สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (จีน: 中华人民共和国驻泰王国大使馆) ตั้งอยู่เลขที่ 57 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2245 7043-4 มีสถานกงสุลอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา

ความสัมพันธ์ทางการทูตและสนธิสัญญา แก้

ไทยและจีนเริ่มติดต่อและมีสัมพันธไมตรีต่อกันตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ถัง ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยได้สถาปนาขึ้นเป็นราชธานีตรงกับช่วงปลายราชวงศ์ซ่ง ต่อราชวงศ์หยวน ได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนถึง 9 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 1835 – 1846 และกษัตริย์ราชวงศ์หยวนก็เคยส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย 3 ครั้ง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง พระมหากษัตริย์ไทยได้ส่งขุนนางและทูตานุทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์หมิงรวมทั้งสิ้น 112 ครั้ง และราชวงศ์หมิงส่งขุนนางและทูตานุทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ราชวงศ์อยุธยา 19 ครั้ง นอกจากนี้ยังส่งราชทูต ชื่อ เจิ้งเหอ เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี 2 ครั้ง

ไทยและจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คนปัจจุบันคือ ฯพณฯ นาย หาน จื้อเฉียง

การขอวีซ่าเข้าประเทศ แก้

การเดินทางเข้าสาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อห้าม ห้ามนำรูปภาพและเอกสารเกี่ยวกับดาไล ลามะ ติดตัวเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด
ในปัจจุบันวีซ่าจีนประเภทท่องเที่ยว ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับชาวไทย[1] การทำวีซ่าจีนนั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อที่สถานทูตจีน[2] ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่ รูปถ่าย หนังสือเดินทาง เอกสารยืนยันการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม สำเนาบัตรประชาชน[3]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°45′48″N 100°34′00″E / 13.763284°N 100.566617°E / 13.763284; 100.566617

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าจีน". chinaprovisa.com. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023.
  2. "ทำวีซ่าจีนที่ไหน". chinaprovisa.com. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023.
  3. "เอกสารที่ต้องเตรียม". chinaprovisa.com. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023.