หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์
หลวงจรัญสนิทวงศ์(หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นที่มาของชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ ในฝั่งธนบุรี เป็นปลัดกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2489[2] [3]
จรัญ สนิทวงศ์ | |
---|---|
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2440 วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (61 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงเยี่ยม จรัญสนิทวงศ์[1] |
บิดามารดา | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
ท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) |
หลวงจรัญสนิทวงศ์(หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์) เป็นบุตรของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) [4] เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2456 ได้รับทุนของกรมรถไฟหลวง ไปศึกษาต่อในด้านวิศวกรรมโยธา ที่ประเทศอังกฤษจนจบการศึกษา แล้วเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวงเมื่อ พ.ศ. 2465 ในตำแหน่ง นายช่างผู้ช่วยประจำกองก่อสร้างสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตำแหน่งสุดท้ายในกรมรถไฟคือ ผู้อำนวยการราชการฝ่ายการช่างโยธา กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม (วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) จากนั้นจึงโอนไปรับราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่ง อธิบดีกรมโลหะกิจ จนตำแหน่งสุดท้ายเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม [5] ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจรัญสนิทวงศ์ ถือศักดินา ๖๐๐[6] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2465 ท่านได้รับพระราชทานยศ รองอำมาตย์เอก พร้อมกับ หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์ ผู้เป็นพี่ชาย[7] ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2471 ได้รับพระราชทานยศ อำมาตย์ตรี พร้อมกับพี่ชาย[8]
หน้าที่ราชการในกรมรถไฟแผ่นดินสยาม
แก้- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 นายช่างผู้ช่วยประจำกองก่อสร้างสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2469 เป็น นายช่างผู้ช่วยประจำกองบำรุงทางแขวงหัวหิน กรมรถไฟแผ่นดิน
- 01 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็น นายช่างภาคชั้นที่ 2 และดำรงตำแหน่ง นายช่างบำรุงทางแขวงหัวหิน กรมรถไฟแผ่นดิน
- 01 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็น เลื่อนเป็น นายช่างภาคชั้นที่ 1
- 01 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็น ไปประจำกองบำรุงทางและสถานที่ กรมรถไฟหลวง
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็น นายช่างกำกับการกองบำรุงทางและสถานที่ กรมรถไฟหลวง
- 01 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เป็น รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการราชการฝ่ายการช่างโยธา กรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ
- 09 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็น ผู้อำนวยการราชการฝ่ายการช่างโยธา กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เลื่อนเป็น ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ชั้นพิเศษ จนถึง 14 พย.2487 จึงย้ายไปเป็น อธิบดีกรมโลหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม
นามของท่านถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของถนนที่ตัดใหม่โดยกรมทางหลวงในฝั่งธนบุรี เชื่อมถนนเพชรเกษม ตั้งแต่แยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ผ่านเขตบางกอกน้อย ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทางประมาณ 11.4 กิโลเมตร [9] ไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 6 ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เดิมถนนสายนี้กรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อผิดเป็น "จรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2467 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[15]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[16]
- พ.ศ. 2490 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2494 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๘๒ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๑
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/D/058/1230_1.PDF
- ↑ อุดม เชยกีวงศ์. อนุสาวรีย์ (วัด สะพาน คลอง ถนน). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, พ.ศ. 2549. 520 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9948-37-8
- ↑ อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
- ↑ [1]
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๔๙)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า 2592)
- ↑ คำนวณด้วย wikimapia Geotools
- ↑ พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม กนกวลี ชูชัยยะ, ราชบัณฑิตยสถาน, 2544
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๘๐๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๐, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๕, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๔๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๖๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๖, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗