เขตบางกอกใหญ่

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก บางกอกใหญ่)

บางกอกใหญ่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี

เขตบางกอกใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bangkok Yai
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
คำขวัญ: 
บางกอกใหญ่เมืองหลวงไทยในอดีต ป้อมวิไชยประสิทธิ์พระราชวังเดิม เฉลิมพระนามพระเจ้ากรุงธน งามน่ายลพระปรางค์วัดอรุณ เทิดพุทธคุณหลวงพ่อเกษร นามขจรสมเด็จวัดพลับ เลิศกิตติศัพท์หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ งามน่าดูสองฝั่งคลองบางหลวง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกใหญ่
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกใหญ่
พิกัด: 13°43′22″N 100°28′35″E / 13.72278°N 100.47639°E / 13.72278; 100.47639
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.18 ตร.กม. (2.39 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด60,675[1] คน
 • ความหนาแน่น9,817.96 คน/ตร.กม. (25,428.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10600
รหัสภูมิศาสตร์1016
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangkokyai
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตบางกอกใหญ่ตั้งอยู๋ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ประวัติศาสตร์

แก้

ชื่อของเขตบางกอกใหญ่มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ซึ่งเคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมแต่แคบลงและกลายเป็นคลองหลังการขุดคลองลัดใน พ.ศ. 2095 เขตบางกอกใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีเมื่อแรกเริ่ม

ใน พ.ศ. 2458 มีชื่อเรียกว่า อำเภอหงสาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางกอกใหญ่ ใน พ.ศ. 2481 จากนั้นถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ ขึ้นกับอำเภอบางยี่ขัน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่เป็น อำเภอบางกอกใหญ่ อีกครั้ง ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[2] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[3] ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็น เขตบางกอกใหญ่ นับแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตบางกอกใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
วัดอรุณ Wat Arun
0.834
10,985
13,171.46
 
2.
วัดท่าพระ Wat Tha Phra
5.346
49,690
9,294.80
ทั้งหมด
6.180
60,675
9,817.96

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ทางน้ำ

แก้

สถานที่สำคัญ

แก้
 
วัดอรุณราชวราราม
 
วัดเครือวัลย์วรวิหาร

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  3. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  4. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้