การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เริ่มจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นการจัดระดับ (Rating) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน การจัดระดับแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยโดย สกว. เป็นความสมัครใจของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งที่จะส่งข้อมูลเพื่อเข้าร่วมการประเมิน

นอกจากการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว สกว.ยังมีแนวคิดที่จะประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอีกด้วย โดยยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลก่อนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัย

การประเมินครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2550) แก้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 1 โดย มีคณะที่เข้าร่วม 78 คณะ จาก 26 มหาวิทยาลัย มีอยู่ 4 คณะที่สามารถจัดกลุ่มได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีอยู่ 1 คณะที่ส่งข้อมูลการวิจัยเพียง 1 ภาควิชา จึงไม่สามารถประเมินได้ ดังนั้น การประเมินจึงมีคณะทั้งสิ้น 81 คณะ และได้ประกาศการประเมินเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550[1]

โดยใช้ตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่

  1. ความสามารถเฉลี่ยของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับระดับนานาชาติ
  2. ความสามารถของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในด้านการได้รับการอ้างอิง
  3. ความสามารถของหน่วยงานในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับวารสารระดับนานาชาติ

และแบ่งระดับการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน

ผลการประเมิน แก้

ผลการประเมินในภาพรวม ปรากฏว่า มีคณะที่อยู่ในระดับดีมาก 11 คณะ ระดับดี 15 คณะ ระดับปานกลาง 16 คณะ ระดับควรปรับปรุง 27 คณะ ระดับต้องปรับปรุงโดยด่วน 10 คณะ แลพ ไม่ได้จัดระดับ 2 คณะ โดยในจำนวนนี้มีคณะที่ได้คะแนนระดับดีมากในตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวทุกตัวจำนวน 2 คณะ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนคณะที่ได้คะแนนระดับดีมากในแต่ละตัวชี้วัด มีดังนี้

สาขา ตัวชี้วัดที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 2 ตัวชี้วัดที่ 3
วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วิทยาศาสตร์ สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.สุรนารี
สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์
เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี
แพทยศาสตร์/เวชศาสตร์เขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประเมินครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2553)[2] แก้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 2 มีหน่วยงานเข้าร่วม 436 หน่วยงาน จาก 36 สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน การประเมินในครั้งนี้ประเมินจากผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ และผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารของการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับนานาชาติและระดับชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 แบ่งเป็น 34 สาขาวิชา ใน 6 กลุ่มสาขา โดยใช้ตัวชี้วัด 4 ตัว ได้แก่

  1. จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติต่ออาจารย์ (30%)
  2. จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติของทั้งสาขาวิชา (20%)
  3. จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติในด้านการได้รับการอ้างอิง (Impact factor) ต่ออาจารย์ (30%)
  4. จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติในด้านการได้รับการอ้างอิง (Impact factor) ต่อทั้งสาขาวิชา (20%)

และแบ่งระดับการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน

ผลการประเมิน แก้

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเคมี
กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
การเกษตร

-

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
การประมง และ สัตวศาสตร์ / สัตวแพทยศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
เทคโนโลยีการจัดการ และเทคโนโลยีพลังงาน และ Architecture and Built Environment
เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม / วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร / วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี/เหมืองแร่/Multidisciplinary engineering
เทคโนโลยีชีวภาพ
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
ชีววิทยา
เคมี
ฟิสิกส์
คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
โลกและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และ กุมารเวชศาสตร์
ศัลยศาสตร์
อายุรศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
พรีคลินิก
ทันตแพทยศาสตร์
เภสัชศาสตร์
เทคนิคการแพทย์ / สหเวชศาสตร์

-

กายภาพบำบัด
พยาบาลศาสตร์

-

สาธารณสุขศาสตร์

การประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) [3] แก้

ผลการประเมิน แก้

กลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 77 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมระบบการผลิต
  • ไม่มี
วิศวกรรมเครื่องกล
Agricultural/Irrigation/Water Resources Engineering และ Other Engineering Disciplines
Telecommunication/Communication Engineering
กลุ่มสาขาเทคโนโลยี
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 54 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
เทคโนโลยีพลังงาน และ เทคโนโลยีการจัดการ
เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และ การป่าไม้
เทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ Informatics
Material Technology / Material และ Mining Engineering
เทคโนโลยีชีวภาพ
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 110 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
ชีววิทยา
  • ไม่มี
เคมี
ฟิสิกส์
คณิตศาสตร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ไม่มี
Earth System และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ไม่มี
ชีวเคมี
จุลชีววิทยา และ อณูชีววิทยา
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 69 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
Plant and Soil Science
Pest Management
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
สัตวศาสตร์
สัตวแพทยศาสตร์
  • ไม่มี
การประมง
  • ไม่มี
กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 62 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ศัลยศาสตร์
อายุรศาสตร์
กุมารเวชศาสตร์
อื่น ๆ
  • ไม่มี
ทันตแพทยศาสตร์
  • ไม่มี
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีจำนวน 77 หน่วยงาน
สาขาวิชา ระดับ 5 ระดับ 4
พรีคลินิก
เภสัชศาสตร์
เทคนิคการแพทย์
กายภาพบำบัด
  • ไม่มี
พยาบาลศาสตร์
สาธารณสุขศาสตร์
  • ไม่มี

อ้างอิง แก้

  1. เปิดผลจัดอันดับสุดยอดมหา’ลัยด้านวิทย์จุฬาฯ-มหิดลแชมป์ มธ.เจ๋งด้านวิศวกรรม เก็บถาวร 2013-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์
  2. "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.
  3. "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.

ดูเพิ่ม แก้