อรินทราช 26

หน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษระดับตำรวจนครบาล

อรินทราช 26 เป็นหน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (อังกฤษ: Special Weapons And Tactics: S.W.A.T.) สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษต่อภัยคุกคามที่เป็นอาชญากรรม และการก่อการร้าย ด้วยการแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (อังกฤษ: Crisis Management) โดยมีพื้นที่รับผิดชอบในเมืองหลวงคือ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เป็นหน่วยระดับกองร้อย มีอุปกรณ์ครบมือ เช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนกลมือ, ปืนเล็กยาว, ปืนเล็กสั้น, ระเบิดมือ, ระเบิดแก๊สน้ำตา, ปืนไรเฟิลซุ่มยิง, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล ฯลฯ

อรินทราช 26
กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย
กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
กองบัญชาการตำรวจนครบาล

เครื่องหมายหลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย
อาร์มหน่วยอรินทราช 26
ประจำการพ.ศ. 2526 – ปัจจุบัน
ประเทศ ไทย
หน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รูปแบบหน่วยยุทธวิธีตำรวจ
บทบาท
  • ชิงตัวประกัน
  • รักษาความสงบในพื้นที่เสี่ยง
  • ต่อต้านการจลาจล, อาชญากรรม และการก่อการร้าย
  • ให้การอารักขาบุคคลสำคัญ
ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ทางยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย
กองบัญชาการเขตหลักสี่, กรุงเทพมหานคร
โครงสร้างหน่วย
กำลังปฏิบัติการกองร้อย
ความสำคัญ
ปฏิบัติการสำคัญเหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543
เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
เหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565[1]
วันสถาปนา25 เมษายน

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2520 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในไทย ทั้งจากก่ออาชญากรรมร้ายแรงและการก่อการร้ายสากลที่มีรูปแบบเปลี่ยน พันตำรวจเอก ชุมพล อัตถศาสตร์ ผู้กำกับการ กองกำกับการป้องกันและปราบปรามจราจล จึงได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษขึ้นซึ่งมีชื่อว่า "Anti-Hijacker" โดยคัดเลือกตำรวจในหน่วยที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย,จิตใจและสติปัญญา ตามคุณสมบัติที่กำหนดมาทำการฝึกเพื่อรองรับภารกิจที่รูปแบบสากลในการฝึกครั้งนั้นยังไม่มีงบสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ ต่อมาเมื่อ พันตำรวจเอก ชุมพล อัตถศาสตร์ ได้การแต่งตั้งไปยังหน่วยงานอื่น และหน่วยนี้ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป

พ.ศ. 2526 เกิดเหตุการณ์การก่อการร้ายสากลและการก่อความสงบขึ้นในไทย โดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพฯ พลตำรวจตรี ทิพย์ อัศวรักษ์ ผู้บังคับการกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งได้ฟื้นหน่วยนี้ขึ้นมาใหม่ โดยเสนอขออนุมัติแผนการฝึกหน่วยนี้ ซึ่งเป็นรูปแบบสากล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 กรมตำรวจได้มีคำสั่งจัดตั้งหน่วยนี้ขึ้น ในสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในนามว่าอรินทราช 26

โดยความหมายของ"อรินทราช 26"

  • อริ = ข้าศึก, ศัตรู
  • อินท = จอม, ผู้เป็นใหญ่
  • ราช = พระเจ้าแผ่นดิน
  • 26 = ปีที่ก่อตั้ง (พ.ศ. 2526)

ซึ่งมีความหมายว่า พระราชาผู้เป็นใหญ่เหนือข้าศึกศัตรูทั้งหลาย

ปัจจุบัน อรินทราช 26 อยู่ในสังกัด กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (191) และขึ้นตรงกับ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)

ภารกิจของหน่วย

แก้
  • ช่วยเหลือตัวประกัน
  • ควบคุมการก่อจลาจล
  • ต่อต้านการก่อการร้าย
  • ให้ความปลอดภัยบุคคลสำคัญในประเทศและต่างประเทศ
  • เพิ่มการรักษาความปลอดภัยในจุดสำคัญ ในเวลาปกติ และเมื่อมีกิจกรรมพิเศษ
  • การก่อความสงบในประเทศ
  • การก่อวินาศกรรมสถานที่ราชการหรือสถานที่สำคัญ
  • การปราบปรามจี้ยึดอากาศยาน
  • การรีดค่าไถ

การฝึก

แก้

อรินทราช 26 มาจากผู้ที่เรียนจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือนายสิบตำรวจ การฝึกในครั้งแรกไม่มีรูปแบบที่แน่นอน โดยได้รับการสนับสนุนครูฝึกจากตำรวจ และยึดรูปแบบการปฏิบัติการเป็นทีม 5 คน เหมือนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ GSG 9 ของประเทศเยอรมนี มีการฝึกการยิงปืนทางยุทธวิธี การฝึกพลแม่นปืน การปฏิบัติการทางน้ำ การต่อสู้ป้องกันตัว การขับขี่ยานพาหนะในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อการฝึกรุ่นแรกสำเร็จ ก็มีการถ่ายทอดให้กับกำลังพลที่เข้าประจำการในกองร้อยปฏิบัติการพิเศษเรื่อยมา อีกทั้งมีการจัดส่งกำลังพลไปฝึกในหลักสูตรต่าง ๆ ของต่างประเทศและนำวิชาความรู้กลับมาถ่ายทอดให้กับกำลังพลที่อยู่ในหน่วย โดยจะทำการฝึกกันเองถ่ายทอดกันต่อ ๆ มา และได้มีการจัดแบ่งหลักสูตร ออกเป็น 5 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 24 สัปดาห์ สำหรับกำลังพลที่บรรจุใหม่
  2. หลักสูตรทบทวนการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 6 สัปดาห์ สำหรับกำลังพลที่ประจำการอยู่ในหน่วย และฝึกทดสอบแผนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย 1 สัปดาห์
  3. หลักสูตรการทำลายระเบิด 12 สัปดาห์ สำหรับกำลังพลที่บรรจุในตำแหน่ง "พลเก็บกู้ทำลายระเบิด"
  4. หลักสูตรพลแม่นปืน 4 สัปดาห์ สำหรับกำลังพลที่บรรจุในตำแหน่ง "พลซุ่มยิง"
  5. หลักสูตรผู้ชำนาญการอิเล็กทรอนิคส์ 12 สัปดาห์ สำหรับกำลังพลที่บรรจุในตำแหน่ง "ผู้ชำนาญการอิเล็กทรอนิคส์"

นอกจากนี้ยังมีการฝึกต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น "แผนกรกฎ 48" การฝึกในสถานการณ์สมมุติ และการฝึกร่วมกับหน่วยงานอื่น

การฝึกหน่วย Anti-Hijacker (อรินทราช 26 ) ช่วงแรก ๆ

แก้

อุปกรณ์

แก้

ชุดสำหรับปฏิบัติหน้าที่

แก้

ในการแต่งกายจะไม่สามารถเปิดเผยใบหน้าได้ ที่ชุดบริเวณไหล่ซ้าย มีอาร์มสีบานเย็น รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ตรงกลางมีรูปอักขระยันต์ มีตัวหนังสือบอกหน่วยสังกัดว่า "ตำรวจนครบาล ปฏิบัติการพิเศษ" นั่นคือ "ตำรวจ 191" เนื้ออาร์มมีคำว่า "อรินทราช 26" บริเวณหน้าอก มีรูปโล่อยู่ตรงกลาง พื้นโล่สีดำแดง กลางโล่มีสายฟ้าสีขาว มีดอกชัยพฤกษ์สีทองพุ่งเข้าหาโล่จากด้านข้าง ข้างละ 6 ดอก สีพื้นของชุดจะเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยชุดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. ชุดทำงานปกติ สามารถเห็นได้ทั่วไปตามจุดสำคัญ
  2. ชุดเวสสีน้ำเงิน ใช้สำหรับฝึกและเตรียมพร้อมก่อนปฏิบัติงาน
  3. ชุดเวสพร้อมอุปกรณ์ โดยจะมีอุปกรณ์ครบมือ ตั้งแต่หมวกกันกระสุน, เสื้อกันกระสุน, อาวุธอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น
  4. ชุดปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย โดยชุดนี้จะเหมือนแบบที่ 3 เว้นแต่สีชุดที่เป็นสีดำ จะใส่ชุดนี้เมื่อต้องทำงานกับหน่วยงานอื่น (การสนธิกำลัง)

อาวุธประจำกาย

แก้

ในหน่วยงานราชการมีการเปลี่ยนแปลงแทนที่ยุทธภัณฑ์อยู่เสมอ สำหรับปืนสั้น เคยมีการใช้ Browning ปัจจุบันมีการใช้ Glock 19 และ HK P7M8 ส่วนอาวุธประจำกายคือ MP5 สำหรับบางคนจะใช้ปืนเล็กยาว หรือปืนลูกซองแทน ในการปราบจลาจลอาจมีการใช้โล่ และกระบอง หรือใช้กระสุนซ้อมมาแทนที่

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ตำรวจส่ง "ชุดหนุมานกองปราบปราม" และ "อรินทราช 26" ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ไล่ล่าคนร้ายกราดยิงศูนย์เด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู". ฐานเศรษฐกิจ. 2022-10-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.