ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

ถนนราชวิถี (อักษรโรมัน: Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง (จุดบรรจบกับถนนราชปรารภกับถนนดินแดง) ในพื้นที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไทและถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนพระรามที่ 6 (ทางแยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (ทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (ทางแยกราชวิถี) เข้าสู่ท้องที่แขวงดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (ทางแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (ทางแยกการเรือน) และถนนสามเสน (ทางแยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล จากนั้นปรับเป็นทางเดียว เปิดให้รถวิ่งได้เฉพาะขาออกเมือง ก่อนปรับเป็นทางคู่อีกครั้งหลังตัดกับถนนขาว จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานกรุงธนเข้าสู่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (ทางแยกบางพลัด) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนสิรินธร และได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 123 ต่อเนื่องจากถนนสิรินธร

ถนนราชวิถี บริเวณด้านหน้าพระราชวังพญาไท เขตราชเทวี

ถนนราชวิถีเดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี)

นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 雙喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี"

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนราชวิถี ทิศทาง: แยกสามเหลี่ยมดินแดง-แยกบางพลัด
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนราชวิถี   (แยกสามเหลี่ยมดินแดง-แยกบางพลัด)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกสามเหลี่ยมดินแดง เชื่อมต่อจาก:   ถนนดินแดง
  ถนนราชปรารภ ไปประตูน้ำ   ถนนอรรถวิมล (ซอยราชวิถี 2) ไปกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
0+546 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   ถนนพญาไท ไปราชเทวี   ถนนพหลโยธิน ไปสะพานควาย
แยกตึกชัย   ถนนพระรามที่ 6 ไปศรีอยุธยา   ถนนพระรามที่ 6 ไปประดิพัทธ์
  ถนนกำแพงเพชร 5 ไปแยกเสาวนี   ถนนกำแพงเพชร 5 ไปแยกสามเสน
ตรงไป: ข้ามทางรถไฟสายเหนือ,ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ,ทางรถไฟสายใต้
สะพานอุภัยเจษฎุทิศ
แยกอุภัยเจษฎุทิศ   ถนนสวรรคโลก ไปแยกเสาวนี   ถนนสวรรคโลก ไปแยกสามเสน
แยกราชวิถี   ถนนพระรามที่ 5 ไปวัดเบญจมบพิตรฯ   ถนนพระรามที่ 5 ไปราชวัตร
แยกอู่ทองใน   ถนนอู่ทอง(ใน) ไปลานพระบรมรูปทรงม้า ไม่มี
ไม่มี   ถนนพิชัย ไปแยกขัตติยานี
แยกการเรือน   ถนนนครราชสีมา ไปแยกอู่ทองนอก   ถนนนครราชสีมา ไปแยกร่วมจิตต์
แยกซังฮี้   ถนนสามเสน ไปเทเวศร์   ถนนสามเสน ไปวชิรพยาบาล
สะพานกรุงธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
แยกบางพลัด   ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปปิ่นเกล้า   ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปสะพานพระราม 7
ตรงไป:     ถนนสิรินธร ไป     ถนนบรมราชชนนี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญบนเส้นทาง

แก้

แนวเส้นทางรถไฟฟ้า

แก้
  1. รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท แนวเส้นทางผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  2. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
  3. รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน, สายสีแดงเข้ม, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ
  4. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกบางพลัด

อ้างอิง

แก้
  • อรณี แน่นหนา, 2002. นามนี้มีที่มา. ประพันธ์สาส์น: กรุงเทพฯ.

13°46′25″N 100°31′08″E / 13.77361°N 100.51889°E / 13.77361; 100.51889