ถนนจรัญสนิทวงศ์

ถนนจรัญสนิทวงศ์ (อักษรโรมัน: Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สี่แยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่ ถนนวงศ์สว่าง

ถนนจรัญสนิทวงศ์
Charansanitwong Road 2019.jpg
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ใกล้แม็คโคร
ทางแยกที่สำคัญ
จากสะพานพระราม 7 ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
 
ถึงถนนรัชดาภิเษก ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างใน พ.ศ. 2555 จากกำหนดเวลาเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2554 แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตมหาอุทกภัย ทำให้ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไป จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการใน พ.ศ. 2563

ถนนจรัญสนิทวงศ์เคยเป็นแหล่งรวมของสำนักงานวงดนตรีลูกทุ่งในช่วง พ.ศ. 2510–2520 ซึ่งเป็นช่วงที่ดนตรีลูกทุ่งกำลังเบ่งบานมากที่สุด เกิดนักร้องลูกทุ่งมากหน้าหลายตาที่ซอยบุปผาสวรรค์ (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 27) เช่น พุ่มพวง ดวงจันทร์, เพลิน พรหมแดน, สังข์ทอง สีใส เป็นต้น[1][2][3] ในอดีตบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ล้อต๊อก, สายัณห์ สัญญา เป็นต้น มักนิยมซื้อบ้านบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์

อนึ่ง ในอดีตถนนจรัญสนิทวงศ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 405 สายป้อมพระจุลจอมเกล้า - วงเวียนท่าพระ - พระราม 6 - รังสิต[4] และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายสามแยกท่าพระ - รังสิต[5] แต่ในภายหลังกรมทางหลวงได้มอบให้อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร

ทางแยกสำคัญ

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ทิศทาง: สะพานพระราม 7–ท่าพระ
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนจรัญสนิทวงศ์ (สะพานพระราม 7–แยกท่าพระ)
นนทบุรี บางกรวย แยกปากทางบางกรวย เชื่อมต่อจาก: สะพานพระราม 7 ไปบรรจบถนนประชาราษฎร์ สาย 1, ถนนวงศ์สว่าง และ   ถนนพิบูลสงคราม
  ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไป อ.บางกรวย, กฟผ. ไม่มี
ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปสถานีรถไฟบางบำหรุ ไม่มี
กรุงเทพมหานคร บางพลัด   ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ไปตลิ่งชัน, บรรจบ  ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)   ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ไปดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง
แยกบางพลัด ถนนสิรินธร ไปตลิ่งชัน, บรรจบ   ถนนบรมราชชนนี ถนนราชวิถี ไปขึ้นสะพานกรุงธน
แยกบรมราชชนนี ถนนบรมราชชนนี ไปตลิ่งชัน, พุทธมณฑล ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปแยกอรุณอมรินทร์, ขึ้นสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
บางกอกน้อย แยกบางขุนนนท์ ถนนบางขุนนนท์ ไปตลิ่งชัน ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ไปวัดสุวรรณาราม
ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปตลิ่งชัน, บรรจบ   ถนนราชพฤกษ์ ถนนสุทธาวาส ไปโรงพยาบาลศิริราช
แยกไฟฉาย ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ไปบรรจบ  ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) ถนนพรานนก ไปแยกพรานนก, โรงพยาบาลศิริราช
บางกอกใหญ่ แยกพาณิชยการธนบุรี ถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ไปบรรจบถนนบางแวก ไม่มี
แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม ไปบางแค ถนนเพชรเกษม ไปวงเวียนใหญ่
ตรงไป: ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกบุคคโล
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

แก้
  1. บุปผาสวรรค์ ชุมชนคนลูกทุ่ง
  2. บุปผาสวรรค์:มองผ่านเลนส์คม โดย... นคร ศรีเพชร
  3. ฉากหนังไทย ซอยบุปผาสวรรค์ ซอยคนลูกทุ่งอันโด่งดังในอดีต เมื่อพ.ศ. 2520
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย. พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1963-06-04.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1966-05-06.
  • กนกวลี ชูชัยยะ พจนานุกรมวิสามานยนามไทย: วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม รชบฑ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๒๕๔๘ หน้า ๒๘)
  • พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงสายบางซ่อน - สะพานพระรามหก - บางกอกน้อย เชื่อมกับทางหลวงสายธนบุรี - นครปฐม พุทธศักราช 2483 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 หน้า 731 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2483

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′09″N 100°29′30″E / 13.769074°N 100.491537°E / 13.769074; 100.491537