คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือกำเนิดขึ้นเนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมและส่งเสริมงานวิจัยค้นคว้าทางวิศวกรรม รวมไปถึงต้องการขยายการศึกษาให้กว้างขวางมากขึ้น โดยมีผลงานเด่น คือ หุ่นยนต์สำรวจขั้วโลกใต้[1]

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Engineering, Mahidol University
คติพจน์นายช่างของแผ่นดิน
สถาปนา29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (34 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์
ที่อยู่
สี  สีเลือดหมู
เว็บไซต์www.eg.mahidol.ac.th

ประวัติ

แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งสืบเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่มีโครงสร้าง ปัจจัยพื้นฐาน ศักยภาพขีดความสามารถ และความพร้อม เปิดสอนในสาขาวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรให้เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น จึงพิจารณาว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีความพร้อม ที่จะเปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี จึงได้เริ่มดำเนินการเป็นลำดับดังนี้ พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 สภามหาวิทยาลัยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี จัดทำโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์

18 มกราคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยจัดทำรายละเอียด "โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์" และร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 สาขา คือ วิศวกรรมเครื่องกล , วิศวกรรมเคมี , วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอุตสาหการ เสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยมี ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นประธาน

18 ธันวาคม พ.ศ. 2532 สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติเห็นชอบ การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และการแบ่งส่วนราชการ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และการแบ่งส่วนราชการ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อในสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 [2]

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคณบดีท่านแรก คือ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ผู้มีวุฒิปริญญาตรีและโททางวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาเอกทางวิศวกรรมโยธา (แหล่งน้ำ)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2533 โดยรับนักศึกษารุ่นแรกในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมอุตสาหการ จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยในช่วงแรกได้อาศัยอาคารโรงประลองของ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี 2536 กลุ่มอาคารอำนวยการ (อาคาร 1) อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (อาคาร 2) ก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถใช้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ

ต่อมายังได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาโดยมีอาคารเรียนและปฏิบัติการหลังใหม่ (อาคาร 3) ในปี2542 นอกเหนือจากความพร้อมด้านอาคารสถานที่แล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมอีกนับเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท นับจากอดีตซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพียง 4 หลักสูตร และมีนักศึกษารุ่นแรกเพียง 40 คน [3] จนในปัจจุบันแต่ละปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก

ทำเนียบคณบดี

แก้

ตั้งแต่เปิดทำการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณบดีดำรงตำแหน่งตามลำดับต่อไปนี้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (รักษาการ) 6 กันยายนพ.ศ. 2533 - 27 มีนาคมพ.ศ. 2534
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน 28 มีนาคมพ.ศ. 2534 - 27 มีนาคมพ.ศ. 2538
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เธียรไชย จิตต์แจ้ง ,

รองศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร (รักษาการ)

28 มีนาคมพ.ศ. 2538 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2538
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2538 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2542
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2542 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2546
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2546 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2550
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2550 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2554
8. อาจารย์ วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2554 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2558[4]
9. รองศาตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2558 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 [5]
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

การเรียนการสอน

แก้

ปริญญาตรี

แก้
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering Program, B.Eng.)

ปริญญาโท

แก้
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Engineering Program, M.Eng.)
  1. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  3. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  4. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  5. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  6. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องรับรู้
  7. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  8. สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  9. สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์การดูแลสุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  10. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
  11. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)
  12. สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  13. สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
  14. สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science Program, M.Sc.)
  1. สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ปริญญาเอก

แก้
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy Program, Ph.D.)
  1. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
  3. สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  4. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  5. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
  6. สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตร

แก้
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

หลักสูตวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (หลักสูตรภาคพิเศษ)
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)]

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
กลุ่มสาขาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มสาขาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์การดูแลสุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรอื่นๆ

อ้างอิง

แก้
  1. ""ไทยเอ็กซ์โพล"..หุ่นยนต์ดำน้ำตะลุยขั้วโลกใต้". สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา , พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533
  3. ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 18/2554,แต่งตั้งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย] , 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  5. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 27/2558,แต่งตั้งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย] , 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้