ถนนรัชดาภิเษก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ถนนรัชดาภิเษก (อักษรโรมัน: Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพระ
ถนนรัชดาภิเษก | |
---|---|
ถนนรัชดาภิเษกที่ทางแยกอโศกมนตรี | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 45 กิโลเมตร (28 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2519–ปัจจุบัน |
ประวัติ | ก่อสร้าง พ.ศ. 2519 สมบูรณ์ พ.ศ. 2536 |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ถนนวงแหวนรอบในกรุงเทพมหานคร | |
จาก | สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร |
ถึง | แยกท่าพระ ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร |
ประวัติ
แก้ถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเรื่องพระราชพิธีรัชดาภิเษก (Silver Jubilee) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเป็นครั้งแรก โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิ่มขึ้นเป็นถนนวงแหวนเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 ให้จัดสร้างถนนวงรอบขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 25 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน โดยรัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนวงรอบว่า "ถนนรัชดาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก ณ บริเวณเชิงสะพานกรุงเทพ ตัดกับถนนเจริญกรุงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน บริเวณแนวถนนตัดจากสะพานกรุงเทพผ่านถนนเจริญกรุง และต่อเชื่อมจนครบวงแหวน ปัจจุบันถือเป็นถนนวงแหวนรอบใน โดยมีถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) เป็นถนนวงแหวนรอบนอก ถนนวงแหวนรอบในส่วนที่ 1 เริ่มจากทางแยกท่าพระถึงถนนเพชรบุรี ส่วนที่ 2 จากถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร และเริ่มเปิดใช้ถนนใน พ.ศ. 2519 แม้ว่าจะมีการเปิดใช้ถนน แต่ก็ยังเป็นถนนวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์มากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลก็ดำเนินการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกส่วนที่เหลือเรื่อยมา จนกระทั่งแล้วเสร็จเป็นถนนวงแหวนอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2536
ถนนวงแหวนรอบในรัชดาภิเษกนั้นมิได้สร้างใหม่ขึ้นทั้งหมด บางช่วงเป็นถนนและซอยที่มีอยู่แต่เดิม ได้แก่ ถนนวงศ์สว่าง (ช่วงสะพานพระราม 7 ถึงทางแยกวงศ์สว่าง), ซอยอโศก-ดินแดง (ช่วงทางแยกพระราม 9 ถึงทางแยกอโศก-ถนนเพชรบุรีตัดใหม่), ซอยสุขุมวิท 21 (ซอยอโศก) (ช่วงถนนสุขุมวิททางแยกอโศก-ถนนเพชรบุรีตัดใหม่), ถนนนางลิ้นจี่ตอนปลายหรือถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (ช่วงทางแยกสาธุประดิษฐ์ถึงแยกถนนนางลิ้นจี่), ถนนมไหสวรรย์ (ช่วงทางแยกถนนตกถึงทางแยกมไหสวรรย์) และถนนจรัญสนิทวงศ์ (ช่วงทางแยกท่าพระถึงสะพานพระราม 6)
เมื่อมีการโครงการตัดถนนรัชดาภิเษกจึงเวนคืนที่ดินเพื่อตัดถนนเชื่อมเข้าหากัน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วถนนบางช่วงใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษกแต่บางช่วงยังใช้ชื่อถนนตามเดิม ดังนี้ ถนนวงศ์สว่าง (ช่วงสะพานพระราม 7 ถึงทางแยกวงศ์สว่าง), ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงทางแยกวงศ์สว่างถึงทางแยกพระราม 9), ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงทางแยกพระราม 9 ถึงทางแยกอโศก-เพชรบุรี), ถนนอโศกมนตรี (ช่วงทางแยกอโศกมนตรีถึงทางแยกอโศก-เพชรบุรี), ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงทางแยกอโศกมนตรี-ทางแยกท่าพระ) และถนนจรัญสนิทวงศ์ (ช่วงทางแยกท่าพระถึงสะพานพระราม 6)
ก่อนวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 รัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายต้องการสร้างถนนเศรษฐกิจสายใหม่ทดแทนถนนสีลม ซึ่งแออัดและการจราจรติดขัด จึงมองหาทำเลที่ตั้งใหม่ ซึ่งได้ลงตัวที่ถนนรัชดาภิเษก ช่วงตั้งแต่แยกถนนตกจนถึงแยก ณ ระนอง โดยจัดตั้งเป็นถนนเศรษฐกิจสายใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล ใช้ชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งรัฐบาลได้ลงทุนโครงสร้างพิ้นฐานโดยขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจรไป-กลับ และขุดคลองกลางถนนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
นอกจากนี้ถนนรัชดาภิเษกยังมีถนนอีกส่วนหนึ่ง เชื่อมระหว่างทางแยกพระรามที่ 3-รัชดา (ช่วงใกล้เชิงสะพานพระราม 9) กับทางแยกพระรามที่ 3-รัชดา (ช่วงโรงเรียนนนทรีวิทยา) ถนนนี้เกิดขึ้นจากสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือทางด่วนขั้นที่ 1 ได้สร้างถนนด้านใต้ทางยกระดับเพื่อลดระยะทางของถนนพระรามที่ 3 ซึ่งอ้อมโค้งตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลดระยะทางได้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นถนนเลียบใต้ทางด่วน มีทางขึ้นลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร
อนึ่ง ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงตั้งแต่สะพานคลองน้ำแก้วถึงทางแยกพระราม 9) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตดินแดงกับเขตห้วยขวาง
สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน
แก้- สำนักงานอัยการสูงสุด
- ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลอุทธรณ์
- ศาลแขวงพระนครเหนือ
- ศาลภาษีอากรกลาง
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตจีน
- สถานเอกอัครราชทูตสเปน
- สวนเบญจกิติ
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
แก้ถนนรัชดาภิเษกนี้ยังมีบางส่วนที่เป็นทางวิ่งของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยมีสถานีที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษกทุกช่วงดังนี้
รายชื่อทางแยก
แก้จังหวัด | อำเภอ/เขต | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ถนนรัชดาภิเษก (แยกท่าพระ–แยกมไหสวรรย์) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | บางกอกใหญ่ | แยกท่าพระ | ตรงไป: ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางกอกน้อย | ||||
ถนนเพชรเกษม ไปวงเวียนใหญ่ | ถนนเพชรเกษม ไปบางแค | ||||||
ธนบุรี | แยกตลาดพลู | ถนนเทอดไท ไปแยกบางยี่เรือ | ถนนเทอดไท ไปแยกวุฒากาศ (มะลิทอง) | ||||
แยกรัชดา-ราชพฤกษ์ | ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช | ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนเพชรเกษม | |||||
แยกมไหสวรรย์ | ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปวงเวียนใหญ่ | ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปดาวคะนอง | |||||
ตรงไป: ถนนมไหสวรรย์ ไปแยกถนนตก | |||||||
ถนนมไหสวรรย์ (แยกมไหสวรรย์–แยกถนนตก) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | ธนบุรี | แยกมไหสวรรย์ | เชื่อมต่อจาก: ถนนรัชดาภิเษก จากแยกท่าพระ | ||||
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปวงเวียนใหญ่ | ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปดาวคะนอง | ||||||
แยกบุคคโล | ถนนเจริญนคร ไปคลองสาน | ถนนเจริญนคร ไปราษฎร์บูรณะ | |||||
สะพานกรุงเทพและสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||
บางคอแหลม | แยกถนนตก | ถนนเจริญกรุง ไปสาทร | ถนนเจริญกรุง ไปท่าเรือถนนตก | ||||
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกพระรามที่ 3-รัชดา | |||||||
ถนนพระรามที่ 3 (แยกถนนตก–แยกพระรามที่ 3-รัชดา) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | บางคอแหลม | แยกถนนตก | เชื่อมต่อจาก: ถนนมไหสวรรย์ จากแยกมไหสวรรย์ | ||||
ถนนเจริญกรุง ไปสาทร | ถนนเจริญกรุง ไปท่าเรือถนนตก | ||||||
แยกเจริญราษฎร์ | ถนนเจริญราษฎร์ ไปสาทร | ไม่มี | |||||
ยานนาวา | แยกพระรามที่ 3-รัชดา | ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกใต้ด่วนสาธุประดิษฐ์ | ตรงไป: ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกสาธุประดิษฐ์ | ||||
ถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา–แยกวัดช่องลม) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | ยานนาวา | − | เชื่อมต่อจาก: ถนนพระรามที่ 3 จากแยกถนนตก | ||||
แยกด่วนสาธุประดิษฐ์ | ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปถนนจันทน์ | ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปท่าเรือสาธุประดิษฐ์ | |||||
แยกรัชดา-นราธิวาส | ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสาทร | ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปถนนพระรามที่ 3 | |||||
แยกใต้ด่วนนางลิ้นจี่ | ถนนนางลิ้นจี่ ไปถนนสวนพลู | ถนนนางลิ้นจี่ ไปแยกนางลิ้นจี่ (วัดช่องลม) | |||||
– | ไม่มี | ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกนางลิ้นจี่ (วัดช่องลม) | |||||
ถนนพระรามที่ 3 (แยกถนนรัชดาภิเษก–แยก ณ ระนอง) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | ยานนาวา | สะพาน ข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ | |||||
คลองเตย | แยก ณ ระนอง | ถนนสุนทรโกษา ไปแยกคลองเตย | ถนนสุนทรโกษา ไปแยกศุลกากร | ||||
ไม่มี | ถนน ณ ระนอง ไปวัดคลองเตยใน | ||||||
ตรงไป: ถนนรัชดาภิเษก | |||||||
ถนนรัชดาภิเษก (แยก ณ ระนอง–แยกอโศกมนตรี) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | คลองเตย | แยก ณ ระนอง | เชื่อมต่อจาก: ถนนพระรามที่ 3 | ||||
ถนนสุนทรโกษา ไปแยกคลองเตย | ถนนสุนทรโกษา ไปแยกศุลกากร | ||||||
ไม่มี | ถนน ณ ระนอง ไปวัดคลองเตยใน | ||||||
แยกพระรามที่ 4 | ถนนพระรามที่ 4 ไปวิทยุ | ถนนพระรามที่ 4 ไปพระโขนง | |||||
แยกอโศกมนตรี | ถนนสุขุมวิท ไปเพลินจิต | ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย | |||||
ตรงไป: ถนนอโศกมนตรี ไปแยกอโศก-เพชรบุรี | |||||||
ถนนอโศกมนตรี (แยกอโศกมนตรี–แยกอโศก-เพชรบุรี) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | คลองเตย | แยกอโศกมนตรี | เชื่อมต่อจาก: ถนนรัชดาภิเษก จากแยก ณ ระนอง | ||||
ถนนสุขุมวิท ไปเพลินจิต | ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย | ||||||
วัฒนา | แยกสุขุมวิท 21 ซอย 1 | ซอยสุขุมวิท 21 ซอย 1 | ซอยแยกไปซอยสุขุมวิท 23 | ||||
ราชเทวี | แยกอโศก-เพชรบุรี | ถนนเพชรบุรี ไปประตูน้ำ | ถนนเพชรบุรี ไปคลองตัน | ||||
ตรงไป: ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงแยกอโศก-เพชรบุรี ถึง แยกพระราม 9) ไปแยกพระราม 9 | |||||||
ถนนอโศก-ดินแดง (แยกอโศก-เพชรบุรี–แยกพระราม 9) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | ราชเทวี | แยกอโศก-เพชรบุรี | เชื่อมต่อจาก: ถนนอโศกมนตรี จากแยกอโศกมนตรี | ||||
ถนนเพชรบุรี ไปประตูน้ำ | ถนนเพชรบุรี ไปคลองตัน | ||||||
แยกด่วนอโศก | ถนนจตุรทิศ ไปถนนราชปรารภ | ถนนจตุรทิศ ไปถนนพระราม 9 | |||||
ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง | ทางพิเศษศรีรัช ไปศรีนครินทร์ | ||||||
ดินแดง | แยกพระราม 9 | ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงแยกพระราม 9 ถึง แยกประชาสงเคราะห์) ไปดินแดง | ถนนพระราม 9 ไปรามคำแหง | ||||
ตรงไป: ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกวงศ์สว่าง | |||||||
ถนนรัชดาภิเษก (แยกพระราม 9–แยกวงศ์สว่าง) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | ดินแดง | แยกพระราม 9 | เชื่อมต่อจาก: ถนนอโศก-ดินแดง จากแยกอโศก-เพชรบุรี | ||||
ถนนดินแดง ไปดินแดง | ถนนพระราม 9 ไปรามคำแหง | ||||||
แยกเทียมร่วมมิตร | ไม่มี | ถนนเทียมร่วมมิตร ไปแยกประชาอุทิศ (เหม่งจ๋าย) | |||||
แยกห้วยขวาง | ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไปถนนประชาสงเคราะห์ | ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไปถนนประชาอุทิศ | |||||
แยกรัชดา-สุทธิสาร | ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไป ถนนวิภาวดีรังสิต | ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปถนนลาดพร้าว | |||||
จตุจักร | แยกรัชดา-ลาดพร้าว | ถนนลาดพร้าว ไปแยกลาดพร้าว | ถนนลาดพร้าว ไปบางกะปิ | ||||
แยกรัชโยธิน | ถนนพหลโยธิน ไปแยกลาดพร้าว | ถนนพหลโยธิน ไปแยกเสนานิคม | |||||
ทางแยกต่างระดับรัชวิภา | ทางยกระดับอุตราภิมุข ไป ดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง | ทางยกระดับอุตราภิมุข ไป ท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต | |||||
ถนนวิภาวดีรังสิต ไปแยกลาดพร้าว, ดินแดง | ถนนวิภาวดีรังสิต ไปบางเขน, ท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต | ||||||
ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | ไม่มี | ||||||
แยกด่วนรัชดาภิเษก | ทางพิเศษศรีรัช ไปบางซื่อ, บางนา, ดาวคะนอง | ทางพิเศษศรีรัช ไปงามวงศ์วาน, แจ้งวัฒนะ | |||||
บางซื่อ | แยกประชานุกูล | ถนนประชาชื่น ไปบางซื่อ | ถนนประชาชื่น ไปงามวงศ์วาน | ||||
แยกวงศ์สว่าง | ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปเตาปูน | ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปนนทบุรี | |||||
ตรงไป: ถนนวงศ์สว่าง ไปสะพานพระราม 7 | |||||||
ถนนวงศ์สว่าง (แยกวงศ์สว่าง–สะพานพระราม 7) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | บางซื่อ | แยกวงศ์สว่าง | เชื่อมต่อจาก: ถนนรัชดาภิเษก จากแยกพระราม 9 | ||||
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปเตาปูน | ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปนนทบุรี | ||||||
แยกประชาราษฎร์ | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปบางโพ | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกพิบูลสงคราม | |||||
แยกพิบูลสงคราม | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกประชาราษฎร์ | ถนนพิบูลสงคราม ไปนนทบุรี | |||||
สะพานพระราม 7 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||
ถนนจรัญสนิทวงศ์ (สะพานพระราม 7–แยกท่าพระ) | |||||||
กรุงเทพมหานคร | บางซื่อ | − | เชื่อมต่อจาก: ถนนวงศ์สว่างจาก แยกวงศ์สว่าง | ||||
สะพานพระราม 7 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||
นนทบุรี | บางกรวย | – | ไม่มี | ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปวงเวียนบางกรวย | |||
– | ไม่มี | ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปบางบำหรุ และ ทางพิเศษประจิมรัถยา ไป ถนนกาญจนาภิเษก | |||||
− | ตรงไป: ลอดทางรถไฟสายใต้ | ||||||
กรุงเทพมหานคร | บางพลัด | – | ทางพิเศษประจิมรัถยา ไปจตุจักร | ไม่มี | |||
แยกบางพลัด | ถนนราชวิถี ไปสะพานกรุงธน | ถนนสิรินธร ไปตลิ่งชัน | |||||
แยกบรมราชชนนี | ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า | ถนนบรมราชชนนี ไปตลิ่งชัน | |||||
บางกอกน้อย | แยกบางขุนนนท์ | ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 | ถนนบางขุนนนท์ ไปตลิ่งชัน | ||||
− | ตรงไป: ข้ามทางรถไฟสายใต้ | ||||||
– | ถนนสุทธาวาส ไปโรงพยาบาลศิริราช | ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปตลิ่งชัน | |||||
แยกไฟฉาย | ถนนพรานนก ไปแยกพรานนก | ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ไปถนนกาญจนาภิเษก | |||||
– | ซอยจรัญสนิทวงศ์ 20 | ซอยจรัญสนิทวงศ์ 23 | |||||
บางกอกใหญ่ | แยกพาณิชยการธนบุรี | ไม่มี | ถนนพาณิชยการธนบุรี ไปบางแวก | ||||
แยกท่าพระ | ถนนเพชรเกษม ไปวงเวียนใหญ่ | ถนนเพชรเกษม ไปบางแค | |||||
ตรงไป: ถนนรัชดาภิเษก ไปบุคคโล | |||||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนรัชดาภิเษก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์