โรงพยาบาลราชบุรี เป็นโรงพยาบาลศูนย์ มีขนาด 1,000 เตียง (ไม่รวม ICU) ตั้งอยู่เลขที่ 85 ถนน สมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ให้บริการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูง มีแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาวิชา และแพทย์เฉพาะทางย่อย เป็นศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง ในแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นสถาบันผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มีการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ของโรงพยาบาลเอง ที่ผ่านมา มีแพทย์จบการศึกษาไปแล้ว หลายรุ่น และทำงานอยู่ในหลายๆ จังหวัดในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันมีแพทย์ประจำ 145 คนและบุคลากรอื่นรวมกันกว่า 900 คน[1]

โรงพยาบาลราชบุรี
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
ที่ตั้ง85 ถนน สมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2484
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์
จำนวนเตียง1,000
เว็บไซต์www.rajburi.org

ประวัติ แก้

เหตุการณ์บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543 แก้

เหตุการณ์บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยกลุ่มนักศึกษากะเหรี่ยงคริสต์ สัญชาติพม่า ติดอาวุธสงคราม เรียกกองกำลังตัวเองว่า ก๊อด'ส อาร์มี่ (God's Army) หรือ กองกำลังพระเจ้า

เช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังนักศึกษาพม่าได้ปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 จี้คนขับรถให้พาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้เป็นตัวประกัน

จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรองจนทราบว่า กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก จนในที่สุด เวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มกราคม กองกำลังผสม หน่วยนเรศวร 261 และหน่วยอรินทราช 26 ได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน จนสามารถช่วยเหลือตัวประกันไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ของสถาบันพระบรมราชชนก สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหิดล ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา แก้

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์(ชั้นปี 1)
  • ระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 2 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางระบบรับตรงประจำปีตามประกาศศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี ตามเขตพื้นที่จังหวัดที่สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุขกำหนดในแต่ละปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติย่อโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-09.