลานจอดรถ
- ชั้น 1: ธนาคารกรุงไทย ร้านสะดวกซื้ออะตอมมินิมาร์ท ร้านอาหารเจฟเฟอร์ ร้านอาหารบาราซะกะราเม็ง ร้านอาหารเชสเตอร์ ร้านของหวานฮอกไกโด มิลค์
- ชั้น 2: ศูนย์อาหารวรรณสรณ์ และ ร้านเครื่องดื่ม
- ชั้น 3: ร้านเครื่องเขียนสมใจ คลินิกทันตกรรม โรงเรียนกวดวิชาบีทีเอ็ส (BTS) และ ร้านกาแฟมอคค่า สเตชัน
- ชั้น 4-15 ศูนย์รวมสถาบันกวดวิชา และร้านค้าอื่น ๆ ประกอบด้วย
- ชั้น 4: สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ (Ondemand) เอเลเวล (A-Level) และ สถาบันกวดวิชาบ้านวิชากร
- ชั้น 5: สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ซุปเค (Sup K Centre), สถาบันกวดวิชาภาษาญี่ปุ่นวี (We Japanese), สถาบันกวดวิชาภาษาจีน หง เหล่าซือ (Hong Laoshi)
- ชั้น 6: ศูนย์ออกกำลังกาย ฟีตดี ฟิตเนส (Fit-D Fitness)
- ชั้น 7: สถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษจิ๊กซอว์ อิงลิช (Jigsaw English), สถาบันสอนภาษาอังกฤษสปีค เอ้าท์ (Speak Out), สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ โอ-พลัส (O-Plus)
- ชั้น 8: สถาบันกวดวิชาไบโอบีม (Bio Beam), ร้านพรินท์โกโกพรินท์ (Go Go Print)
- ชั้น 9: สถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษเอ็นคอนเซ็ปต์ (Enconcept), สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติอินเตอร์พาสส์ (Interpass), สถาบันกวดวิชาโซไซไทย (Soci-Thai), บริษัทแฮปปี้เอ็มพีเอ็ม จำกัด (ห้องประชุมธัชพล กุลบุตร)
- ชั้น 10: ร้านอาหาร, สถาบันกวดวิชาสังคมศึกษาครูป็อป, สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ พรีเมียร์ เพรพ (Premiere Prep), สถาบันสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ทริพเพิ่ล เอ (AAA Thai), ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อในประเทศนิวซีแลนด์ เอ็นแซด สตั้ดดี้ (NZ Study), สถาบันกวดวิชาฟีโนมีโนน
- ชั้น 11: สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ อิกไนท์ บาย ออนดีมานด์ (Ignite by Ondemand) และ เลิร์นนิ่ง ฮับ (Learning Hub), สถาบันอะลีบาบา อีคอมเมิร์ช, สถาบันกวดวิชายูเรก้า (EUREKA)
- ชั้น 12: สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์อรรณพ, สถาบันสอนการแต่งหน้าเอ็สเอ็มเอ เมคอัป อะคาเดมี่ (SMA Make-up Academy), สถาบันกวดวิชาหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ ดิ อิงลิชสตาร์ อะคาเดมี่ (The Englistar Academy) และ แบล็คเฟิร์ด สกูล ออฟ อิงลิช (Blackford School of English)
- ชั้น 12A: สถาบันกวดวิชาแอพพลายด์ ฟิสิกส์ (Applied Physics), สถาบันกวดวิชาไบโอบีม (Bio Beam)
- ชั้น 14-15: สถาบันกวดวิชาวรรณสรณ์ (เคมี อาจารย์อุ๊)
- ชั้น 16 สำนักงานบริษัท
ต่อไปนี้คือสถาบันกวดวิชาที่เคยเปิดทำการภายในอาคารวรรณสรณ์
- ชั้น 4: สถาบันกวดวิชาสมัยวิทยา
- ชั้น 6: สถาบันกวดวิชาสังคมศึกษาและภาษาไทยดาว้องก์ สถาบันกวดวิชาดนตรียามาฮ่า
- ชั้น 8: สถาบันกวดวิชาไอเดียล ฟิสิกส์
- ชั้น 11: สถาบันกวดวิชานีโอ ฟิสิกส์
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับที่ดิน
ที่ดินของอาคารวรรณสรณ์นั้นไม่ใช่วังลักษมีวิลาศของพระนางเธอลักษมีลาวัณ และไม่ใช่สถานที่ที่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ดังที่มีหลายคนเข้าใจผิด[1] จากหลักฐานโฉนดที่ดินระบุชัดเจนว่า จมื่นมานิตย์นเรศร์ (ล้วน คชนันท์น) หรือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ เป็นผู้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่แรกเมื่อปี พ.ศ. 2460 แล้วถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ครอบครองอื่น ๆ หลายครั้ง ในความเป็นจริงนั้น วังลักษมีวิลาศตั้งอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารวรรณสรณ์ ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ (BSC) ที่หัวมุมถนนสี่แยกพญาไทเช่นเดียวกัน ดังมีประวัติอย่างชัดเจนอยู่ในหนังสือ “ประภาคารแห่งอนาคต” ของศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ ซึ่งมีรูปภาพและข้อความปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ [2]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
- อาคารวรรณสรณ์มีชื่อเล่นที่นักเรียนนิยมเรียกกันว่า อุ๊แลนด์ หรือ อุ๊แลนด์ ดินแดนแห่งความรู้ อันมาจากชื่อของอาจารย์อุ๊ (อุไรวรรณ ศิวะกุล) ผู้ก่อตั้งอาคาร[3]
- อาคารวรรณสรณ์มักถูกเลือกเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครโดยมักถูกใช้เป็นฉากหลังของสถาบันกวดวิชา เช่น สถาบันกวดวิชาในภาพยนตร์เรื่องไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ก็ถ่ายทำในอาคารเป็นหลัก