สะพานเสาวนี
สะพานเสาวนี เป็นสะพานแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต เป็นสะพานที่ข้ามคูและเชื่อมถนนศรีอยุธยา บริเวณจุดตัดกับทางรถไฟสายเหนือ, สายอีสาน และสายใต้ (ระหว่างสถานีรถไฟจิตรลดา กับ สถานีรถไฟสามเสน) หน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สะพานเสาวนี | |
---|---|
เส้นทาง | ถนนศรีอยุธยา |
ข้าม | คลองริมทางรถไฟสายเหนือ |
ที่ตั้ง | แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ที่ตั้ง | |
สะพานเสาวนี เป็นสะพานเก่าแก่แห่งหนึ่ง เป็นโบราณสถานที่ได้รับการลงทะเบียนโดยกรมศิลปากร เดิมทีเป็นสะพานไม้ ต่อมาได้ทรุดโทรมลง และมีการสร้างใหม่ให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ฉลองพระชนมายุครบสี่รอบ (48 พรรษา) เมื่อ พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ได้ครบปีเดียว
จุดเด่นของสะพานแห่งนี้ คือ มุมสะพานทั้งสี่ด้านเป็นลายปูนปั้นทรงแจกันขนาดใหญ่ประดับลวดลายรูปผู้หญิง และลายเครือเถาด้วยความประณีต ตอนกลางสะพานมีซุ้มโค้ง ประดับช่อดอกไม้ พร้อมป้ายชื่อสะพานอยู่ในตอนล่างของซุ้มนั้น เสาและราวลูกกรงสะพานเป็นทรงมะหวด เรียงรายไปตลอดข้างทางและเชิงสะพาน
เดิมที ความกว้างของสะพานเสาวนียังไม่ได้เป็นแบบปัจจุบันนี้ หากแต่ขยายขึ้นตามการขยายพื้นที่จราจรของถนนศรีอยุธา จำต้องมีการปรับเปลี่ยนสภาพของสะพาน โดยมีการถอดและชะลองานปูนปั้นและลวดลายออกอย่างประณีต ก่อนจะนำกลับไปติดต่อใหม่ให้เหมือนเดิม[1]
นอกจากนี้แล้ว สะพานเสาวนียังเป็นสี่แยกที่เป็นทางแยกที่ตัดกันของถนนศรีอยุธยา, ถนนสวรรคโลก และทางรถไฟสายเหนือ ในชื่อ "แยกเสาวนี" และเป็นเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กับแขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ จุติ (2012). ย้อนตำนาน...สะพานเก่า. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว. pp. 116–127. ISBN 9786165084826.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานเสาวนี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′47″N 100°31′23″E / 13.763056°N 100.522925°E
สะพานข้ามคลองสามเสนในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานคนเดินข้างสถานีรถไฟจิตรลดา |
สะพานเสาวนี |
ท้ายน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองสามเสน บริเวณซอยสวรรคโลก 5 |