แขวงบางอ้อ
13°47′59″N 100°30′41″E / 13.799616°N 100.511254°E
แขวงบางอ้อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Bang O |
มัสยิดบางอ้อ ศาสนสถานที่สำคัญของชาวมุสลิมสายเปอร์เซีย หรือชาวแขกแพในไทย วัดฉัตรแก้วจงกลณี หรือวัดบางอ้อ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ | |
แผนที่เขตบางพลัด เน้นแขวงบางอ้อ | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | บางพลัด |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2.846 ตร.กม. (1.099 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 23,691 คน |
• ความหนาแน่น | 8,324.32 คน/ตร.กม. (21,559.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 102502 |
บางอ้อ เป็นเขตการปกครองระดับแขวง 1 ใน 4 แห่งของเขตบางพลัด ซึ่งได้แก่ แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางบำหรุ แขวงบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร[3] บางอ้อเป็นชุมชนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในปัจจุบันมีความเจริญอย่างรวดเร็วและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้น แต่เดิมเป็นพื้นที่รอบนอกซึ่งเป็นพื้นที่สวนป่า สวนผลไม้นานาชนิด เต็มไปด้วยลำน้ำคูคลองมากมาย เช่น คลองเตาอิฐ คลองบางรัก คลองบางพระครู เป็นต้น ที่ลาดชายตลิ่งปกคลุมหนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ต้นอ้อ ต้นพง ต้นลำพู และหญ้าคา ซึ่งถิ่นนี้มี "อ้อ" มากที่สุด อันเป็นที่มาชื่อบางนี้
ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 2310 มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในย่านนี้เรื่อยมา และมีความหลากหลายของผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม ทั้งจีน มอญ และมุสลิม และชื่อของย่านบางอ้อ เป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังปรากฏชื่อใน "นิราศวัดเจ้าฟ้า" ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยสุนทรภู่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังความว่า
ถึงบางอ้อคิดจะใคร่ได้ไม้อ้อ | ทำแพนซอเสียงแจ้วเที่ยวแอ่วสาว | |
แต่ยังไม่เคยเชยโฉมประโลมลาว | สุดจะกล่าวกล่อมปลอบให้ชอบใจ |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้แขวงบางอ้อตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางกรวย (อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางซื่อ (เขตบางซื่อ) และแขวงถนนนครไชยศรี (เขตดุสิต) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางพลัด (เขตบางพลัด) มีคลองบางพลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางกรวย (อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนเป็นเส้นแบ่งเขต
เส้นทางหลัก
แก้- ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 81–97
- สะพานพระราม 6 เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตบางซื่อ
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สายสีน้ำเงิน สถานีบางอ้อ
สถานที่สำคัญ
แก้- สำนักงานเขตบางพลัด
- โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี
- โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร
- โรงเรียนวัดวิมุตยาราม (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 98)
- โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 94)
- โรงเรียนบางอ้อศึกษา (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 84/1)
- โรงเรียนศานติวิทยา (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 95/1)
- สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางอ้อ
ศาสนสถาน
แก้- วัดวิมุตยาราม
- วัดฉัตรแก้วจงกลณี
- วัดสามัคคีสุทธาวาส
- มัสยิดดารุลอิหฺซาน
- มัสยิดบางอ้อ
อ้างอิง
แก้- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1025&rcodeDesc=เขตบางพลัด 2566. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา