คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยด้านกายภาพบำบัดที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] และเป็นสถาบันที่ผลิตนักกายภาพบำบัดเป็นแห่งแรกของประเทศ[2] ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก และประกาศนียบัตรบัณฑิต ในสาขากายภาพบำบัด และหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขากิจกรรมบำบัด นับได้ว่าเป็นคณะที่มีบทบาทต่อการบริการสังคมมากที่สุดแห่งหนึ่ง[3]

คณะกายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Physical Therapy,
Mahidol University
สถาปนา7 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
คณบดีรศ.ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตร​ลักษณะ
ที่อยู่
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ศูนย์กายภาพบำบัด (ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า)
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
198/2 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
สี  สีชมพู
เว็บไซต์www.pt.mahidol.ac.th

คณะกายภาพบำบัด มีที่ตั้งอยู่สองแห่ง ได้แก่ คณะที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาในจังหวัดนครปฐม และศูนย์กายภาพบำบัด บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในกรุงเทพมหานคร

ประวัติ แก้

  • พ.ศ. 2508 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้ง "โรงเรียนกายภาพบำบัด" ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี [4]
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนกายภาพบำบัด ได้รับการยกฐานะเป็น "คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์" โดยการสนับสนุนของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อคณะจาก "คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์" เป็น "คณะกายภาพบำบัด" ดังในปัจจุบัน [5] [6]

หลักสูตร แก้

  • ระดับปริญญาตรี
  • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก
    • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นหลักสูตรปริญญาโท สาขากายภาพบำบัดแห่งแรกของประเทศไทย
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นหลักสูตรปริญญาเอก สาขากายภาพบำบัดแห่งแรกของประเทศไทย

อ้างอิง แก้

  1. "งานวิจัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
  2. "สถาบันที่ผลิตนักกายภาพบำบัดเป็นแห่งแรกของประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09.
  3. "ศูนย์บริการวิชาการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
  4. พระราชกฤษฎีกาเพิ่มแผนกวิชาในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๖,ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด,31 ธันวาคม พ.ศ. 2506
  5. ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2552,ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552,20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  6. "คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้